กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.คลองเปียะ

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการอสม.บ้านชายนา ร่วมใจต้านภัยเบาหวานความดันโลหิตสูง

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.คลองเปียะ

อสม. หมู่ที่ 10 บ้านชายนา

1.นางสาวโสพิศ เมืองหนู
2.นางปรานี หนูคง
3.นางรมย์ พรมสุข
4.นางอารีย์ แก้วทอง
5.นางวรรณา ทองนุ้ย

หมู่ที่ 10 บ้านชายนา

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานผู้สูงอายุ , แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ร้อยละของผู้สูงอายุทีมีความเสี่ยงเป็นโรคเบาหวาน

 

50.00
2 ร้อยละของประชาชนที่มีภาวะเสี่ยงในการเป็นโรคความดันโลหิตสูง

 

60.00
3 ร้อยละของผู้สูงอายุที่มีความเสี่ยงเป็นโรคความดันโลหิตสูง

 

50.00
4 ร้อยละของประชาชนที่มีภาวะเสี่ยงในการเป็นโรคเบาหวาน

 

50.00
5 ร้อยละของประชาชนที่มีภาวะเสี่ยงในการเป็นอ้วน

 

60.00

หลักการและเหตุผล (ระบุที่มาของการทำโครงการ)
โรคความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวานเป็นโรคสำคัญที่คุกคามต่อสุขภาพของประชาชนวัยกลางคนและวัยสูงอายุเป็นอย่างมาก เนื่องจากเป็นโรคเรื้อรัง รักษาไม่หายขาด ทั้งยังเป็นโรคที่สัมพันธ์กับวัยที่เพิ่มมาก และการมีพฤติกรรมสุขภาพที่ไม่เหมาะสม เช่น การขาดการออกกำลังกาย การรับประทานอาหารที่มีไขมัน รสหวานจัด และรสเค็ม การขาดการจัดการกับความเครียด เป็นต้น หากป่วยเป็นโรคความดันโลหิตสูงไม่สามารถควบคุมระดับความดันโลหิตได้ จะมีโอกาสเกิดเส้นเลือดฝอยในสมองแตก ไตวาย และที่สำคัญคือเกิดโรคเรื้อรังซ้ำซ้อนได้แก่ อัมพาต และเสียชีวิตในที่สุด และหากป่วยเป็นโรคเบาหวานไม่สามารถควบคุมระดับน้ำตาลในกระแสเลือดได้ จะทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนเกิดการคั่งของกรดในเลือดสูง หลอดเลือดแดงแข็ง ความพิการต่อจอประสาทตา โรคไต แผลเนื้อตายที่เท้าและเกิดการติดเชื้อได้ง่าย ดังนั้น การดูแลตนเองในกลุ่มที่เจ็บป่วยด้วยโรคความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวานจึงเป็นสิ่งสำคัญ เพื่อควบคุมระดับความดันโลหิตและระดับ น้ำตาลในเลือด ป้องกันการดำเนินของโรคที่รุนแรงมากขึ้นและสามารถดำรงชีวิตอย่างปกติสุข ต่อไป ดังนั้นการรับรู้ความรุนแรงของโรคความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวาน การรับรู้โอกาสเสี่ยงในการเกิดภาวะแทรกซ้อน และการมีความคาดหวังในประสิทธิผลของการตอบสนองจากการปฏิบัติตัวของตนเอง จึงเป็นปัจจัยที่สำคัญของการเกิดพฤติกรรมการดูแลตนเองที่เหมาะสม
สำหรับสถานการณ์ผู้ป่วยด้วยโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูงในพื้นที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลช่องเขา มีผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง 263คน ผู้ป่วยโรคเบาหวาน มีผู้ป่วย 100 คน ปีงบประมาณ 2567 จำนวนกลุ่มเป้าหมายที่ต้องคัดกรองทั้งหมด 602 คน ได้รับการตรวจคัดกรองโรคความดันโลหิตสูง คัดกรองได้ 573 คน คิดเป็นร้อยละ 95.18 พบกลุ่มปกติ 500 คน คิดเป็นร้อยละ 83.05 กลุ่มเสี่ยงความดัน 37 คน เป็นร้อยละ 61.46 กลุ่มสงสัยป่วย 12 คน คิดเป็นร้อยละ 1.99 กลุ่มป่วยส่งพบแพทย์ ได้รับการวินิจฉัย จำนวน 2 คน คัดกรองโรคเบาหวานจำนวนกลุ่มเป้าหมายทั้งหมด 768 คน คัดกรองได้ 732 คน คิดเป็นร้อยละ 95.31 พบกลุ่มปกติ 728 คน คิดเป็นร้อยละ 94.79 กลุ่มเสี่ยงเบาหวาน 4 คน เป็นร้อยละ 0.54 กลุ่มสงสัยป่วย 4 คน คิดเป็นร้อยละ 0.54 กลุ่มป่วยส่งพบแพทย์ ได้รับการวินิจฉัย จำนวน 1 คน ฉะนั้นต้องได้รับการวัดความดันโลหิตหรือตรวจหาน้ำตาลในเลือด อย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง ทางชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขหมู่ที่ 8 ได้ตระหนักถึงความสำคัญและเป็นกำลังหลักในการคัดกรองเบาหวานความดัน จึงได้จัดทำโครงการอสม.บ้านชายนา ร่วมใจต้านภัยโรคเบาหวานโรคความดันโลหิตสูง ขึ้น เพื่อสร้างความตระหนักให้ประชากรกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง ได้ดูแลสุขภาพของตนเอง รับรู้และใส่ใจด้านสุขภาพ มีการเข้าถึงข้อมูลทางสุขภาพ ลดภาระค่าใช้จ่ายในการดูแลรักษา และภาระต่าง ๆ ต่อครอบครัวและสังคมทั้งทางตรงและทางอ้อม

