กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.บ้านแหร

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการป้องกันเด็กจมน้ำในเด็กปฐมวัยตำบลบ้านแหร

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.บ้านแหร

องค์การบริหารส่วนตำบลบ้านแหร

ตำบลบ้านแหร

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานเด็ก เยาวชน ครอบครัว

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

หลักการและเหตุผล (ระบุที่มาของการทำโครงการ)
กรมควบคุมโรค เผยรายงาน ผู้บาดเจ็บหรือเสียชีวิตจากการตกน้ำจมน้ำ 1 ม.ค. – 14 ก.ย. 2565 พบกว่า 184 เหตุการณ์ "จมน้ำเสียชีวิต" 174 ราย ส่วนใหญ่เป็นเด็กอายุต่ำกว่า 15 ปี กลุ่มที่มีอัตราการเสียชีวิตสูงกว่าทุกกลุ่มอายุโดยเพศชายมีอัตราการเสียชีวิตสูงกว่าเพศหญิงถึงสองเท่าและโดยเฉพาะช่วงเดือนเมษายน เนื่องจากว่ายน้ำไม่เป็น ไม่มีทักษะการเอาชีวิตรอด แหล่งน้ำที่เกิดเหตุการณ์ เช่น คลอง แม่น้ำ แหล่งน้ำที่ใช้ในเกษตรกรรม ทะเล สระว่ายน้ำ ตามลำดับ ส่วนปัจจัยที่ทำให้เสียชีวิตจากการจมน้ำ ได้แก่ ว่ายน้ำไม่เป็น ไม่มีทักษะการเอาชีวิตรอด ลงเล่นน้ำโดยไม่แจ้งผู้ปกครองดูแลใกล้ชิดตลอดเวลา ไม่มีป้ายเตือน ไม่มีสิ่งกีดขวาง โดยเฉพาะช่วงปิดเทอมผู้ปกครองส่วนใหญ่จะให้พี่ดูแลน้องหรือผู้สูงอายุดูแลเด็ก และมักจะพบว่าในช่วงปิดภาคเรียน (มีนาคม-พฤษภาคม) ของทุกปี เป็นช่วงที่มีสถิติเด็กจมน้ำมากที่สุด
จากสถานการณ์ที่ผ่านมาในแต่ละปีในเขตพื้นที่ตำบลบ้านแหร มีเด็กและผู้ใหญ่ที่ได้รับอุบัติเหตุจากการเล่นน้ำและจมน้ำเสียชีวิต เพราะในพื้นที่มีแหล่งน้ำที่เด็กสามารถเล่นน้ำได้ โดยผู้ปกครองอาจจะไม่ทราบและไม่ตระหนักถึงสาเหตุการเสียชีวิตของบุตรหลาน
สำนักปลัด องค์การบริหารส่วนตำบลบ้านแหร จึงได้เล็งเห็นความสำคัญและความจำเป็น จากการจมน้ำ การป้องกันการจมน้ำจึงเป็นสิ่งที่สำคัญซึ่งจะต้องมีมาตรการหรือวิธีการป้องกันทั้งในระดับชุมชนหรือระดับครอบครัว ก่อนที่จะเกิดความสูญเสียต่อบุคคลอันเป็นที่รักและเพื่อให้เกิดแนวทางการป้องกันอย่างจริงจังเพื่อลดอัตราการเสียชีวิตจากการจมน้ำจึงได้จัดทำโครงการป้องกันเด็กจมน้ำในเด็กปฐมวัยตำบลบ้านแหร ประจำปี 2568 เพื่อให้ผู้เข้าร่วมอบรมได้มีความรู้ สามารถช่วยเหลือตนเอง หรือพบเห็นอุบัติเหตุคนจมน้ำแล้วสามารถให้ความช่วยเหลือเบื้องต้นได้อย่างถูกต้อง เหมาะสม ทันท่วงที ซึ่งจะช่วยเหลือผู้เล่นน้ำหรือรอดชีวิตจากจากการจมน้ำได้

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อสร้างความรู้และความตระหนักในการป้องกันจากการจมน้ำในเด็ก

