กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.นาประดู่

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการเสริมสร้างชุมชนเข้มแข็งปลอดยาเสพติด

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.นาประดู่

1. นายมูฮะมัดนาเซ มูซอ ประธานชมรมอิหม่ามตำบลนาประดู่
2. นายอิบรอเหม อิสมิง
3. นายอับดุลฮาดี ใบหมัด
4. นายมะรอมลีแมวาโซะ
5. นายยูโซะบือราเฮง
6. นายอับดุลเลาะมะยีแต

สวนสาธารณะพรุจงเปือย ม.4 ตำนาประดู่ อ.โคกโพธิ์ จ.ปัตตานี

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานสิ่งเสพติด

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

ปัจจุบันเด็กและเยาวชนส่วนใหญ่มีปัญหาหลายอย่างที่ตนไม่สามารถแก้ไขปัญหาเหล่านั้นได้ด้วยตนเอง ซึ่งบางครั้งอาจจะแก้ไขปัญหาด้วยวิธีการผิด ๆ คิดวิธีการแก้ไขปัญหาที่ไม่ถูกต้อง ซึ่งปัญหาเหล่านี้สามารถแก้ไขได้โดยเริ่มจากการให้ความสำคัญกับพวกเขา ให้พวกเขาได้มีโอกาสในการแสดงความคิดเห็นเพื่อเป็นแนวทางในการแก้ไขปัญหาวัยรุ่น เด็กและเยาวชนที่มักจะประสบปัญหา ส่วนใหญ่เกิดจากการไม่มีความรู้ในเรื่องของสิ่งที่ถูกหรือผิด ไม่มีคนมาให้ความรู้ให้คำปรึกษาที่ถูกต้อง และชี้แนะแนวทางการแก้ไขปัญหาหรือข้อผิดพลาดที่เกิดขึ้น ปัญหาส่วนใหญ่ที่มักจะตามมา เช่น ติดยาเสพติด ติดเกมส์ มีเพศสัมพันธ์ก่อนวัยอันควร ปัญหาความรุนแรงของเด็กและสตรี เป็นต้น เมื่อประสบพบเจอกับปัญหาต่าง ๆ เด็กและเยาวชนส่วนใหญ่มักปรึกษาเพื่อนเพราะคิดว่าเพื่อน เป็นที่พึ่งให้แก่ตนได้ ซึ่งเป็นความคิดที่ผิด ความจริงแล้วเมื่อเกิดปัญหาคนที่ควรไปขอคำปรึกษามากที่สุด คือ พ่อ แม่ หรือผู้ปกครอง เพราะเป็นบุคคลที่ใกล้ชิดกับเรามากที่สุดและสามารถให้คำปรึกษาได้ในทุกเรื่อง
ในปัจจุบันสารเสพติดเป็นสิ่งที่ทำลายทรัพยากรบุคคลของชาติ โดยเฉพาะกลุ่มของเด็กและเยาวชน ซึ่งเป็นวัยที่กำลังเจริญเติบโตพร้อมที่จะเป็นกำลังในการพัฒนาประเทศ ผลจากยาเสพติดจะทำลายสมอง ทำลายชีวิต ทำลายอนาคต จนไปถึงการทำร้ายร่างกายบุคคลใกล้ชิด แม้กระทั่งบุพการี และปัญหาที่ตามมาหลาย ๆ อย่าง เช่น การข่มขืน และทารุณกรรมทางด้านจิตใจ ทำให้เสื่อมเสียทั้งญาติ พี่น้อง ผู้ปกครอง และวงศ์ตระกูล ดังนั้นเราจึงควรมีวิธีป้องกันในกลุ่มเด็กและเยาวชนให้พ้นภัยจากสารเสพติด การปฏิเสธเป็นทักษะหนึ่งที่สามารถป้องกันตนเองได้หากเรารู้และมีสติ เมื่อตกอยู่ในสถานการณ์เสี่ยงต่อการเสพยาเสพติด วัยรุ่นทั้งชายและหญิงมีความหลากหลายทางความคิด พื้นฐานทางครอบครัว การอบรมเลี้ยงดูและอุปนิสัยใจคอ ซึ่งบางคนเป็นเด็กตั้งใจเรียน บางคนเป็นเด็กเที่ยว ซึ่งทั้งหมดล้วนทำให้มีประสบการณ์ชีวิตเกี่ยวกับเรื่องมุมมองของการใช้ชีวิตในช่วงวัยรุ่นต่อไป
ทางชมรมอิหม่ามตำบลนาประดู่ ได้เล็งเห็นถึงปัญหาดังกล่าว จึงได้จัดทำโครงการเสริมสร้างชุมชนเข้มแข็งปลอดยาเสพติด ประจำปีงบประมาณ 2568 ขึ้น โดยให้เด็กและเยาวชนในชุมชนและประชาชนมีส่วนร่วมรับรู้ เข้าใจ และร่วมมือจัดการ ป้องกันพฤติกรรมของกลุ่มเด็กและเยาวชนให้มีทิศทางและปรับพฤติกรรมให้เหมาะสม ทั้งนี้เพื่อให้ชุมชนได้มีส่วนร่วมร่วมกัน

