กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลคลองทรายขาว

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการจัดตั้งสถานีสุขภาพดิจิทัล Digital Health Station

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลคลองทรายขาว

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านท่าเหนาะ

หมู่ที่ 3,5,6 ตำบลคลองทรายขาว อำเภอกงหรา จังหวัดพัทลุง

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานโรคเรื้อรัง

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ร้อยละของประชาชนที่มีความเสี่ยงเป็นโรคเบาหวาน

 

60.00
2 ร้อยละประชาชนที่มีความเสี่ยงเป็นโรคความดันโลหิตสูง

 

60.00
3 ร้อยละประชาชนที่มีความเสี่ยงเป็นโรคหลอดเลือดสมอง(CVA)

 

60.00

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 ประชาชนในหมู่บ้าน เข้าถึงการคัดกรองสุขภาพเบื้องต้นเพิ่มขึ้น

ประชาชนในหมู่บ้าน เข้าถึงการคัดกรองสุขภาพเบื้องต้น มากกว่าร้อยละ 60

50.00 60.00
2 ประชาชนในหมู่บ้านที่ใช้บริการสถานีสุขภาพดิจิทัลสุขภาพดีขึ้น

ร้อยละของผู้ที่มีความเสี่ยงด้านสุขภาพลดลงและได้รับการส่งต่อทุกราย

50.00 60.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 150
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น : 04/04/2025

กำหนดเสร็จ : 30/09/2025

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 ประชุมแต่งตั้งคณะทำงาน

ชื่อกิจกรรม
ประชุมแต่งตั้งคณะทำงาน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ประชุมแต่งตั้งคณะทำงานในการจัดตั้งสถานีสุขภาพดิจิทัล Digital Health Station ในแต่ละหมู่บ้าน
- ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่มสำหรับผู้เข้าร่วมประชุม จำนวน 90 คนๆละ 1 มื้อๆละ 25 บาท เป็นเงิน 2,250 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
23 เมษายน 2568 ถึง 23 เมษายน 2568
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

คณะทำงานเข้าใจหลักการและวัตถุประสงค์ของการจัดตั้งสถานีสุขภาพดิจิทัล Digital Health Station

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
2250.00

กิจกรรมที่ 2 จัดหาสถานที่ เครื่องมือ อุปกรณ์พื้นฐาน

ชื่อกิจกรรม
จัดหาสถานที่ เครื่องมือ อุปกรณ์พื้นฐาน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

จัดหาสถานที่ เครื่องมือและมีอุปกรณ์พื้นฐานที่สำคัญในการจัดตั้งสถานีสุขภาพดิจิทัล Digital Health Station เช่น เครื่องวัดความดัน เครื่องชั่งน้ำหนัก สายวัดรอบเอว ป้ายแสดงการแปลผลค่าความดันโลหิต ค่าระดับน้ำตาลในเลือด ค่าน้ำหนักที่ควรเป็น สมุดบันทึกการใช้บริการ และคำแนะนำที่ประชาชนเข้าใจง่าย
- ค่าเครื่องวัดความดันโลหิต จำนวน 15 เครื่องๆละ 1,800 บาท เป็นเงิน 27,000 บาท
- เครื่องชั่งน้ำหนัก จำนวน 3 เครื่องๆละ 1,200 บาท เป็นเงิน 3,600 บาท
- สายวัดรอบเอว จำนวน 12 เส้นๆละ 10 บาท เป็นเงิน 120 บาท
- ค่าจัดทำสื่อประชาสัมพันธ์เป็นเงิน 1,500 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
25 เมษายน 2568 ถึง 25 เมษายน 2568
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

สถานีสุขภาพดิจิทัล Digital Health Station ของแต่ละหมู่บ้าน มีสถานที่ เครื่องมือ อุปกรณ์พื้นฐาน พร้อมใช้งาน

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
32220.00

กิจกรรมที่ 3 พัฒนาศักยภาพแกนนำสุขภาพ ประชาชน ผู้ใช้บริการ สถานีสุขภาพดิจิทัล Digital Health Station