มีความรู้และมีทักษะในการช่วยเหลือชีวิตขณะจมน้ำ

50.00 90.00
2 เพื่อป้องกันและลดจุดเสี่ยงหรือจุดอัตรายต่อการจมน้ำ

จำนวนจุดอันตรายห้ามเล่นน้ำ

4.00 0.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 30
กลุ่มวัยทำงาน 5
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 23/04/2025

กำหนดเสร็จ 30/04/2025

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 กิจกรรมอบรมเชิงปฏิบัติการเฝ้าระวังป้องกันเด็กจมน้ำ “ตะโกน โยน ยื่น”

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมอบรมเชิงปฏิบัติการเฝ้าระวังป้องกันเด็กจมน้ำ “ตะโกน โยน ยื่น”
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

จัดกิจกรรมอบรมเชิงปฏิบัติการเฝ้าระวังป้องกันเด็กจมน้ำ “ตะโกน โยน ยื่น” ให้กับเด็กนักเรียนในระดับปฐมวัย จำนวน 30 คน
งบประมาณดังนี้

  • ค่าวิทยากรหลัก 1 ท่าน จำนวน 6 ชั่วโมง ๆ ละ 600 บาท เป็นเงิน 3,600บาท
  • ค่าวิทยากรกลุ่มฝึกปฏิบัติ 2 ท่าน จำนวน 3 ชั่วโมง ๆ ละ 300 บาท เป็นเงิน 1,800บาท
  • ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 35 คน ๆ ละ 30 บาท จำนวน 2 มือ เป็นเงิน 2,100 บาท
  • ค่าอาหารกลางวัน จำนวน 35 คน ๆ ละ 70 บาท เป็นเงิน 2,450 บาท
  • ค่าป้ายโครงการไวนิล ขนาด 1 x 3 เมตร จำนวน 1 ป้ายเป็นเงิน 750 บาท
  • ค่าวัสดุสำหรับอบรม (ปากกา สมุด กระเป๋าเอกสาร)จำนวน 30 ชุด ๆละ 120 บาทเป็นเงิน 3,600 บาท
  • เสื้อชูชีพเด็กสำหรับฝึกปฏิบัติ จำนวน 10 ตัว/ละ 450 บาท เป็นเงิน 4,500 บาท
  • ห่วงชูชีพไฟเบอร์กลาส จำนวน 3 ห่วง/ละ 1,500 บาท เป็นเงิน 4,500 บาท

    รวมเป็นเงิน 23,300 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
23 เมษายน 2568 ถึง 23 เมษายน 2568
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ผู้เข้าร่วมโครงการมีความรู้และทักษะในการช่วยเหลือชีวิตขณะจมน้ำ

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
23300.00

กิจกรรมที่ 2 กิจกรรมเฝ้าระวังจุดเสี่ยงและจุดอันตรายต่อการจมน้ำ

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมเฝ้าระวังจุดเสี่ยงและจุดอันตรายต่อการจมน้ำ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

สำรวจจุดเสี่ยงอันตรายต่อการจมน้ำ และแจ้งเตือนให้ประชาชนทราบ และแสดงติดตั้งอุปกรณ์ช่วยเหลือเด็กจมน้ำ งบประมาณดังนี้

  • ค่าป้ายเตือนจุดอัตรายห้ามเล่นน้ำ ขนาด 1 x 1.2 เมตร จำนวน 4 ป้าย เป็นเงิน 1,200 บาท
  • ค่าแผ่นป้ายพลาสวูด แสดงจุดตั้งอุปกรณ์ช่วยเหลือเด็กจมน้ำ ขนาด 50 X 20 เซนติเมตร จำนวน 4 ป้าย เป็นเงิน 1.200 บาท                                        รวมเป็นเงิน 2,400 บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
24 เมษายน 2568 ถึง 30 เมษายน 2568
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

มีการแจ้งเตือนอันตรายจุดเสี่ยงห้ามเล่นน้ำ

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
2400.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 25,700.00 บาท

หมายเหตุ :
ทุกรายการสามารถถัวเฉลี่ยได้ตามความเหมาะสม

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. ทำให้ผู้เข้าร่วมโครงการมีความรู้และมีทักษะในการช่วยเหลือชีวิตขณะจมน้ำได้
2. ทำให้เด็กและประชาชนทั่วไปทราบจุดเสี่ยงและจุดอัตรายต่อการจมน้ำ


>