กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลคลองใหญ่

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ ลดโรค ลดเสี่ยง "กินถูกหลัก รักษ์ออกกำลังกาย"

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลคลองใหญ่

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านคลองใหญ่

หมู้ที่ 1 , 2 และ 9 ตำบลคลองใหญ่

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานโรคเรื้อรัง , แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

สถานการณ์โรคไม่ติดต่อเรื้อรัง ของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านคลองใหญ่ มีผู้ป่วยด้วยโรคเบาหวาน จำนวน 72 คน ร้อยละ 8.34ป่วยด้วยโรคคามดันโลหิตสูง จำนวน 150 คน ร้อยละ 17.38 จากการคัดกรองโรคความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวานของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านในเขต รับผิดชอบของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านคลองใหญ่ ตำบลลคลองใหญ่ อำเภอตะโหมด จังหวัดพัทลุง เมื่อปีงบประมาณ 2567 ประชากรกลุ่มอายุ 35 ปีขึ้นไป ปี 2567 มีจำนวน 325 คน ได้รับการคัดกรองความดันโลหิตสูง 315 คน พบเสี่ยง (ระดับความดัน โลหิต SBP 130 - 139 mmHg หรือ DBP 84 - 89 mmHg) จำนวน 10 คน คิดเป็นร้อยละ 3.17 ของกลุ่มที่ได้รับ การคัดกรอง พบเสี่ยงสูง (ระดับความดันโลหิต SBP>=140 mmHg หรือ DBP >=90 mmHg) จำนวน 43 คน คิดเป็น ร้อยละ 13.65 ของกลุ่มที่ได้รับการคัดกรอง และรับการคัดกรองโรคเบาหวาน 403 คนพบเสียง(ระดับน้ำตาลใน เลือด 101 - 125 mg/dl)จำนวน 75 คน คิดเป็นร้อยละ 18.61 ของกลุ่มที่ได้รับการคัดกรอง พบเสี่ยงสูง (ระดับน้ำตาล ในเลือด ≥ 126 mg/dl) จำนวน 5 คน คิดเป็นร้อยละ 1.24 ของกลุ่มที่ได้รับการคัดกรอง จากข้อมูลการสำรวจ ความรู้ด้านสุขภาพ(HL)และพฤติกรรมสุขภาพ(HB) เช่นพฤติกรรมการบริโภคอาหารและการออกกำลังกายของประชาชน อายุ 35 ปีขึ้นไป ในเขตพื้นที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านคลองใหญ่ พบว่า ประชาชนมีพฤติกรรมการบริโภคที่ไม่เหมาะสม ชอบ รสหวาน มัน เค็ม และขาดการออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอและต่อเนื่อง จึงต้องมีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของกลุ่มเสี่ยงดังกล่าวโดยการออกกำลังกาย และรับประทานอาหารที่ไม่เสี่ยงต่อสุขภาพ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านคลองใหญ่ได้ตระหนักถึงการเปิดโอกาสในการสร้างสุขภาวะของประชาชน ในทุกกลุ่มเป้าหมาย จึงได้จัดทำโครงการหมู่บ้านปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ ลดโรค ลดเสี่ยง "กินถูกหลัก รักษ์ออกกำลังกาย" โดยดำเนินการในหมู่ที่ 1 ,2 และ หมู่ที่ 9 ตำบลคลองใหญ่ อำเภอตะโหมด จังหวัดพัทลุง โดยมีเป้าหมาย สำคัญ คือการสร้างสุขภาพที่ดีให้กับประชาชนทุกกลุ่ม เปิดโอกาสแลกเปลี่ยนวิถีด้านสุขภาวะและพฤติกรรมสุขภาพที่ดี ส่งเสริมให้ประชาชนมีความรู้ ความเข้าใจ และปฏิบัติตัวอย่างเหมาะสมในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเสี่ยงต่อการเกิดโรค ไม่ติดต่อเรื้อรัง ลดปัญหาค่าใช้จ่ายด้านสุขภาพในระยะยาวและพัฒนาหมู่บ้านปรับเปลี่ยนพฤติกรรมลดโรค ส่งผลต่อการมี สุขภาพดีถ้วนหน้าอย่างยั่งยืนต่อไป

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้กลุ่มเป้าหมายมีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพลดโรคด้วย 3อ. 2ส. อย่างถูกต้องและเหมาะสม

กลุ่มเป้าหมายมีความรู้เรื่องการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพเพิ่มขึ้นร้อยละ 70

0.00
2 เพื่อให้ประชาชนกลุ่มเป้าหมายเกิดการเปลี่ยนพฤติกรรมการออกกำลังกายสม่ำเสมออย่างน้อยวันละ 30 นาที 3-5 วัน/สัปดาห์

ประชาชนกลุ่มเป้าหมายเมีการออกกำลังกายสม่ำเสมออย่างน้อยวันละ 30 นาที 3-5 วัน/สัปดาห์ เพิ่มขึ้นร้อยละ 60

