กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลพนางตุง

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โรงเรียนบ้านท่าช้างร่วมใจ ปลอดภัยอุบัติเหตุทางท้องถนน

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลพนางตุง

โรงเรียนบ้านท่าช้าง

โรงเรียนบ้านท่าช้าง

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานความปลอดภัยทางถนน

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ในปัจจุบันอุบัติเหตุที่เกิดขึ้นจากยานพาหนะมีจำนวนมาก และในส่วนของผู้บาดเจ็บที่เกิดจากอุบัติเหตุรถจักยานยนต์ก็มีจำนวนมากเช่นกัน โดยส่วนใหญ่พบว่าผู้ที่ได้รับบาดเจ็บและเสียชีวิตไม่มีการสวมหมวกนิรภัย และโรงเรียนบ้านท่าช้างมีนักเรียนที่อยู่ใกล้ไกลโรงเรียนแตกต่

 

56.00

แนวทางการวางแผนการรักษาความปลอดภัยให้แก่นักเรียน เน้นการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนในสังคม ระหว่างนักเรียน ครู ผู้ปกครอง ชุมชน และเครือข่าย โดยร่วมกันวางแผนเฝ้าระวัง ป้องกัน แก้ไข ควบคุม กํากับ ติดตาม ประเมินผลและรายงาน จึงจําเป็นต้องมีมาตรการและกิจกรรมเพื่อให้รับประโยชน์สูงสุดตามเจตนารมณ์ของ หลักสิทธิ มนุษยชน พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542 และที่แก่ไข เพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2545 และพระราชบัญญัติ คุ้มครองเด็ก พ.ศ.2546 พร้อมทั้งนโยบายของสํานักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน และการที่เด็กเสียชีวิตจากอุบัติเหตุบนท้องถนน 99% สาเหตุเกิดจากการไม่สวมหมวกนิรภัย โดยรายงานของสมาคมส่งเสริมความปลอดภัยและอนามัยในการทำงาน (ประเทศไทย) ยังเผยว่า มีเด็กไทยเพียง ๓% เท่านั้นที่ใส่หมวกนิรภัยระหว่างการเดินทาง ซึ่งอัตราการใช้หมวกนิรภัยจำนวนน้อยนี่เอง สะท้อนให้เห็นถึงความรู้เท่าไม่ถึงการณ์ว่าภัยอันตรายรอบตัวนั้นสามารถเกิดขึ้นได้แบบไม่คาดฝัน และเป็นเรื่องที่น่ากังวลที่พ่อแม่และผู้ปกครองหลายๆ คนไม่ตระหนักถึงความสำคัญในการให้บุตรหลานสวมใส่หมวกนิรภัยขณะเดินทางด้วยรถจักรยานยนต์ แล้วก็ยังมีอีกหลายครอบครัวที่แม้จะสวมหมวกนิรภัยให้เด็ก แต่กลับไม่รู้ว่าจะเลือกใช้หมากนิรภัยที่มีคุณภาพ มีขนาดพอดีกับศีรษะเด็ก และจะสวมใส่หมวกนิรภัยให้เด็กอย่างถูกวิธีได้อย่างไร ด้วยเหตุนี้ การรณรงค์ส่งเสริมการสวมหมวกนิรภัยและได้มาตรฐาน รวมถึงการเรียนรู้วิธีการใช้ถนนอย่างถูกต้อง จึงเป็นจุดเริ่มต้นที่สำคัญในการป้องกันและสร้างความตระหนักถึงความปลอดภัยบนท้องถนน เพื่อลดการสูญเสียจากอุบัติเหตุ
ดังนั้นเพื่อกระตุ้นให้เกิดพฤติกรรมที่ถูกต้องในการใช้รถใช้ถนน การสร้างความรู้ความเข้าใจแก่เด็ก พ่อแม่ และผู้ปกครอง ให้เห็นถึงความสำคัญของการใช้หมวกนิรภัย พร้อมอบรมการใช้งานที่ถูกวิธี ซึ่งเป็นเรื่องจำเป็นอย่างมากในการช่วยลดจำนวนตัวเลขผู้บาดเจ็บและเสียชีวิตในเด็ก โดยเฉพาะอย่างยิ่งเด็กที่ถือเป็นอนาคตของชาติ โรงเรียนบ้านท่าช้าง มีนักเรียนตั้งแต่ชั้นอนุบาลถึงประถมศึกษาปีที่ 6 จำนวน 56 คน แยกเป็น ชั้นอนุบาล จำนวน 13 คน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 จำนวน 5 คน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 จำนวน 8 คน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 จำนวน 3 คน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 จำนวน 13 คน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 จำนวน 6 คน และชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 จำนวน 8 คน และบุคลากร จำนวน 5 คน จากสถานการณ์ดังกล่าว คณะกรรมการสถานศึกษาโรงเรียนบ้านท่าช้าง หมู่ที่ 5 ตำบลพนางตุง ได้เล็งเห็นความสำคัญของการป้องกันการบาดเจ็บและเสียชีวิตจากอุบัติเหตุทางถนน จึงได้จัดทำโครงการ "โรงเรียนบ้านท่าช้างร่วมใจ ปลอดภัยอุบัติเหตุทางถนน ปี 2568” ขึ้น โดยขอสนับสนุนงบประมาณจากกองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลตำบลพนางตุง

