กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.บ้านแหร

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการควบคุมและป้องกันโรคติดต่อนำโดยแมลงไข้เลือดออก ไข้มาลาเรีย ปีงบประมาณ 2568

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.บ้านแหร

กลุ่มอาสาควบคุมโรคติดต่อนำโดยแมลงตำบลบ้านแหร

1 นายแวยูโซะแปเฮาะอีเล
2นายไซปูดิน เจ๊ะสามะ
3นายอับดุลเลาะ มะรอแม
4นายพาริ ยุมอ
5นายมะซับรี มะแร

ตำบลบ้านแหร จำนวน 11 หมู่บ้าน

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานเผชิญภัยพิบัติและโรคระบาด

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

อำเภอธารโตก็เป็นหนึ่งพื้นที่ที่พบปัญหาโรคไข้มาลาเรียและไข้เลือดออกอย่างต่อเนื่องจากสถิติอัตราป่วยโรคมาลาเรียตั้งแต่วันที่1มกราคม2564-31ธันวาคม2565 พบผู้ป่วยทั้งสิ้น 413 รายคิดเป็นอัตราป่วย3,910.94 ต่อแสนประชากรไม่พบผู้ป่วยเสียชีวิตและสถิติอัตราป่วยโรคไข้เลือดออกตั้งแต่วันที่1มกราคม2563-ธันวาคม2565 พบผู้ป่วยทั้งสิ้น42รายคิดเป็นอัตราป่วย188.16 ต่อแสนประชากรพบผู้ป่วยเสียชีวิต1รายคิดเป็นอัตราตาย4.48ต่อแสนประชากร โดยพื้นที่พบอัตราป่วยมากที่สุดคือพื้นที่ตำบลบ้านแหรจากสถิติอัตราป่วยย้อนหลัง 3 ปี อัตราป่วยโรคมาลาเรีย พบผู้ป่วยทั้งสิ้น54รายคิดเป็นอัตราป่วย744.21 ต่อแสนประชากรไม่พบผู้ป่วยเสียชีวิต และสถิติอัตราป่วยโรคไข้เลือดออก พบผู้ป่วยทั้งสิ้น1รายคิดเป็นอัตราป่วย13.18 ต่อแสนประชากรไม่พบผู้ป่วยเสียชีวิตตำบลบ้านแหรมีสถิติอัตราป่วยโรคมาลาเรีย พบผู้ป่วยทั้งสิ้น16รายคิดเป็นอัตราป่วย767.31 ต่อแสนประชากรไม่พบผู้ป่วยเสียชีวิต และสถิติอัตราป่วยโรคไข้เลือดออก พบผู้ป่วยทั้งสิ้น1รายคิดเป็นอัตราป่วย46.02 ต่อแสนประชากรไม่พบผู้ป่วยเสียชีวิต ประชากรซึ่งมีแนวโน้มการระบาดในช่วงฤดูฝนของทุกปี โดยเฉพาะ ตั้งแต่เดือน พฤษภาคม – พฤศจิกายน ของทุกปี และพบว่าประชากรที่ป่วยด้วยโรคไข้เลือดออกมากที่สุด ได้แก่ กลุ่มเด็กวัยเรียนที่มีอายุตั้งแต่ 5 – 14 ปีรองลงมาคือ เด็กก่อนวัยเรียนและเด็กโตตามลำดับ ปัจจุบันยังพบผู้ป่วยโรคมาลาเรียและไข้เลือดออกในผู้ใหญ่และมีการเกิดโรคตลอดทั้งปีอีกด้วย
โรคไข้มาลาเรีย ก็เป็นโรคหนึ่งที่ยุงเป็นพาหะ ได้แก่ยุงก้นปล่อง ซึ่งสถานการณ์ของโรคในเขตรับผิดชอบโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านซาไก และโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านแหร พบว่า มีอัตราป่วย 485 ต่อแสนประชากรในปี 2565ที่สูง เกินกว่าค่ามาตรฐาน คือ เกินกว่า300 ต่อแสน ทุกปี จึงจำเป็นต้องมีการรณรงค์และควบคุมโรค ซึ่งการดำเนินการเน้นใน 2 ปัจจัย คือ 1.การกำจัดเชื้อในยุง ด้วยการฆ่ายุงตัวแก่ เช่นการพ่นหมอกควัน การพ่นสารเคมีตกค้าง การใช้สารเคมีต่างๆ 2.การกำจัดเชื้อในคน ด้วยการเจาะค้นหาผู้ป่วยมาลาเรียมาทำการรักษา เพื่อป้องกันไม่ให้แพร่กระจายเชื่อ
การดำเนินงานควบคุมและป้องกันโรคไข้เลือดออก/ไข้มาลาเรีย ให้ประสบผลสำเร็จและเกิดประสิทธิภาพ นั้น ต้องอาศัยความร่วมมือจากทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องในการกำจัดยุงที่เป็นพาหะนำโรค ทั้งยุงลายและยุงก้นปล่อง และรณรงค์ให้ชุมชนตระหนักถึงความสำคัญของปัญหาโรคไข้เลือดออก/ไข้มาลาเรีย โดยที่ชุมชนต้องเป็นผู้ดำเนินการเอง รัฐเป็นผู้สนับสนุน ดังนั้น เพื่อให้เกิดผลเป็นรูปธรรม ภาคประชาชนโดยมีอาสาสมัครสาธารณสุขเป็นแกนนำ และองค์การบริหารส่วนตำบลบ้านแหร ภายใต้การดูแลและควบคุมกำกับของคณะกรรมการให้ปฏิบัติงานในทีมอาสาควบคุมและป้องกันโรคติดต่อนำโดยแมลงไข้เลือดออก/ไข้มาลาเรียตำบลบ้านแหร

