กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลบ้านนา

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการเฝ้าระวังและส่งเสริมสุขภาพเด็กปฐมวัย ปีงบประมาณ 2568

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลบ้านนา

โรงพยาบาลศรีนครินทร์(ปัญญานันทภิกขุ)

1. นางสาววสี หวานแก้ว นายแพทย์ชำนาญการพิเศษ รักษาการในตำแหน่งผู้อำนวยการโรงพยาบาลศรีนครินทร์(ปัญญานันทภิกขุ)
2. นางวาลินี คงสุข นักวิชาการสาธารณสุขปฏิบัติการ

พื้นที่หมู่ที่ 1, 3, 5, 6, 8, 9, และ 11 ตำบลบ้านนา อำเภอศรีนครินทร์ จังหวัดพัทลุง

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานอาหารและโภชนาการ

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

หลักการและเหตุผล หรือสถานการณ์ปัญหา
การพัฒนาคนให้มีคุณภาพชีวิตที่ดี มีสุขภาพที่แข็งแรง มีสติปัญญาที่ดี มีความสามารถในการเรียนรู้ มีศักยภาพในการทำงาน เป็นสิ่งสำคัญอันจะเป็นประโยชน์ในการพัฒนาประเทศ ซึ่งอาหารที่บริโภคเป็นจุดเริ่มต้นของการเสริมสร้าง ชีวิต โภชนาการเป็นจุดเชื่อมระหว่างอาหารและสุขภาพ เป็นพื้นฐานของการส่งเสริมสุขภาพและพัฒนาการ การส่งเสริมภาวะโภชนาการและพัฒนาการควรเริ่มตั้งแต่ในวัยเริ่มแรกของชีวิต หรือที่เรียกว่า "เด็กปฐมวัย" คือ วัยตั้งแต่แรกเกิดจนถึงอายุก่อน๖ ปีบริบูรณ์ ซึ่งเป็นระยะที่สำคัญที่สุดของชีวิต ทั้งด้านร่างกาย อารมณ์สังคม บุคลิกภาพโดยเฉพาะ ด้านสติปัญญาจะเจริญมากที่สุดในช่วงนี้และพัฒนาการใดๆ ในวัยนี้จะเป็นพื้นฐานที่มีความสำคัญต่อพัฒนาการในช่วงอื่นๆของชีวิตเป็นอย่างมาก

การดูแลสุขภาพและสุขอนามัยในเด็กแรกเกิดถึงช่วงอายุ 5 ปี เป็นช่วงระยะเวลาที่เด็กเจริญเติบโตอย่างรวดเร็วมากเป็นช่วงเวลาสำคัญที่สุดของการสร้างรากฐานชีวิตและจิตใจของมนุษย์ นอกจากร่างกายจะเจริญเติบโตอย่างเร็วแล้วสมองของเด็กก็เจริญเติบโตสูงสุดในช่วงวัยนี้ด้วย ภาวะโภชนาการของเด็กเป็นสิ่งสะท้อนให้เห็นถึงสุขภาพโดยรวมของเด็ก เมื่อเด็กได้รับอาหารอย่างเพียงพอ ไม่เจ็บป่วยบ่อยๆ และได้รับการดูแลอย่างดี เด็กจะมีการเจริญเติบโตอย่างสมส่วนและถือว่าได้รับการเลี้ยงดูอย่างดี อาหารและโภชนาการในเด็กปฐมวัยจึงเป็นพื้นฐานสำคัญของการมีสุขภาพและสติปัญญาที่ดีในระยะยาว

จากข้อมูลภาวะโภชนาการเด็ก 0-5 ปี ในเขตรับผิดชอบของโรงพยาบาลศรีนครินทร์(ปัญญานันทภิกขุ) พบว่าร้อยละของเด็กอายุ 0-5 ปี สูงดีสมส่วนและส่วนสูงเฉลียที่อายุ 5 ปี เกณฑ์เป้าหมาย ปี 2565-2567 ร้อยละ 62, 64 และ 66 ตามลำดับ ซึ่งผลจากการประเมินภาวะโภชนาการเด็ก 0-5 ปี ในเขตรับผิดชอบของโรงพยาบาลศรีนครินทร์ (ปัญญานันทภิกขุ) ปี 2565-2567 ร้อยละ 51.33, 60.92 และ 63.45 ตามลำดับซึ่งพบว่ามีภาวะโภชนาการไม่ผ่านเกณฑ์

