กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลพนางตุง

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โรงเรียนบ้านควนพนางตุงร่วมใจ ปลอดภัยอุบัติเหตุทางถนน ปี 2568

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลพนางตุง

โรงเรียนบ้านควนพนางตุง(สินประชา)

โรงเรียนบ้านควนพนางตุง(สินประชา)

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานยาสูบ , แผนงานความปลอดภัยทางถนน , แผนงานความปลอดภัยทางถนน(cancle)

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ในปัจจุบันอุบัติเหตุที่เกิดขึ้นจากยานพาหนะที่มีจำนวนมากและในส่วนของผู้บาดเจ็บที่เกิดจากอุบัติเหตุรถจักยานยนต์ก็มีจำนวนมากเช่นกันโดยส่วนใหญ่พบว่าผู้ที่ได้รับบาดเจ็บและเสียชีวิตไม่มีการสวมหมวกนิรภัยโรงเรียนบ้านควนพนางตุง(สินประชา) มีนักเรียนที่อยู่ใกล้โรงเร

 

238.00

แนวทางการวางแผนการรักษาความปลอดภัยให้แก่นักเรียน เน้นการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนในสังคม ระหว่างนักเรียน ครู ผู้ปกครอง ชุมชน และเครือข่าย โดยร่วมกันวางแผนเฝ้าระวัง ป้องกัน แก้ไข ควบคุม กํากับ ติดตาม ประเมินผลและรายงาน จึงจําเป็นต้องมีมาตรการและกิจกรรมเพื่อให้รับประโยชน์สูงสุดตามเจตนารมณ์ของ หลักสิทธิ มนุษยชน พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542 และที่แก่ไข เพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2545 และพระราชบัญญัติ คุ้มครองเด็ก พ.ศ.2546 พร้อมทั้งนโยบายของสํานักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน การที่เด็กเสียชีวิตจากอุบัติเหตุบนท้องถนน 99% สาเหตุเกิดจากการไม่สวมหมวกนิรภัย โดยรายงานของสมาคมส่งเสริมความปลอดภัยและอนามัยในการทำงาน (ประเทศไทย) ยังเผยว่า มีเด็กไทยเพียง 3% เท่านั้นที่สวมหมวกนิรภัยระหว่างการเดินทาง ซึ่งอัตราการใช้หมวกนิรภัยจำนวนน้อยนั้น สะท้อนให้เห็นถึงความรู้เท่าไม่ถึงการณ์ว่าภัยอันตรายรอบตัวนั้นสามารถเกิดขึ้นได้แบบไม่คาดฝัน และเป็นเรื่องที่น่ากังวลที่พ่อ แม่และผู้ปกครองหลายๆ คนไม่ตระหนักถึงความสำคัญในการให้บุตรหลานสวมใส่หมวกนิรภัยขณะเดินทางด้วยรถจักรยานยนต์ แล้วก็ยังมีอีกหลายครอบครัวที่แม้จะสวมหมวกนิรภัยให้เด็ก แต่กลับไม่รู้ว่าจะเลือกใช้หมวกนิรภัยที่มีคุณภาพ มีขนาดพอดีกับศีรษะเด็ก และจะสวมใส่หมวกนิรภัยให้เด็กอย่างถูกวิธีได้อย่างไร ด้วยเหตุนี้ การรณรงค์ส่งเสริมการสวมหมวกนิรภัยและได้มาตรฐาน รวมถึงการเรียนรู้วิธีการใช้ถนนอย่างถูกต้อง จึงเป็นจุดเริ่มต้นที่สำคัญในการป้องกันและสร้างความตระหนักถึงความปลอดภัยบนท้องถนน เพื่อลดการสูญเสียจากอุบัติเหตุ
ดังนั้นเพื่อกระตุ้นให้เกิดพฤติกรรมที่ถูกต้องในการใช้ถนน การสร้างความรู้ความเข้าใจแก่เด็ก พ่อแม่ และผู้ปกครอง ให้เห็นถึงความสำคัญของการใช้หมวกนิรภัย พร้อมอบรมการใช้งานที่ถูกวิธี ซึ่งเป็นเรื่องจำเป็นอย่างมากในการช่วยลดจำนวนตัวเลขผู้บาดเจ็บและเสียชีวิตในเด็ก โดยเฉพาะอย่างยิ่งเด็กที่ถือเป็นอนาคตของชาติ โรงเรียนบ้านควนพนางตุง(สินประชา) ตั้งอยู่หมู่ที่ 3 ตำบลพนางตุง เขตพื้นที่บริการหมู่ที่ 3 และ 12 ตำบลพนางตุง ปัจจุบันโรงเรียนมีนักเรียน จำนวน 238 คน ประกอบด้วยนักเรียนชั้นอนุบาล 47 คน ชั้น ป.1 จำนวน 27คน ชั้น ป.2 จำนวน 27 คน ชั้น ป.3 จำนวน 27คน ชั้น ป.4 จำนวน 32 คน ชั้น ป.5 จำนวน 44 คน ชั้น ป.6 จำนวน 34 คน นักเรียนร้อยละ 80 เป็นเด็กนอกเขตพื้นที่บริการ ผู้ปกครองจะใช้รถยนต์และรถจักรยานยนต์รับส่งนักเรียน โรงเรียนเคยได้รับสนับสนุนงบประมาณจากกองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลตำบลพนางดุง ในการดำเนินโครงการแล้วเมื่อปี 2563 โดยดำเนินกิจกรรมอบรมให้ความรู้แก่นักเรียนและผู้ปกครอง มอบหมวกนิรภัยให้กับนักเรียน รณรงค์ให้ผู้ปกครองและนักเรียนที่มารับ-ส่งนักเรียนสวมใส่หมวกนิรภัย100% โดยมีมาตรการกำกับ ดูแล ตรวจจับ ลงโทษสำหรับนักเรียนและผู้ปกครองที่ไม่สวมหมวกนิรภัย ได้รับการสนับสนุนเจ้าหน้าที่จากสถานีตำรวจภูธรทะเลน้อยในการอำนวยความสะดวกด้านการจราจร เวลาช่วงเช้าและหลังเลิกเรียน ซึ่งการดำเนินการส่งผลให้เกิดประไยชน์แก่นักเรียนและผู้ปกครอง ซึ่งสอดคล้องกับนโยบายของกระทรวงศึกษาธิการเกี่ยวกับมาตรการความปลอดภัยของสถานศึกษาในเรื่องอุบัติเหตุจากการเดินทาง ไป-กลับ ระหว่างบ้าน และสถานศึกษา ปัจจุบัน นักเรียนที่เคยได้รับหมวกนิรภัยได้จบการศึกษาไป จำนวน 4 ปีการศึกษาแล้ว และจากการตรวจสอบพบว่านักเรียนบางคนยังไม่มีหมวกนิรภัย หรือมีแต่ไม่ได้มาตรฐาน หรือขนาดหมวกไม่พอดีกับศรีษะของนักเรียน และมีสภาพเก่าไม่ได้มาตรฐาน และในช่วงที่ผ่านมีนักเรียนและบุคลากรเคยประสบอุบัติเหตุจากการใช้รถใช้ถนนมาแล้ว จากสถานการณ์ดังกล่าว คณะกรรมการสถานศึกษาโรงเรียนบ้านควนพนางตุง(สินประชา) หมู่ที่ 3 ตำบลพนางตุง ได้เล็งเห็นความสำคัญของการป้องกันการบาดเจ็บและเสียชีวิตจากอุบัติเหตุทางถนน จึงได้จัดทำโครงการ "โรงเรียนบ้านควนพนางตุงร่วมใจ ปลอดภัยอุบัติเหตุทางถนน ปี 2568” ขึ้น โดยขอสนับสนุนงบประมาณจากกองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลตำบลพนางตุง

