กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลชะรัด

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการศูนย์พัฒนาเด็กเล็กปลอดภัยเด็กปฐมวัยปลอดโรค

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลชะรัด

1.นางวินลยา ลายเพชร
2.นางทิพย์ หอยเขียว
3.นางมลฤดี สนิทเสโล
4.นางอุรา หมุนนุ้ย
5.นางสาวรีน่า เหล็มสัน

ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กเทศบาลตำบลชะรัด อำเภอกงหรา จังหวัดพัทลุง

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานเด็ก เยาวชน ครอบครัว

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

เด็กเป็นทรัพยากรที่ทรงคุณค่า และมีความสำคัญอย่างยิ่งต่อการพัฒนาประเทศชาติในอนาคต การพัฒนาเด็กให้ได้รับความพร้อมทั้งด้านร่างกาย จิตใจ อารมณ์ สังคมและสติปัญญา จึงนับเป็นภารกิจสำคัญที่ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กต้องตระหนักและให้ความสนใจ เพราะศูนย์พัฒนาเด็กเล็กเป็นสถานที่ที่เด็กอยู่ร่วมกันเป็นจำนวนมาก ซึ่งพฤติกรรมเด็กที่อยู่ร่วมกันเป็นจำนวนมากในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กจะส่งผลต่อการเผยแพร่กระจายของโรคได้ง่าย เช่น การเล่น การคลุกคลีใช้ของร่วมกัน ทำให้ปนเปื้อนและแพร่กระจายเชื้อโรคติดต่อสู่กันได้ง่าย หากเด็กเจ็บป่วยก็จะส่งผลกระทบต่อสุขภาพโดยรวมของเด็ก รวมทั้งการเจริญเติบโตและพัฒนาการของเด็ก โรคที่พบได้บ่อย เช่น โรคหวัด โรคอุจจาระร่วง โรคมือ เท้า ปาก โรคคางทูม โรคอีสุกอีใสและโรคหัด การป้องกันดูแลอย่างถูกต้องจะช่วยให้เด็กไปโรงเรียนได้อย่างสนุกสนานและปลอดภัยจากโรคติดต่อที่สามารถป้องกันได้ และยังได้ตระหนักถึงความปลอดภัยที่เด็กปฐมวัยต้องรู้ เพื่อเตรียมตัวให้รู้จักสถานการณ์ที่เป็นอันตราย เพื่อพัฒนาทักษะและความรู้ เมื่อต้องเผชิญหน้ากับสถานการณ์อันตรายเหล่านั้น เด็กต้องได้รับการสอนการสังเกต เข้าใจ เชื่อฟังและปฏิบัติตามกฎ หากเด็กถูกกระตุ้นให้ได้เห็นถึงคุณค่าและเคารพกฎ เด็กมีแนวโน้มในการป้องกันอบัติเหตุต่อตนเองและผูอื่น เด็กปฐมวัยจำเป็นต้องป้องกันตนเองจากอันตรายที่สำคัญ คือ อันตรายจากผู้อื่น เช่น การลักพาตัว อันตรายจากตนเอง เช่น การใช้ถนน การกิน การสัมผัส และการเล่น เป็นต้น
ดังนั้น ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กเทศบาลตำบลชะรัด จึงได้จัดทำโครงการศูนย์พัฒนาเด็กเล็กปลอดภัยเด็กปฐมวัยปลอดโรคในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กขึ้น เพื่อให้เด็กที่อยู่ในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กมีสุขภาพที่ดี มีพัฒนาการสมวัย ไม่เจ็บป่วยด้วยโรคที่สามารถป้องกันได้ และลดการระบาดของโรคติดต่อในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก และรับมือกับสถานการณ์ที่เป็นอันตราย เมื่อต้องเผชิญอย่างเข้าใจและถูกวิธี ส่งผลให้การพัฒนาเด็กเป็นไปอย่างมีคุณภาพปลอดภัยจากโรคและปลอดภัยจากสถานการณ์ที่เป็นอันตราย ให้ได้มาตรฐานเหมาะสมกับวัยต่อไป