0.00
3 กลุ่มเป้าหมายมีความรู้ด้านสุขภาพ(HL)และพฤติกรรมสุขภาพ (HB)ที่ดี

ร้อยละ 70 กลุ่มเป้าหมายมีพฤติกรรมสุขภาพและความรอบรู้ด้านสุขภาพที่ดีขึ้น

0.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง 20
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 30
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น : 01/03/2025

กำหนดเสร็จ : 15/09/2025

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 ประชุม

ชื่อกิจกรรม
ประชุม
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

จัดประชุมเตรียมความพร้อมทีมดำเนินงาน(อสม. ) จำนวน 28 คน เพื่่อทำความเข้าใจในการดำเนินการเก็บแบบสำรวจพฤติกรรมสุขภาพและความรอบรู้ด้านสุขภาพ ในชุมชน
- ค่าอาหารว่าง 25 บาท x 28 คน =700 บาท.
- ค่าแบบสำรวจ HB/HL 4 บาท.x 50 ชุด X 2 หมู่บ้าน = 400 บ. รวมเป็น 1,100 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มีนาคม 2568 ถึง 20 มีนาคม 2568
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

•  มีการประชุมวางแผนการดำเนินงานร่วมกัน อย่างน้อย 1 ครั้ง •  ได้ปัญหาสุขภาพ/พฤติกรรมสุขภาพที่ต้องแก้ปัญหา จากผลการสำรวจ

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
1100.00

กิจกรรมที่ 2 อบรมให้ความรู้้

ชื่อกิจกรรม
อบรมให้ความรู้้
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

จัดกิจกรรมส่งเสริมพฤติกรรม และความรอบรู้ด้านสุขภาพ ป้องกันภาวะเสี่ยงจากโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง โดย 1. จัดอบรมกลุ่มเสี่ยง จำนวน 30 คน ค่าวิทยากร 600 บาทx 4 ชม. x 1 วัน = 2,400 บ. - ค่าอาหารกลางวัน
จำนวน 30 คน X 70 บาท.x 1 วัน น = 2,100 บ. - ค่าอาหารว่างพร้อมเครื่องดื่ม จำนวน 30 คน X 25 บาท.x 2 มื้อ = 1,500 บ.รวมเป็นเงิน 6,000 บาท 2.จัดอบรมกลุ่มป่วยโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูงที่ไม่สามารควบคุมโรคได้ จำนวน 20 คน ค่าวิทยากร 600 บาทx 4 ชม. x 1 วัน = 2,400 บ. - ค่าอาหารกลางวัน จำนวน 20 คน X 70 บาท.x 1 วัน น = 1,400 บ. - ค่าอาหารว่างพร้อมเครื่องดื่ม จำนวน 20 คน X 25 บาท.x 2 มื้อ = 1,000 บ.รวมเป็นเงิน 4,800 บาท รวมทั้งสิ้น 10,800 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 เมษายน 2568 ถึง 30 เมษายน 2568
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

กลุ่มเสี่ยงสูงโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง เข้าร่วม ร้อยละ 80 กลุ่มป่วยโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูงควบคุมไม่ได้ ร้อยละ 80

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
10800.00

กิจกรรมที่ 3 ประเมินผล ถอดบทเรียนหลังการดำเนินงาน

ชื่อกิจกรรม
ประเมินผล ถอดบทเรียนหลังการดำเนินงาน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ประเมินผลความรอบรู้และพฤติกรรมด้านสุขภาพหลังจัดกิจกรรม
- ค่าแบบสำรวจ HB/HL 4บ.x 50 ชุด x 2 หมู่บ้าน = 400 บ.
- ประชุมสรุปผลหลังการดำเนินงาน ถอดบทเรียน และเฝ้าระวังพฤติกรรมสุขภาพ จำนวน 50  คน - ค่าอาหารว่างพร้อมเครื่องดื่ม จำนวน 50 คน X 25 บาท.x 1 มื้อ = 1,250 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
15 กรกฎาคม 2568 ถึง 15 สิงหาคม 2568
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ได้ข้อมูลHB/HL ที่ยังไม่ถูกต้องนำข้อมูลไปปรับกิจกรรม มีผลการประเมินเปรียบเทียบก่อน-หลัง

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
1650.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 13,550.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1.กลุ่มเป้าหมายมีความรู้เพิ่มขึ้นในระดับดี ไม่น้อยกว่า ร้อยละ 90
2.กลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูงสามารถปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพได้ ลดความเสี่ยงต่อการเป็นโรค
3.กลุ่มเป้าหมายมีการออกกำลังกายสม่ำเสมออย่างน้อยวันละ30 นาที 3-5 วัน/สัปดาห์ เพิ่มขึ้นร้อยละ
4.ประชาชนมีความตระหนักและมีส่วนร่วมในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมร้อยละ 50


>