กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลคลองใหญ่

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการพัฒนาระบบสุขภาพต้นแบบ (Health Station) ชุมชนบ้านท่าเชียด

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลคลองใหญ่

ชมรม อสม. รพ.สต.บ้านท่าเชียด

1.) นายไหมสาเหราะ เหล็มรุย
2.) นายปราโมทย์ มาเอียด
3.) นายนิรันดร์ บุญรัตน์
4.) นายสุพัฒน์ ชูสุวรรณ
5.) นางดรุณี ขุนนุรักษ์

หมู่ที่ 3 ชุมชนบ้านท่าเชียด และ หมู่ที่ 10 ชุมชนบ้านทุ่งหนักยอ

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานกิจกรรมทางกาย

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ร้อยละของการใช้ประโยชน์ของพื้นที่สาธารณะในการมีกิจกรรมทางกายของคนในชุมชน

 

90.00

โรคไม่ติดต่อเป็นสาเหตุการเสียชีวิต 2 ใน 3 ของประชากรไทย ส่งผลต่อ ทั้งต้านเศรษฐกิจและการพัฒนาประเทศอีกทั้งมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นในช่วงสองทศวรรษ ที่ผ่านมา ซึ่งมีสาเหตุจากปัจจัยหลายด้านตั้งแต่ การจัดบริการคัดกรองไม่ทั่วถึงและประชาชนขาดโอกาสในการเข้าถึงบริการและองค์ความรู้ในการจัดการตนเอง ระหว่างสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคไวรัสโควิด - ๑๙ กระทรวงสาธารณสุข ได้มีนโยบายลดความแออัดในสถานพยาบาล ทำให้เกิดนวัตกรรมการให้บริการคัดกรองและติดตามภาวะความดันและน้ำตาลในเลือดนอกสถานพยาบาล มีการบันทึกข้อมูลสุขภาพของประชาชน และส่งต่อข้อมูลกับสถานพยาบาล โดยมีสถานที่ตั้งให้บริการอยู่ในชุมชน มีชื่อเรียกว่า สถานีสุขภาพติจิทัล (Digital Health Station) ซึ่งหมายถึง สถานที่สำหรับ ให้บริการตรวจสุขภาพด้วยตนเองของประชาชนทุกกลุ่มวัย ประชาชนสามารถเข้าถึงบริการได้ตลอดเวลาเมื่อมีความต้องการตรวจเช็คสุขภาพของตนเอง หรือเมื่อแพทย์ต้องการติดตามภาวะสุขภาพของผู้ป่วยโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านท่าเชียดจึงมีความต้องการจะช่วยให้ประชาชนทั้งกลุ่มปกติ และกลุ่มป่วยสามารถเข้าถึงบริการ การตรวจเฝ้าระวังทางสุขภาพได้สะดวกขึ้น และลดอัตราการป่วย การเสียชีวิตจากโรคไม่ติดต่อ เรื้อรังลงได้ จึงได้เขียนโครงการจัดตั้งสถานีสุขภาพในชุมชน ( Health Station) ขึ้น ในพื้นที่เขตบริการของ รพ.สต.บ้านท่าเชียด โดยจะจัดตั้งทั้งหมดจำนวน 2 จุดบริการ คือ ชุมชน หมู่ที่ 3 และ หมู่ที่ 10 ต.คลองใหญ่ กระจายโดยทั่วถึง เพื่อความสะดวกในการเข้าถึงของประชาชน

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อจัดตั้งจุดบริการตรวจเช็คสุขภาพด้วยตนเองในชุมชน ( Health station) สำหรับประชาชนในเขตพื้นที่บริการของ รพ.สต.บ้านท่าเชียด

ประชาชนในเขตพื้นที่บริการของ รพ.สต.บ้านท่าเชียดได้ตรวจเช็คสุขภาพด้วยตนเอง

90.00 90.00
2 เพื่อให้ประชาชนสามารถเข้าถึงการตรวจสุขภาพเบื้องต้น เช่น การวัดความดันโลหิต การเจาะเลือดตรวจน้ำตาลปลายนิ้ว การชั่งน้ำหนัก วัดส่วนสูง การวัดรอบเอว

