2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
3. สถานการณ์
สถานการณ์ปัจจุบันมีผู้สูงอายุในประเทศไทยถึง 10 ล้านคน หรือคิดเป็น 16% ของประชากรทั้งหมด และมีการคาดการณ์ว่า ในปี 2568 ประเทศไทยจะเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุอย่างสมบูรณ์ ปัญหาด้านสุขภาพของประชาชนที่จะเกิดจากการเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุที่ต้องเผชิญ คือ ความเจ็บป่วยและความบกพร่องในการทำงานของร่างกายในทุก ๆ ด้าน รวมถึงปัญหาที่เกิดขึ้นกับสภาพจิตใจ และมีปัจจัยเหนี่ยวนำที่ก่อให้เกิดโรคไม่ติดต่อเรื้อรังร่วมกันคือ พฤติกรรมสุขภาพทั้งในเรื่องของพฤติกรรมการบริโภคผัก การลดการบริโภค หวาน มัน เค็ม การเคลื่อนไหวออกแรงที่เพียงพอ การนอนหลับอย่างมีคุณภาพ และการดูแลสุขภาพช่องปาก จากการดำเนินคัดกรองภาวะสุขภาพในปีงบประมาณ 2567 โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านคลองใหญ่ มีการคัดกรองความเสี่ยงโรคเบาหวานจาก ประชาชนกลุ่มเป้าหมายอายุ 35 ปีขึ้นไป ได้รับการคัดกรองร้อยละ 97.29 (เป้าหมายร้อยละ 90) และพบประชากรกลุ่มภาวะก่อนเบาหวาน ในพื้นที่รับผิดชอบร้อยละ 30.61 และ คัดกรองความเสี่ยงโรคความดันโลหิตสูงจาก ประชาชนกลุ่มเป้าหมายอายุ 35 ปีขึ้นไป ได้รับการคัดกรองร้อยละ 96.92 (เป้าหมายร้อยละ 90) และพบประชากรกลุ่มเสี่ยงโรคความดันโลหิตสูงในพื้นที่รับผิดชอบร้อยละ 26.69 และ ประเมินดัชนีมวลกาย ประชากรกลุ่มวัยทำงาน กลุ่มอายุ 19 - 59 ปี พบว่าดัชนีมวยกายปกติ ร้อยละ 48.15 วัยผู้สูงอายุ อายุ 60 ปีขึ้นไปพบว่าดัชนีมวยกายปกติ ร้อยละ 38.62พบว่าอัตราป่วยรายใหม่ของโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง
ดังนั้น การดูแลสุขภาพประชาชนวัยทำงานจึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่ควรเริ่มต้นดูแลสุขภาพตั้งแต่วัยก่อนเข้าผู้สูงอายุ เนื่องจากเมื่อเข้าสู่วัยผู้สูงอายุภาวะร่างกายมีความเสื่อมถอยตามอายุ มีภูมิต้านทานโรคต่ำลง มีโอกาสเจ็บป่วยได้ง่าย การที่จะดูแลสุขภาพเมื่อเสื่อมแล้วเป็นการยากต่อการฟื้นฟูสุขภาพให้ดีดังเดิม เพื่อป้องกันและรับมือแก้ไขปัญหาดังกล่าว โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านคลองใหญ่ จึงได้ร่วมกันดำเนินการ พัฒนาระบบสถานีสุขภาพต้นแบบ ปีงบประมาณ 2568 เพื่อเตรียมรองรับประชากรไทยเข้าสู่สังคมสูงวัย เพื่อให้ประชากรในพื้นที่เข้าถึงระบบการคัดกรองได้เพิ่มขึ้น และสร้างความรอบรู้ด้านสุขภาพ เพื่อเตรียมรองรับประชากรไทยเข้าสู่สังคม เพื่อให้ประชาชนรับรู้ความเสี่ยง และปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ ให้ประชาชนมีสมุดสุขภาพประจำตัว มีความพร้อมในการเข้าถึง เข้าใจ ตัดสินใจ สามารถจัดการสุขภาพของตนเอง และก้าวเข้าสู่ผู้สูงวัยอย่างมีคุณภาพมีสุขภาวะที่ดี จนกระทั่งสามารถบอกต่อผู้อื่นที่อยู่ในชุมชนได้ รับรองสังคมผู้สูงอายุที่เหมาะสมกับสถานการณ์และทันต่อการเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้นในอนาคตอย่างยั่งยืน
4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด
- บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
- ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
5. กลุ่มเป้าหมาย
6. ระยะเวลาดำเนินงาน
วันเริ่มต้น 17/02/2025
กำหนดเสร็จ 29/08/2025
7. วิธีการดำเนินงาน
- กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
- งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด
หมายเหตุ :
8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง
ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?1.ประชาชนในพื้นที่เข้าถึงบริการตรวจสุขภาพได้มากขึ้น สะดวกยิ่งขึ้น
2.ประชาชนมีความพึงพอใจในการใช้บริการจุด สถานีสุขภาพ
3.บุคลากรสาธารณสุขได้ใช้ประโยชน์ระบบที่พัฒนาเพื่อเฝ้าระวังและป้องกันปัจจัยที่ส่งผลต่อสุขภาพ