กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.กาวะ

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการลดเสี่ยง ลดโรคเรื้อรัง ประชาชนอายุ 35 ปีขึ้นไป ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2568

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.กาวะ

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลกาวะ อำเภอสุไหงปาดี จังหวัดนราธิวาส

-

ห้องประชุมองค์การบริหารส่วนตำบลกาวะ อำเภอสุไหงปาดี จังหวัดนราธิวาส

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานโรคเรื้อรัง , แผนงานผู้สูงอายุ

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ร้อยละประชาชนที่มีความเสี่ยงเป็นโรคความดันโลหิตสูง

 

50.00
2 ร้อยละของประชาชนที่มีความเสี่ยงเป็นโรคเบาหวาน

 

50.00

โรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูงเป็นโรคเรื้อรังที่เป็นปัญหาใหญ่ทางด้านสุขภาพก่อให้เกิดภาวะแทรกซ้อนของร่างกายได้มากกว่าโรคอื่น ๆและเป็นโรคที่ไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้ นอกจากตัวผู้ป่วยจะต้องมีการควบคุมภาวะของโรคไม่ให้เกิดความรุนแรงมากขึ้นแล้ว ยังต้องอาศัยความร่วมมือในการดูแลรักษาร่วมกัน จากทั้งตัวผู้ป่วยเองและแพทย์ พยาบาล บุคลากรทางวิชาชีพเกี่ยวกับการแพทย์ ตลอดจนญาติพี่น้องในครอบครัวและสังคมว่าควรปฏิบัติตัวอย่างไร ตั้งแต่การรับประทานอาหาร การออกกำลังกาย และการใช้ยาเพื่อป้องกันการเกิดภาวะแทรกซ้อนต่าง ๆ ของโรคเบาหวาน หรือทำให้ภาวการณ์เกิดโรคแทรกซ้อนในผู้ป่วยเบาหวานและความดันโลหิตสูง เกิดขึ้นได้ช้าลง จากการศึกษาของคณะทำงานแห่งชาติพบว่าโรคเรื้อรังเกี่ยวกับหัวใจและหลอดเลือดเป็นโรคที่พบมากเป็นอันดับต้นของประเทศที่เจริญแล้ว และประเทศที่กำลังพัฒนารวมทั้งประเทศไทย ซึ่งบุคคลในกลุ่มนี้จำเป็นจะต้องได้รับความรู้ที่ถูกต้องในการดูแลตนเอง รวมทั้งต้องได้รับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพที่เหมาะสมในการดูแลตนเองให้สามารถป้องกันตนเองจากโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง เพื่อการทีคุณภาพชีวิตที่ดี และประหยัดงบประมาณของรัฐบาลด้านการรักษาพยาบาล จากปัญหาดังกล่าวเจ้าหน้าที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลกาวะได้เล็งเห็นถึงความสำคัญของปัญหาโรคเบาหวานและความดันจึงได้จัดทำโครงการลดเสี่ยง ลดโรคเรื้อรัง ประชาชนอายุ 35 ปีขึ้นไป ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2568 ขึ้น เพื่อให้ประชากรกลุ่มเสี่ยงได้มีความรู้ที่ถูกต้องในการดูแลตนเองเพื่อป้องกันโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูงต่อไป

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อแก้ปัญหาประชาชนที่มีความเสี่ยงเป็นโรคความดันโลหิตสูง

ร้อยละประชาชนที่มีความเสี่ยงเป็นโรคความดันโลหิตสูงลดลง

50.00 40.00
2 เพื่อแก้ปัญหาประชาชนทีมีความเสี่ยงเป็นโรคเบาหวาน

ร้อยละของประชาชนทีมีความเสี่ยงเป็นโรคเบาหวานลดลง

50.00 40.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน 50
กลุ่มผู้สูงอายุ 50
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง 50
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 50
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/04/2025

กำหนดเสร็จ 30/06/2025

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 อบรมบรรยายให้ความรู้แก่กลุ่มเป้าหมายและกลุ่มเสี่ยงโรคความดันโลหิตสูง ตั้งแต่อายุ 35 ปีขึ้นไป

ชื่อกิจกรรม
อบรมบรรยายให้ความรู้แก่กลุ่มเป้าหมายและกลุ่มเสี่ยงโรคความดันโลหิตสูง ตั้งแต่อายุ 35 ปีขึ้นไป
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  1. บรรยายให้ความรู้กลุ่มเป้าหมายประชาชนอายุ 35 ปีขึ้นไป จำนวน 200 คน
  2. งบประมาณโครงการ 2.1 ค่าอาหารกลางวัน จำนวน 200 คน x 50 บาท x 1 มื้อ เป็นเงิน 10,000 บาท 2.2 ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 200 คน x 25 บาท x 2 มื้อ เป็นเงิน 10,000 บาท 2.3 ค่าวัสดุอบรมโครงการ 2.3.1 แฟ้มเอกสาร ขนาด A4 จำนวน 200 คน x 10 เป็นเงิน 2,000 บาท 2.3.2 สมุดปกน้ำตาล ขนาด A4 จำนวน 200 คน x 10 บาท เป็นเงิน 2,000 บาท 2.3.3 ยางลบดินสอสีขาว ขนาดเล็ก จำนวน 200 คน x 5 บาท เป็นเงิน 1,000 บาท 2.3.4 ดินสอ 2B จำนวน 200 คน x 5 บาท เป็นเงิน 1,000 บาท รวมเป็นเงิน 6,000 บาท 2.4 ค่าวิทยากรอบรม จำนวน 4 ชั่วโมง x ราคา 600 บาท เป็นเงิน 2,400 บาท รวมเป็นเงินทั้งสิ้น 28,400 บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
1 เมษายน 2568 ถึง 30 มิถุนายน 2568
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
  1. กลุ่มเป้าหมายมีความรู้ ความเข้าใจในเรื่องการควบคุม ป้องกันโรคความดันโลหิตสูง
  2. ประชาชนอายุ 35 ปีขึ้นไปได้รับการคัดกรองโรคความดันโลหิตสูง
  3. อัตราผู้ป่วยรายใหม่ของโรคความดันโลหิตสูงลดลง
  4. ประชาชนอายุ 35 ปีขึ้นไปมีพฤติกรรมสุขภาพที่เหมาะสมและลดปัจจัยเสี่ยงการเกิดโรคแทรกซ้อน
จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
28400.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 28,400.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. กลุ่มเป้าหมายมีความรู้ ความเข้าใจในเรื่องการควบคุม ป้องกันโรคความดันโลหิตสูง
2. ประชาชนอายุ 35 ปีขึ้นไปได้รับการคัดกรองโรคความดันโลหิตสูง
3. อัตราผู้ป่วยรายใหม่ของโรคความดันโลหิตสูงลดลง
4. ประชาชนอายุ 35 ปีขึ้นไปมีพฤติกรรมสุขภาพที่เหมาะสมและลดปัจจัยเสี่ยงการเกิดโรคแทรกซ้อน


>