ประชาชนสามารถเข้าถึงการตรวจสุขภาพเบื้องต้น เช่น การวัดความดันโลหิต การเจาะเลือดตรวจน้ำตาลปลายนิ้ว การชั่งน้ำหนัก วัดส่วนสูง การวัดรอบเอว

90.00 90.00
3 เพื่อให้ผู้ป่วยที่แพทย์ต้องติดตาม ความดันโลหิตและระดับน้ำตาลในเลือด สามารถเข้าถึงบริการได้ อย่างสะดวกมากยิ่งขึ้น

ประชาชนสามารถเข้าถึงการตรวจสุขภาพเบื้องต้น เช่น การวัดความดันโลหิต การเจาะเลือดตรวจน้ำตาลปลายนิ้ว การชั่งน้ำหนัก วัดส่วนสูง การวัดรอบเอว

90.00 90.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 700
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/03/2025

กำหนดเสร็จ 30/09/2025

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 ดำเนินการจัดตั้ง (Health Station) หมู่ที่ 3 บ้านท่าเชียด และ หมู่ที่ 10 บ้านทุ่งหนักยอ

ชื่อกิจกรรม
ดำเนินการจัดตั้ง (Health Station) หมู่ที่ 3 บ้านท่าเชียด และ หมู่ที่ 10 บ้านทุ่งหนักยอ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

1.) ขั้นเตรียมการ 1.1) ประชุมคณะทำงาน เพื่อพิจารณาหาแนวทางและวางแผนการดำเนิน 1.2) เขียนโครงการและเสนอโครงการเพื่อขออนุมัติ 2.) ขั้นดำเนินการ 2.1) ประชุมคณะทำงาน และร่วมจัดหาสถานที่ เครื่องมือ และมีอุปกรณ์พื้นฐาน ที่จำเป็นต้องใช้ในการดำเนินงาน 2.2) จัดหาวัสดุ อุปกรณ์ 2.3) อบรมพัฒนาศักยภาพของแกนนำ อสม. ให้สามารถใช้อุปกรณ์ และให้คำแนะนำแก่ประชาชนได้อย่างถูกต้อง 2.4) ประชาสัมพันธ์การเข้าใช้จุดบริการให้ประชาชนรับทราบ ผ่านสื่อต่างๆ 2.5) ให้บริการคัดกรองสุขภาพเบื้องตันแก่ประชาชนในพื้นที่ 2.6) ติดตามกลุ่มเสี่ยง กลุ่มป่วยให้การแนะนำ และรักษาที่เหมาะสม 3.) ขั้นประเมินผล 3.1) สรุปปัญหาและแนวทางการแก้ไข 3.2) สรุปผลการปฏิบัติงานโครงการ และประเมินผลโครงการ

  • เครื่องวัดความดันโลหิต จำนวน2เครื่อง ๆ ละ3,500บาท เป็นเงิน7,000.-บาท
  • ป้ายไวนิลโครงการ Health Stationขนาด 50 x 120 ซม. จำนวน 2ป้าย ๆ ละ 500 บาทเป็นเงิน 1,000.- บาท
  • ป้ายไวนิลสื่อความรู้ NCDsขนาด 80 x 150จำนวน 4 ชุด ๆ ละ 500 บาท เป็นเงิน 2,000.- บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มีนาคม 2568 ถึง 30 กันยายน 2568
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

1.)ในชุมชนมีจุดบริการตรวจเช็คสุขภาพด้วยตนเอง ( Health station) สำหรับประชาชนในเขตพื้นที่บริการ หมู่ที่ 3 และ หมู่ที่10 ของ รพ.สต.บ้านท่าเชียด 2.)ประชาชนสามารถเข้าถึงการตรวจสุขภาพเบื้องต้น เช่น การวัดความดันโลหิต การเจาะเลือดตรวจน้ำตาลปลายนิ้ว การชั่งน้ำหนัก วัดส่วนสูง การวัดรอบเอว 3.)ผู้ป่วยที่แพทย์ต้องติดตาม ความดันโลหิตและระดับน้ำตาลในเลือด สามารถเข้าถึงบริการได้อย่างสะดวกมากยิ่งขึ้น

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
10000.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 10,000.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?


>