กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.สะกอม

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการสร้างเสริมสุขภาพและลดความเสี่ยงโรคไม่ติดต่อเรื้อรังในชุมชน ปีงบประมาณ 2568

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.สะกอม

ชมรม อสม. หมู่ที่ 3 ตำบลสะกอม อำเภอจะนะ จังหวัดสงขลา

1 นางรัชฎาหมซาตำแหน่งประธาน อสม

2.นางสาริเย๊าะโต๊ะบ่าหม๊ะตำแหน่งกรรมการ

3.นางสุดโฉมบูหะเม๊าะตำแหน่งกรรมการ

4.นางสาวมยุรีหมัดโส๊ะตำแหน่งกรรมการ

5.นางสุดาหนูสงวนตำแหน่งกรรมการ

หมู่ที่ 3 ตำบลสะกอม อำเภอจะนะ จังหวัดสงขลา

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

สังคมปัจจุบันเป็นสังคมที่ต้องดิ้นรนต่อสู้ และมีการแข่งขันสูงทำให้ผู้คนลืมที่จะใส่ใจในวิถีชีวิตประจำวัน โดยเฉพาะเรื่องการกิน ต้องเผชิญหน้ากับความเสื่อมถอยของสุขภาพทางกายและใจอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ทำให้สภาพปัญหาเกี่ยวกับภาวะสุขภาพก็เกิดการเปลี่ยนแปลงไป เกิดแบบแผนการเจ็บป่วยและการเสียชีวิต ซึ่งมีการเปลี่ยนจากโรคติดต่อมาเป็นโรคไม่ติดต่อ ซึ่งโรคดังกล่าวเกิดจากพฤติกรรมสุขภาพที่ไม่เหมาะสม ตัวอย่างเช่นโรค เบาหวาน/ความดันโลหิตสูง โรคหัวใจ มะเร็ง ฯลฯ และเมื่อรู้ตัวว่าเป็นโรคเรื้อรัง (กลุ่มโรคไม่ติดต่อ) หรือกลุ่มที่รู้ว่าเป็นโรคเรื้อรังนั้นส่วนใหญ่ยังไม่สามารถควบคุมอาการและ ดูแลรักษาตนเองได้อย่างถูกต้อง ซึ่งภาวะดังกล่าว มักนำมาซึ่งภาวะทุพพลภาพในที่สุด ทำให้มีภาวะพึ่งพึ่งพึ่งพิงในการดำรงชีวิต และต้องการได้รับการดูแลจากบุคคลในครอบครัวหรือสังคมต่อไป
กลุ่มโรคกลุ่มโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง (Non-Communicable diseases) กลุ่มโรคที่ไม่ได้มีสาเหตุมาจากการติดเชื้อ ไม่ได้เกิดจากเชื้อโรค ไม่สามารถต่อได้ผ่านการสัมผัส คลุกคลี หรือ ติดต่อ ผ่านตัวนำโรค (พาหะ) หรือสารคัดหลั่งต่างๆ หากแต่เกิดจากปัจจัยต่างๆ ภายในร่างกาย ซึ่งส่วนใหญ่เป็นผลจากไลฟ์สไตล์วิธีการใช้ชีวิต ที่มีพฤติกรรมเสี่ยงอย่าง เหล้า บุหรี่ ขาดการออกกำลังกาย อาหารหวานมันเค็มจัด และมีความเครียด ซึ่งโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง จัดเป็นฆาตกรอันดับหนึ่ง ที่คร่าชีวิตประชากรโลกมากกว่าสาเหตุการตายอื่นๆ ผู้คนโดยทั่วไปมักมีความเข้าใจกันว่าโรคโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง เป็นโรคของผู้สูงอายุ แต่จากข้อมูลพบว่าประมาณ 1 ใน 4 ของการตายด้วยโรค NCDs พบว่าเป็นการเสียชีวิต ก่อนอายุ 60 ปี อาการของโรคที่เกิดขึ้นตอนสูงอายุ มักเกิดจากพฤติกรรมเสี่ยงสะสม ในช่วงวัยหนุ่มสาว เหมือนการสะสมดินระเบิดเอาไว้เรื่อยๆ มันก็ต้องระเบิดออกมา เนื่องจากสาเหตุของโรค NCDs มักเกี่ยวข้องกับการกินอยู่และวิถีชีวิต ซึ่งกลุ่มโรคไม่ติดต่อเรื้อรังนั้นสามารถป้องกันได้ เพราะสาเหตุหรือปัจจัยเสี่ยงหลักนั้น เกิดจากพฤติกรรมเสี่ยงของตัวเรานั่นเอง ซึ่งหากเราสามารถลด หรือ ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเสี่ยงเหล่านี้ได้ ก็จะเป็นการลด โอกาสเสี่ยงในการเป็นกลุ่มโรคไม่ติดต่อเรื้อรังได้
ดังนั้น ชมรม อสม. หมู่ที่ 3 ตำบลสะกอม อำเภอจะนะ จังหวัดสงขลา จึงเล็งเห็นว่าการคัดกรองภาวะเสี่ยงทางด้านสุขภาพและการกระตุ้นให้ประชาชนปรับเปลี่ยนพฤติกรรม เกิดความตระหนักในการดูแลสุขภาพ ที่ถูกต้อง เหมาะสม ส่งเสริมสุขภาพให้แข็งแรง สุขภาพจิตดี เพื่อป้องกันโรคเรื้อรังที่จะเกิดขึ้น การสร้างการเรียนรู้จะเป็นวิธีลดอัตราผู้ป่วยและผู้เสียชีวิตที่ต้นเหตุและ มีความยั่งยืนที่สุด จึงได้จัดทำโครงการสร้างเสริมสุขภาพและลดความเสี่ยงโรคไม่ติดต่อเรื้อรังในชุมชน ปีงบประมาณ 2568