ภาวะทุพโภชนาการในเด็กวัยนี้ส่งผลต่อพัฒนาการระดับสิปัญญา และความสามารถในการเรียนรู้ ดังนั้นการประเมินภาวะโภชนาการในเด็กเป็นการเฝ้าระวังและแก้ไข่ในกณีมีปัญหาภาวะทุพโภชนาการได้อย่างทันท่วงที่โรงพยาบาลศรีนครินทร์(ปัญญานันทภิกขุ) โดยกลุ่มงานบริการด้านปฐมภูมิและองค์รวมตระหนักถึงความสำคัญดังกล่าว จึงได้จัดทำโครงการเพื่อติดตาม ส่งเสริม ประเมินสุขภาพเด็กปฐมวัยให้มีภาวะสุขภาพที่สมบูรณ์ แข็งแรง

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เด็ก 0-5 ปี ได้รับการประเมินติดตามและส่งเสริมภาวะโภชนาการ ร้อยละ 95

 

0.00
2 เด็กที่มีปัญหาทุพโภชนาการติดตามดูแล ร้อยละ 100

 

0.00
3 ผู้ปกครองเด็กปฐมวัยได้รับความรู้เรื่องการส่งเสริมภาวะโภชนาการ ร้อยละ 95

 

0.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน 155
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น : 01/12/2024

กำหนดเสร็จ : 30/09/2025

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 ประเมินติดตามภาวะโภชนาการเด็กในชุมชน

ชื่อกิจกรรม
ประเมินติดตามภาวะโภชนาการเด็กในชุมชน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ประเมินติดตามภาวะโภชนาการเด็กในชุมชน โดยการชั่งน้ำหนัก วัดส่วนสูงเด็กอายุ 0-5 ปี ไตรมาสละ 1 ครั้ง
งบประมาณ
1. ค่าที่วัดส่วนสูง จำนวน 4 ชุดๆ ละ 2,400 บาท เป็นเงิน 9,600 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
20 พฤษภาคม 2568 ถึง 20 พฤษภาคม 2568
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

เด็กอายุ 0-5 ปีได้รับการประเมินและติดตามภาวะโภชนาการเด็กในชุมชน โดยการชั่งน้ำหนัก วัดส่วนสูง

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
9600.00

กิจกรรมที่ 2 ให้ความรู้รายบุคคลแก่ผู้ปกครองเรื่องการส่งเสริมภาวะโภชนาการในเด็ก 0-5 ปี

ชื่อกิจกรรม
ให้ความรู้รายบุคคลแก่ผู้ปกครองเรื่องการส่งเสริมภาวะโภชนาการในเด็ก 0-5 ปี
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ให้ความรู้รายบุคคลแก่ผู้ปกครอง เรื่อง การส่งเสริมภาวะโภชนาการในเด็ก 0-5 ปี ไตรมาสละ 1 ครั้ง
- ไม่ใช้งบประมาณ -

ระยะเวลาดำเนินงาน
20 พฤษภาคม 2568 ถึง 20 พฤษภาคม 2568
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ผู้ปกครองของเด็กอายุ 0-5 ปี ที่มีภาวะทุพโภชนาการได้รับความรู้ เรื่อง การส่งเสริมโภชนาการของเด็ก

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 9,600.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. เด็กอายุ 0-5 ปี ได้รับการประเมิน ติดตามภาวะโภชนาการอย่างต่อเนื่องโดย อสม.
2. เด็กที่มีปัญหาทุพโภชนาการได้รับการดูแลติดตาม/แก้ไขปัญหา


>