2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
3. สถานการณ์
จากนโยบายการดูแลสุขภาพในกลุ่มวัยทำงานของกระทรวงสาธารณสุข ได้ให้ความสำคัญในการดูแลสุขภาพของผู้ประกอบอาชีพเกษตรกรรม เนื่องจากเป็นกลุ่มแรงงานกลุ่มใหญ่ และมีความเสี่ยงทั้งทางด้านกายภาพ ชีวภาพ สารเคมี การยศาสตร์ และความเครียดจากการทำงาน โดยมีนโยบายสนับสนุนให้มีการจัดบริการอาชีวอนามัยให้กับแรงงานในชุมชน โดยเน้นให้บริการกับผู้ประกอบอาชีพกลุ่มเกษตรกรรม ซึ่งมีความเสียงที่สำคัญของกลุ่มประกอบเกษตรกรรมคือ สารเคมีกำจัดศัตรูพืข ที่เกษตรกรมีการใช้อย่างแพร่หลายไม่ว่าจะเป็นสารเคมีกำจัดแมลง สารกำจัดวัชพืข สารกำจัดโรคพืข เป็นต้น จากที่เกษตรกรใช้สารเคมีอย่างแพร่หลายนี้ บางคนขาดความรู้ความเข้าใจในการใช้สารเคมีอย่างถูกต้อง อีกทั้งยังขาดการป้องกันตนเองที่ถูกต้อง ทำให้เกษตรกรมีโอกาสรับสัมผัสสารเคมีกำจัดศัตรูพืชมากขึ้น การตรวจคัดกรองความเสี่ยงจากการสัมผัสสารเคมีกำจัดศัตรูพืช ว่าเกษตรกรมีความเสี่ยงจากการสัมผัสอยู่ในระดับใดนั้น ผลการคัดกรองความเสี่ยงจะทำให้เกษตรกรเกิดความตระหนัก และนำไปสู่การแนะนำให้เกษตรกรปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชไม่ว่าจะเป็นการ ลด ละ เลิก การใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืช การทำเกษตรอินทรีย์ หรือการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืขอย่างถูกต้อง สามารถป้องกันตนเองได้
จากข้อมูลของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านซาไกมีประชากร 2,766 ราย ประชากรส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรกรรม ทำสวนยาง,ผลไม้ มีกลุ่มวัยทำงาน ๑,๐30 ราย จากการสำรวจโดย ชมรม อสม.รพ.สต.บ้านซาไก ในเกษตรกร จำนวน 830 ราย พบมีกลุ่มเกษตรกรทำสวนที่เกี่ยวข้องกับการใช้สารสารเคมีกำจัดศัตรูพืช จำนวน 687 ราย คิดเป็นร้อยละ 82.77 และส่วนใหญ่ยังไม่ได้เคยตรวจคัดกรองความเสี่ยงจากการสัมผัสสารเคมีจำกัดศัตรูพืช
ดังนั้น รพ.สต.บ้านซาไก ร่วมกับ ชมรม อสม.รพ.สต.บ้านซาไกจึงได้จัดทำโครงการคัดกรองความเสี่ยงจากการสัมผัสสารเคมีกำจัดศัตรูพืช ขึ้น เพื่อส่งเสริมให้เกษตรกรรู้สถานะสุขภาพตนเอง มีความรู้ ปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ลด ละ เลิก หรือการใช้สารเคมีอย่างถูกต้อง เพื่อให้มีสุขภาพที่ดีต่อไป
4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด
- บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
- ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
5. กลุ่มเป้าหมาย
6. ระยะเวลาดำเนินงาน
วันเริ่มต้น 03/03/2025
กำหนดเสร็จ 30/09/2025
7. วิธีการดำเนินงาน
- กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
- งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด
หมายเหตุ :
ทุกรายการสามารถถัวเฉลี่ยได้ตามความเหมาะสม
8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง
ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?- เกษตรกรมีความรู้ และสามารถปรับเปลี่ยนพฤติกรรม เกี่ยวกับการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชได้อย่างถูกต้อง
- เกษตรกรมีสุขภาพที่ดี ห่างไกลสารเคมีกำจัดศัตรูพืช