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 1.เพื่อให้ประชาชนได้รับการตรวจคัดกรองความเสี่ยงด้านสุขภาพ

ประชาชนได้รับการตรวจคัดกรองความเสี่ยงด้านสุขภาพ

85.00 100.00
2 2.เพื่อให้ประชาชนเกิดความตระหนัก เฝ้าระวังโรคและป้องกันโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง

ประชาชนเกิดความตระหนัก เฝ้าระวังโรคและป้องกันโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง

85.00 100.00
3 3.เพื่อลดปัจจัยเสี่ยง ลดการเกิดโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง

ลดปัจจัยเสี่ยง ลดการเกิดโรคไม่ติดต่อเรื้อรังในประชาชนกลุ่มเสี่ยง

85.00 100.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 50
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/05/2025

กำหนดเสร็จ 30/09/2025

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 ประชุมคณะทำงานเพื่อกำหนดแนวทางในการดำเนินงาน

ชื่อกิจกรรม
ประชุมคณะทำงานเพื่อกำหนดแนวทางในการดำเนินงาน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

1.ประชุมชี้แจงแก่อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านในเขตรับผิดชอบ เพื่อกำหนดรูปแบบการดำเนินโครงการ

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 พฤษภาคม 2568 ถึง 31 พฤษภาคม 2568
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ได้รูปแบบในการดำเนินกิจกรรมโครงการ

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

กิจกรรมที่ 2 รณรงค์ให้ความรู้และตรวจคัดกรองโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง

ชื่อกิจกรรม
รณรงค์ให้ความรู้และตรวจคัดกรองโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  1. สำรวจและแจ้งกลุ่มเป้าหมายในการดำเนินงานโครงการ

  2. การชั่งน้ำหนัก วัดส่วนสูง และวัดรอบเอว พร้อมคำนวณหาค่าดัชนีมวลกาย

  3. ตรวจระดับน้ำตาลในเลือดและวัดความดันโลหิต

  4. วิเคราะห์และแปรผลข้อมูลสุขภาพ และให้ความรู้ในการดูแลสุขภาพตนเอง

ค่าใช้จ่าย

  1. เครื่องวัดความดันโลหิต 3 เครื่อง ๆ ละ 2,500 บาท เป็นเงิน 7,500.- บาท

  2. เครื่องวัดระดับน้ำตาลในเลือด จำนวน 3 เครื่อง ๆ ละ 2,050 บาท เป็นเงิน 6,150.- บาท

  3. เครื่องชั่งน้ำหนัก จำนวน 1 เครื่อง ๆ ละ 500 บาท เป็นเงิน 500.- บาท

  4. ค่าจัดทำป้ายไวนิลขนาด1.2*2.4เมตรจำนวน1ป้ายเป็นเงิน500บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 พฤษภาคม 2568 ถึง 30 มิถุนายน 2568
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ประชาชนมีความรู้และได้รับการตรวจคัดกรองโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
14650.00

กิจกรรมที่ 3 ส่งต่อผู้ที่มีความเสี่ยงเพื่อเข้ารับการดูแลและรักษาที่ถูกต้อง

ชื่อกิจกรรม
ส่งต่อผู้ที่มีความเสี่ยงเพื่อเข้ารับการดูแลและรักษาที่ถูกต้อง
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

1.ส่งต่อผู้ที่มีความเสี่ยง ติดต่อประสานงานแล้วส่งต่อมาตรวจคัดกรองซ้ำที่ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพสะกอม

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 พฤษภาคม 2568 ถึง 30 กันยายน 2568
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ผู้ที่มีความเสี่ยงได้รับการดูแลและรักษาที่ถูกต้อง

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

กิจกรรมที่ 4 ติดตามตรวจค่าระดับน้ำตาลในเลือดและวัดความดันโลหิตซ้ำในกลุ่มที่มีความเสี่ยง

ชื่อกิจกรรม
ติดตามตรวจค่าระดับน้ำตาลในเลือดและวัดความดันโลหิตซ้ำในกลุ่มที่มีความเสี่ยง
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

1.ติดตามตรวจค่าระดับน้ำตาลในเลือดและวัดความดันโลหิตซ้ำ 1 เดือน ,3 เดือน

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 พฤษภาคม 2568 ถึง 30 กันยายน 2568
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ประชาชนกลุ่มเสี่ยงได้รับการติดตามตรวจค่าระดับน้ำตาลในเลือดและวัดความดันโลหิตซ้ำ 1 เดือน ,3 เดือน

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 14,650.00 บาท

หมายเหตุ :
ทุกรายการสามารถถัวเฉลี่ยกันได้

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1.ประชาชนได้รับการตรวจคัดกรองความเสี่ยงด้านสุขภาพ

2.ประชาชนเกิดความตระหนัก เฝ้าระวังโรคและป้องกันโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง

3.ลดปัจจัยเสี่ยง ลดการเกิดโรคไม่ติดต่อเรื้อรังในชุมชน


>