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 1.เพื่ออบรมผู้ปกครอง ให้มีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับโรคติดต่อในเด็ก

ร้อยละ 80 ของผู้ปกครอง มีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับโรคติดต่อ รู้จักวิธีการป้องกันรักษาเพื่อสุขภาพที่ดีของลูกหลาน

50.00 80.00
2 2.เพื่ออบรมผู้ปกครอง ให้เข้าใจทักษะด้านความปลอดภัย เมื่อเกิดสถานการณ์ที่เป็นอันตรายต่อเด็ก

ร้อยละ 80 ของผู้ปกครอง รู้วิธีการรับมือ เมื่อเกิดสถานการณ์ที่เป็นอันตรายต่อเด็ก

34.48 60.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน 52
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 13/01/2025

กำหนดเสร็จ 30/09/2025

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 1. อบรมให้ความรู้แก่ผู้ปกครอง เรื่อง โรคติดต่อในเด็กปฐมวัย

ชื่อกิจกรรม
1. อบรมให้ความรู้แก่ผู้ปกครอง เรื่อง โรคติดต่อในเด็กปฐมวัย
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 57 คน คนละ 1 มื้อ มื้อละ 20 บาทเป็นเงิน 1,140 บาท
  • ค่าสมนาคุณวิทยากร 2 ชั่วโมง ชั่วโมงละ 600 บาท เป็นเงิน 1,200 บาท
  • ค่าป้ายไวนิลโครงการ จำนวน 1 ป้ายเป็นเงิน 300 บาท
  • ค่าอาหารกลางวัน จำนวน 57 คน คนละ 1 มื้อ มื้อละ 60 บาท เป็นเงิน 3,420 บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
3 มีนาคม 2568 ถึง 30 กันยายน 2568
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
  • ครู ผู้ดูแลเด็ก และผู้ปกครองศูนย์พัฒนาเด็กเล็กเทศบาลตำบลชะรัด จำนวน 57 คน ได้รับความรู้เกี่ยวกับโรคติดต่อ และรับมือกับวิธีการป้องกันโรคได้อย่างถูกวิธี ถูกต้อง และปลอดภัย
จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
6060.00

กิจกรรมที่ 2 2.อบรมให้ความรู้แก่ผู้ปกครอง เรื่อง ความปลอดภัยในชีวิตประจำวันเด็กปฐมวัย

ชื่อกิจกรรม
2.อบรมให้ความรู้แก่ผู้ปกครอง เรื่อง ความปลอดภัยในชีวิตประจำวันเด็กปฐมวัย
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • ค่าสมนาคุณวิทยากร 2 ชั่วโมง ชั่วโมงละ 600 บาท เป็นเงิน 1,200 บาท
  • ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม คนละ 1 มื้อ มื้อละ 20 บาท เป็นเงิน 1,140 บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
3 มีนาคม 2568 ถึง 30 กันยายน 2568
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
  • ครู ผู้ดูแลเด็ก และผู้ปกครองศูนย์พัฒนาเด็กเล็กเทศบาลตำบลชะรัด จำนวน 57 คน ได้รับความรู้ทักษะด้านความปลอดภัยในชีวิตประจำวันของเด็ก เพื่อนำมาใช้จริงเมื่อเกิดสถานการณ์ฉุกเฉิน
จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
2340.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 8,400.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1.ได้ป้องกันและควบคุมโรคติดต่อในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก
2.ครู ผู้ดูแลเด็ก และผู้ปกครองมีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับโรคติดต่อในเด็ก
3.ครู ผู้ดูแลเด็ก และ.ผู้ปกครองมีความรู้ เกี่ยวกับการล้างมือ 7 ขั้นตอน
4.ครู ผู้ดูแลเด็ก และผู้ปกครองสามารถรับมือกับเหตุการณ์ฉุกเฉิน เมื่อเกิดขึ้นกับเด็กได้


>