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้นักเรียนมีกระบวนการเรียนรู้และเพิ่มทักษะป้องกันอุบัติเหตุทางถนน

เด็กมีกระบวนการเรียนรู้และเพิ่มทักษะป้องกันอุบัติเหตุทางถนน

238.00 0.00
2 เพื่อให้ผู้ปกครองและเด็กมีความตระหนักในการสร้างวินัยจราจร

ผู้ปกครองและเด็กมีความตระหนักในการสร้างวินัยจราจร

238.00 0.00
3 เพื่อลดการบาดเจ็บและเสียชีวิตจากอุบัติเหตุทางถนน

ลดการบาดเจ็บและเสียชีวิตจากอุบัติเหตุทางถนน

0.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 238
กลุ่มวัยทำงาน 19
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 15/05/2025

กำหนดเสร็จ 31/08/2025

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 อบรมให้ความรู้แก่นักเรียนชั้นอนุบาล 2 ถึงชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 เกี่ยวกับกระบวนการเรียนรู้ การเพิ่มทักษะป้องกันอุบัติเหตุทางถนน และกฎวินัยจราจร

ชื่อกิจกรรม
อบรมให้ความรู้แก่นักเรียนชั้นอนุบาล 2 ถึงชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 เกี่ยวกับกระบวนการเรียนรู้ การเพิ่มทักษะป้องกันอุบัติเหตุทางถนน และกฎวินัยจราจร
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

1.ค่าไวนิล ขนาด 1.2 x 2.4 เมตร จำนวน 1 ป้าย เป็นเงิน 518 บาท 2.ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 257 คน จำนวน 1 มื้อ มือละ 30 บาท/คน เป็นเงิน 7,710 บาท 3.ค่าตอบแทนวิทยากรอบรมให้ความรู้ จำนวน 3 ชั่วโมง ชั่วโมง ละ 300 บาทเป็นเงิน 900 บาท 4.หมวกนิรภัย สำหรับนักเรียนชั้นอนุบาล 2 ถึงชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 จำนวน 74 ใบ ๆ ละ 280 บาท เป็นเงิน 20,720 บาท 5.หมวกนิรภัย สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2-6 จำนวน 164 ใบ ๆ ละ 220 บาท เป็นเงิน 36,080 บาท

**หมายเหตุ จากการสืบราคาหมวกกันน็อค พบว่าราคาหมวกกันน็อคใบเล็กสำหรับเด็กมีราคาสูงกว่าหมวกกันน็อคผู้ใหญ่

ระยะเวลาดำเนินงาน
15 พฤษภาคม 2568 ถึง 29 สิงหาคม 2568
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
65928.00

กิจกรรมที่ 2 กิจกรรมประเมินผลการการใช้หมวกกันน้อค

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมประเมินผลการการใช้หมวกกันน้อค
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

มีทีมสภานักเรียน จัดเวรตรวจประเมินการสวมหมวกกันน็อคเป็นประจำทุกวัน และจัดให้มีมาตรการกับนักเรียนที่ไม่สวมหมวกกันน็อค

ระยะเวลาดำเนินงาน
2 มิถุนายน 2568 ถึง 29 สิงหาคม 2568
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 65,928.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. เด็กมีกระบวนการเรียนรู้และเพิ่มทักษะป้องกันอุบัติเหตุทางถนน
2. ผู้ปกครองและเด็กมีความตระหนักในการสร้างวินัยจราจร
3. ลดการบาดเจ็บและเสียชีวิตจากอุบัติเหตุทางถนน
4. เด็กทุกคนสวมหมวกนิรภัย


>