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี

1. เพื่อให้ความรู้แก่อสม.บ้านชายนาและกลุ่มเสี่ยง ในเรื่อง 3อ 2ส.เพิ่มขึ้น
2. เพื่อให้กลุ่มเสี่ยงได้รับการติดตามวัดความดันโลหิตครอบคลุมร้อยละ 100

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน 50
กลุ่มผู้สูงอายุ 50
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 100
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 05/02/2025

กำหนดเสร็จ 30/09/2025

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 กิจกรรมประชาสัมพันธ์และเชิญชวนอสม.บ้านชายนาและกลุ่มเสี่ยง เข้าร่วมกิจกรรม

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมประชาสัมพันธ์และเชิญชวนอสม.บ้านชายนาและกลุ่มเสี่ยง เข้าร่วมกิจกรรม
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

– ค่าป้ายไวนิลโครงการขนาด 1.2 × 2 เมตร เป็นเงิน  360 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
5 กุมภาพันธ์ 2568 ถึง 30 กันยายน 2568
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

อสม.บ้านชายนาและกลุ่มเสี่ยง เข้าร่วมกิจกรรม

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
360.00

กิจกรรมที่ 2 กิจกรรมจัดประชุมให้ความรู้อสม.บ้านชายนา ในการป้องกันโรคความดันโลหิตสูง

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมจัดประชุมให้ความรู้อสม.บ้านชายนา ในการป้องกันโรคความดันโลหิตสูง
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • ค่าวิทยากร 600 บาท × 2 ชั่วโมง = 1,200 บาท
  • ค่าอาหารว่าง 30 ชุดๆละ 30 บาท เป็นเงิน 900 บาท
  • ค่าเอกสาร จำนวน 30 ชุดๆละ 50 บาท เป็นเงิน 1,500 บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
5 กุมภาพันธ์ 2568 ถึง 30 กันยายน 2568
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

อสม.บ้านชายนามีความรู้ ในการป้องกันโรคความดันโลหิตสูง

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
3600.00

กิจกรรมที่ 3 กิจกรรมฝึกปฏิบัติทักษะ - การวัดความดันโลหิต - เจาะน้ำตาลปลายนิ้ว - การวัดรอบเอว - คำนวณ BMI

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมฝึกปฏิบัติทักษะ - การวัดความดันโลหิต - เจาะน้ำตาลปลายนิ้ว - การวัดรอบเอว - คำนวณ BMI
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • ค่าวัสดุทางการแพทย์เครื่องวัดความดัน 2 เครื่อง × 2,000 บาท
    = 4,000 บาท
  • ค่าเครื่องเจาะน้ำตาลปลายนิ้ว 1,600 บาท × 2 เครื่อง
    = 3,200 บาท
  • ค่าเครื่องชั่งน้ำหนัก 1,000 บาท × 2 เครื่อง = 2,000 บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
5 กุมภาพันธ์ 2568 ถึง 30 กันยายน 2568
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
  1. อสม.บ้านชายนาและกลุ่มเสี่ยง มีความรู้ความสามารถในการดูแลสุขภาพ
  2. กลุ่มเสี่ยงได้รับการติดตามวัดความดันทุกรายที่เป็นเป้าหมายเสี่ยง
จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
9200.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 13,160.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1.อสม.บ้านชายนามีความรู้และทักษะในการตรวจวัดความดันโลหิต เจาะน้ำตาลปลายนิ้ว
2.อสม.บ้านชายนา มีความรู้เรื่อง 3อ2ส
3.กลุ่มเสี่ยงความดันโลหิตสูงได้รับการติดตามและส่งต่อ


>