กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ปันแต

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการบ้านนี้มีรักปลูกผักแบ่งปัน

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ปันแต

ชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านตำบลปันแต

1. นางจุฬารักใหม่
2. นางอุบล แสงศรี
3. นางเรวดี ทองประสม
4. นางนงเยาว์มันแก้ว
5. นางจินดา ทองเรืองนิ่ม

หมู่ที่ 1-13 ตำบลปันแต อำเภอควนขนุนจังหวัดพัทลุง

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานอาหารและโภชนาการ

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 . ร้อยละของคนในชุมชนที่กินผัก ผลไม้ อย่างน้อยวันละ 500 กรัม

 

52.02

เนื่องจากสถานการณ์ความเจ็บป่วยของประชาชน ตำบลปันแต เพิ่มขึ้นโดยเฉพาะกลุ่มผู้ป่วยติดบ้านติดเตียง ส่วนหนึ่งมาจากการบริโภคพืช ผักที่มีสารปนเปื้อนที่เราไม่สามารถทราบแหล่งที่มาโดยเฉพาะในท้องตลาด และจากการสังเกตของผู้ดูแล (CM) พบว่าผู้ดูแลผู้ป่วยติดบ้านติดเตียงบางรายมีภาวะซึมเศร้าเพิ่มขึ้น
ดังนั้นการส่งเสริมกิจกรรมยามว่างของผู้ดูแลผู้สูงอายุเป็นอีกช่องทางที่จะลดปัญหาการมีภาวะซึมเศร้าได้ และยังทำให้เกิดความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างผู้ดูแลและญาติของผู้ป่วย เกิดการแบ่งปัน,เกิดรายได้ และลดการสัมผัสสารที่ไม่ปลอดภัย ทั้งผู้ป่วย,ผู้ดูแล และทีมงานด้วย ทางชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านตำบลปันแต จึงได้จัดทำโครงการบ้านนี้มีรักปลูกผักแบ่งปัน ขึ้น

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อสร้างคลังอาหารให้กับผู้ป่วย

ผู้ป่วยและญาติผู้ดูแลได้รับประทานผักปลอดสารพิษ

15.15 80.00
2 เพื่อลดความเครียดของผู้ดูแลผู้ป่วย

ลดภาวะซึมเศร้าในกลุ่มดูแลผู้ป่วย

2.82 25.00
3 เพื่อลดรายจ่ายภายในครัวเรือน

ครัวเรือนได้ปลูกผักปลอกสารพิษไว้กินเอง

20.25 35.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน 15
กลุ่มผู้สูงอายุ 15
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/03/2025

กำหนดเสร็จ 31/08/2025

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 อบรมฝึกปฏิบัติการทำปุ๋ยหมัก

ชื่อกิจกรรม
อบรมฝึกปฏิบัติการทำปุ๋ยหมัก
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

อบรมฝึกปฏิบัติการทำปุ๋ยหมัก 1. ค่าขี้วัวจำนวน60 กระสอบ ๆ ละ 40 บาทเป็นเงิน2,400 บาท 2. ค่าขี้ไก่แกลบจำนวน 90 กระสอบ ๆ ละ 30บาทเป็นเงิน 2,700 บาท 3. ค่ากากน้ำตาลจำนวน 20 กิโลกรัม ๆ ละ 10บาทเป็นเงิน 200บาท 4. ค่าหัวเชื้อจุลินทรีย์ EMจำนวน 3 กระป๋อง ๆ ละ 100 บาท เป็นเงิน300 บาท 5. ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่มสำหรับผู้เข้าร่วมอบรมและผู้จัดจำนวน 35 คน ๆ ละ 25บาท เป็นเงิน 875 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มีนาคม 2568 ถึง 31 สิงหาคม 2568
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
  • ผลผลิต    ฟื้นฟูดินให้ดีขึ้น มีความยั่งยืนทางการเกษตร และรักษาสิ่งแวดล้อม
  • ผลลัพธ์    การใช้สารเคมีทางการเกษตรลดลง ลดรายจ่าย เพิ่มรายได้
จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
6475.00

กิจกรรมที่ 2 อบรมให้ความรู้การผสมดินปลูก

ชื่อกิจกรรม
อบรมให้ความรู้การผสมดินปลูก
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

อบรมให้ความรู้การผสมดินปลูก
1. ค่าแกลบดำจำนวน 30 กระสอบ ๆ ละ 60 บาท เป็นเงิน 1,800 บาท 2. ค่าพดสับจำนวน 30 กระสอบ ๆ ละ 35 บาทเป็นเงิน 1,050 บาท 3. ค่าขุยมะพร้าวจำนวน 30 กระสอบ ๆ ละ 30บาท เป็นเงิน900 บาท 4. ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่มสำหรับผู้เข้าร่วมอบรมและผู้จัด จำนวน 35 คน ๆ ละ 25บาท เป็นเงิน 875 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มีนาคม 2568 ถึง 31 สิงหาคม 2568
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
  • ผลผลิต    มีสวนผสมดินสำหรับปลูกผักของสมาชิก จำนวน  1 แปลง
  • ผลลัพธ์    สมาชิกได้ดินปลูกที่มีคุณภาพได้มาตรฐาน
จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
4625.00

กิจกรรมที่ 3 กิจกรรม ปลูกผัก

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรม ปลูกผัก
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  1. ค่ากระถาง จำนวน 300 ลูก ๆ ละ 25 บาทเป็นเงิน 7,500 บาท
  2. ค่ากะละมังจำนวน 150 ลูก ๆ ละ 30 บาท เป็นเงิน 4,500 บาท
  3. ค่าต้นกล้าผักสวนครัว จำนวน 300 ต้น ๆ ละ 2 บาทเป็นเงิน 600 บาท
  4. ค่าเมล็ดพันธุ์ผักจำนวน 60 ซอง ๆ ละ 25 บาทเป็นเงิน 1,500 บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
1 เมษายน 2568 ถึง 31 สิงหาคม 2568
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
  • ผลผลิต    ครัวเรือนติดบ้านติดบ้าน ติดเตียง CM , CG ปลูกผักปลอดสารพิษร้อยละ 80
  • ผลลัพธ์  ครัวเรือนได้รับประทานผักปลอดสารพิษ
จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
14100.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 25,200.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. ผู้ป่วยติดบ้าน ติดเตียง ผู้ดูแล ได้รับประทานพืชผักที่มีคุณภาพ ไม่มีสารพิษตกค้าง เกิดความปลอดภัยแก่ผู้บริโภค
2.สามารถลดความเครียดของผู้ดูแลผู้ป่วยลงได้
3.เพิ่มรายได้แก่ผู้ดูแลผู้ป่วยติดบ้าน ติดเตียง


>