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อลดการแพร่ระบาดของโรคติดต่อนำโดยแมลง โรคไข้เลือดออก โรคมาลาเรีย

จำนวนประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากโรคติดต่อนำโดยแมลง โรคไข้เลือดออก โรคมาลาเรีย

0.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น : 03/03/2025

กำหนดเสร็จ : 30/09/2025

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 กิจกรรมสร้างความตระหนักรู้ป้องกันแก่ชุมชน

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมสร้างความตระหนักรู้ป้องกันแก่ชุมชน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

รณรงค์ อบรม ประชาสัมพันธ์การป้องกันโรคไข้เลือดออก โรคไข้มาลาเรีย
ดำเนินการร่วมกับ สมาคมยุวมุสลิมแห่งประเทศไทยจังหวัดยะลา

ระยะเวลาดำเนินงาน
3 มีนาคม 2568 ถึง 30 กันยายน 2568
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ประชาชนในพื้นที่มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับโรคไข้เลือดออก ไข้มาเรีย

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

กิจกรรมที่ 2 กิจกรรมควบคุมยุงโดยการพ่นสารเคมี

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมควบคุมยุงโดยการพ่นสารเคมี
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

พ่นหมอกควัน และพ่นละอองฝอยโดยมีงบประมาณดังนี้

  • ค่าน้ำมันเชื้อเพลิง เป็นเงิน35,000บาท
  • ค่าน้ำยาสารเคมีพ่นหมอกควันเป็นเงิน5,000บาท
  • ค่าพาหนะ(สำหรับปฏิบัติงาน)ครั้งละ100บาท/คน เป็นเงิน10,000 บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
3 มีนาคม 2568 ถึง 30 กันยายน 2568
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ลดการระบาดของโรคไข้เลือดออก โรคไข้มาลาเรีย

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
50000.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 50,000.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. อัตราการเกิดโรคลดลงและสามารถควบคุมโรคได้ในเวลาอันสั้น
2. ประชาชนทุกกลุ่มอายุตระหนักและเห็นความสำคัญของการควบคุมป้องกันโรคไข้เลือดออก/ไข้มาลาเรีย


>