ชื่อกิจกรรม
พัฒนาศักยภาพแกนนำสุขภาพ ประชาชน ผู้ใช้บริการ สถานีสุขภาพดิจิทัล Digital Health Station
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

พัฒนาศักยภาพแกนนำสุขภาพ ประชาชน ผู้ใช้บริการ สถานีสุขภาพดิจิทัล Digital Health Station ให้สามารถใช้อุปกรณ์ การตรวจคัดกรองได้ถูกต้อง เพื่อเสริมสร้างความรอบรู้ด้านสุขภาพลดการป่วยจากโรคไม่ติดต่อ
-ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่มสำหรับผู้เข้ารับการอบรมและวิทยากร จำนวน 62 คนๆละ 2 มื้อๆละ 25 บาท เป็นเงิน 3,100 บาท
-ค่าอาหารกลางวัน สำหรับผู้เข้ารับการอบรมและวิทยากรผู้เข้ารับการอบรม จำนวน 62 คนๆละ 1 มื้อๆละ 60 บาทเป็นเงิน 3,720 บาท
- ค่าสมนาคุณวิทยากร จำนวน 2 คนๆละ 2 ชั่วโมงๆละ 600 บาท เป็นเงิน 2,400 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
29 เมษายน 2568 ถึง 29 เมษายน 2568
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ประชาชน ผู้ใช้บริการ สถานีสุขภาพดิจิทัล Digital Health Station สามารถใช้เครื่องมือ อุปกรณ์ในการตรวจคัดกรองสุขภาพเบื้องต้นได้อย่างถูกต้อง

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
9220.00

กิจกรรมที่ 4 คัดกรองสุขภาพเบื้องต้น

ชื่อกิจกรรม
คัดกรองสุขภาพเบื้องต้น
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ให้บริการแก่ประชาชนในพื้นที่ คัดกรองสุขภาพเบื้องต้น ประกอบด้วย ดัชนีมวลกาย, รอบเอว และวัดระดับความดันโลหิต คัดกรองปัจจัยเสี่ยง การสูบบุหรี่ การดื่มสุรา และประเมินสุขภาพจิต รวมถึงการตรวจระดับน้ำตาลในเลือด

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 พฤษภาคม 2568 ถึง 30 กันยายน 2568
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ประชาชนในพื้นที่ ได้รับการคัดกรองเบื้องต้นด้วยตนเอง และลดจำนวนผู้ป่วยโรคเรื้อรังลงได้

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

กิจกรรมที่ 5 ติดตามกลุ่มเสี่ยง

ชื่อกิจกรรม
ติดตามกลุ่มเสี่ยง
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ติดตามกลุ่มเสี่ยง และให้คำแนะนำในการจัดการความเสี่ยงสุขภาพ

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 พฤษภาคม 2568 ถึง 30 กันยายน 2568
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

กลุ่มเสี่ยงได้รับการติดตาม และใด้รับคำแนะนำในการจัดการความเสี่ยงสุขภาพ

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

กิจกรรมที่ 6 ประเมินผลโครงการ

ชื่อกิจกรรม
ประเมินผลโครงการ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ประเมินผลโครงการ

ระยะเวลาดำเนินงาน
15 กันยายน 2568 ถึง 19 กันยายน 2568
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

มีสรุปและประเมินผลโครงการ

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 43,690.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1.ประชาชนในหมู่บ้าน ได้รับการคัดกรองสุขภาพเบื้องต้นมากขึ้น
2.ประชาชนในหมู่บ้านที่ใช้บริการสถานีสุขภาพดิจิตัลมีสุขภาพดีขึ้น
3.ผู้ที่มีความเสี่ยงด้านสุขภาพได้รับการส่งต่อและเข้าสู่ระบบการรักษาทุกราย
4.อัตราป่วย/ตายด้วยโรคไม่ติดต่อเรื้อรังลดลง


>