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อสร้างความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับพิษภัยของยาเสพติด

ผู้เข้าร่วมมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับพิษภัยของยาเสพติด

70.00 70.00
2 เพื่อป้องกันเยาวชนไม่ให้ยุ่งเกี่ยวกับยาเสพติด

เยาวชนไม่ยุ่งเกี่ยวกับยาเสพติด และไม่มั่วสุมกันทดลอง

70.00 70.00
3 เพื่อให้ชุมชนมีส่วนร่วมในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมและส่งเสริมสุขภาพเยาวชนในชุมชนในการป้องกัน ยาเสพติด

ชุมชนมีความตื่นตัวในการส่งเสริมความเข้มแข็งของครอบครัว

70.00 70.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 70
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 03/03/2025

กำหนดเสร็จ 30/09/2025

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 จัดอบรมให้ความรู้และหาแนวทางการป้องกันการใช้สารเสพติด/โรคติดต่อในการเสพยาร่วมกัน และเปิดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้กลุ่มเด็กให้แสดงความคิดเห็นออกเป็นกลุ่ม ๆ

ชื่อกิจกรรม
จัดอบรมให้ความรู้และหาแนวทางการป้องกันการใช้สารเสพติด/โรคติดต่อในการเสพยาร่วมกัน และเปิดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้กลุ่มเด็กให้แสดงความคิดเห็นออกเป็นกลุ่ม ๆ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

จัดอบรมให้ความรู้และหาแนวทางการป้องกันการใช้สารเสพติด/โรคติดต่อในการเสพยาร่วมกัน และเปิดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้กลุ่มเด็กให้แสดงความคิดเห็นออกเป็นกลุุ่ม ๆ

รายละเอียดงบประมาณ ดังนี้

  1. ค่าป้ายไวนิลโครงการ ขนาด 1×3 เมตร จำนวน 1 ป้ายเป็นเงิน 600.-บาท

  2. ค่าวิทยากร จำนวน 6 ชั่วโมง ๆ ละ 300 บาท (วิทยากร จำนวน 4 คน ๆ ละ 1ชม.30น.) เป็นเงิน 1,800.-บาท

  3. ค่าอาหารว่างพร้อมเครื่องดื่ม จำนวน 80 คน ๆ ละ 35 บาท จำนวน 2 มื้อ (เช้า/บ่าย) (กลุ่มเป้าหมาย 70 คน เจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง 6 คน และวิทยากร 4 คน) เป็นเงิน 5,600.-บาท

  4. ค่าอาหารกลางวันพร้อมเครื่องดื่ม จำนวน 80 คน ๆ ละ 60 บาท (กลุ่มเป้าหมาย 70 คน เจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง 6 คน และวิทยากร 4 คน) จำนวน 1 มื้อเป็นเงิน 4,800.-บาท

  5. ค่าจ้างเหมาเครื่องเสียง เป็นเงิน 3,000.-บาท

  6. ค่าวัสดุอุปกรณ์สำหรับผู้เข้าร่วมฝึกอบรม เช่น ปากกา สมุด กระเป๋าผ้า จำนวน 70 ชุด ๆ ละ 90 บาทเป็นเงิน 6,300.-บาท

  7. ค่าวัสดุอุปกรณ์ในการฝึกอบรม เช่น กระดาษไข ปากกาเคมี สี เป็นต้นเป็นเงิน 2,000.-บาท

รวมเป็นเงินทั้งสิ้น 24,100.-บาท (เงินสองหมื่นสี่พันหนึ่งร้อยบาทถ้วน)

ระยะเวลาดำเนินงาน
3 มีนาคม 2568 ถึง 30 กันยายน 2568
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ผู้เข้าร่วมฝึกอบรมมีความรู้และหาแนวทางการป้องกันการทดลองสารเสพติด/โรคติดต่อในการเสพยาร่วมกัน และเปิดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้กลุ่มเด็กให้แสดงความคิดเห็นออกเป็นกลุ่ม ๆ

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
24100.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 24,100.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. เยาวชนมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับพิษภัยของยาเสพติด

2. เยาวชนไม่ยุ่งเกี่ยวกับยาเสพติด และไม่มั่วสุมกันทดลอง

3. ชุมชนมีความตื่นตัวในการส่งเสริมความเข้มแข็งของครอบครัว


>