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 1.เพื่อให้เด็กมีกระบวนการเรียนรู้และเพิ่มทักษะป้องกันอุบัติเหตุทางถนน

เด็กมีกระบวนการเรียนรู้และเพิ่มทักษะป้องกันอุบัติเหตุทางถนน

56.00 56.00
2 2.เพื่อให้ผู้ปกครองและเด็กมีความตระหนักในการสร้างวินัยจราจร

ผู้ปกครองและเด็กมีความตระหนักในการสร้างวินัยจราจร

56.00 56.00
3 3.เพื่อลดการบาดเจ็บและเสียชีวิตจากอุบัติเหตุทางถนน

ลดการบาดเจ็บและเสียชีวิตจากอุบัติเหตุทางถนน

56.00 56.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 56
กลุ่มวัยทำงาน 7
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 15/05/2025

กำหนดเสร็จ 31/08/2025

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 อบรมให้ความรู้แก่เด็กและผู้ปกครองเกี่ยวกับกระบวนการเรียนรู้ การเพิ่มทักษะป้องกันอุบัติเหตุทางถนน และกฎวินัยจราจร

ชื่อกิจกรรม
อบรมให้ความรู้แก่เด็กและผู้ปกครองเกี่ยวกับกระบวนการเรียนรู้ การเพิ่มทักษะป้องกันอุบัติเหตุทางถนน และกฎวินัยจราจร
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

1.ค่าไวนิล ขนาด 1.2 x 2.4 เมตร จำนวน 1 ป้าย เป็นเงิน 518 บาท 2.หมวกนิรภัย สำหรับนักเรียนระดับชั้น อ.2, อ.3 และ ป.1 จำนวน 18 ใบๆละ 280 บาท เป็นเงิน 5,040 บาท 3.หมวกนิรภัย สำหรับนักเรียนระดับชั้น ป.2-ป.6 จำนวน 38 ใบๆละ 220 บาท เป็นเงิน 8,360 บาท 4.ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 63 คน จำนวน 1 มื้อๆละ 30 บาท เป็นเงิน 1,890 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
15 พฤษภาคม 2568 ถึง 29 สิงหาคม 2568
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
15808.00

กิจกรรมที่ 2 กิจกรรมประเมินผลการสวมหมวกกันน็อค

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมประเมินผลการสวมหมวกกันน็อค
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

จัดให้มีทีมสภานักเรียนจัดเวรตรวจประเมินการสวมหมวกกันน็อคเป็นประจำทุกวัน และจัดให้มีมาตรการให้กับเด็กนักเรียนที่ไม่สวมหมวกกันน็อค

ระยะเวลาดำเนินงาน
2 มิถุนายน 2568 ถึง 29 สิงหาคม 2568
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 15,808.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1.เด็กมีกระบวนการเรียนรู้และเพิ่มทักษะป้องกันอุบัติเหตุทางถนน
2.ผู้ปกครองและเด็กมีความตระหนักในการสร้างวินัยจราจร
3.ลดการบาดเจ็บและเสียชีวิตจากอุบัติเหตุทางถนน
4.เด็กทุกคนสวมหมวกนิรภัย


>