กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลโคกม่วง

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมลดพุงลดโรคในกลุ่มวัยทำงาน ปีงบประมาณ 2568

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลโคกม่วง

กลุ่มอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน รพ.สต.บ้านท่าควาย

1.นางณฐมน ผุดพัฒน์ ประธานอสม. หมู่ที่ 5
2.นางหนูจิน คงเหล่ ประธานอสม. หมู่ที่ 6
3.นางธนภรณ์ มหาแสนประธานอสม. หมู่ที่ 12
4.นางระวิวรรณ หนูทองประธานอสม. หมู่ที่ 14
5.นางฉ้าย เหมือนศรี ประธานอสม. รพ.สต. บ้านท่าควาย

ในเขตพื้นที่รับผิดชอบ รพ.สต. บ้านท่าควาย

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานโรคเรื้อรัง , แผนงานกิจกรรมทางกาย , แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ร้อยละประชาชนกลุ่มวัยทำงานที่มีค่ารอบเอวเกิน

 

35.14

จาการคัดกรองสุขภาพประชาชนในกลุ่มวัยทำงานในปีที่ผ่านมา พบว่า ประชาชนมีค่ารอบเอวเกิน ร้อยละ 35.14 จากกลุ่มเสี่ยงที่มีรอบเอวเกิน เป็นปัจจัยเสี่ยงที่สำคุัญก่อให้เกิดโรคเรื้อรัง ได้แก่ โรคเบาหวาน และโรคความดันโลหิตสุง ข้อมูลอัตราป่วยด้วยโรคดังกล่าว ในปีที่ผ่านมา พบว่า จำนวนผู้ป่วยเบาหวานรายใหม่ จำนวน23 คน และจำนวนผู้ป่วยความดันโลหิตสูงรายใหม่จำนวน 51 คน ตามลำดับ ซึ่งโรคเหล่านี้เกิดจากการมีพฤติกรรมสุขภาพที่ไม่ถูกต้อง คือ ขาดการออกกำลังกาย มีการรับประทานอาหารไม่เหมาะสม แม้ประชาชนจะมีความรู้ แต่ยังไม่ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพให้ถูกต้อง จากการสำรวจของกรมอนามัย พบว่า คนไทยมีเพียง 5 ล้านคนเท่านั้น ที่มีการออกกำลังกายเพียงพอที่จะช่วยป้องกันโรคได้ การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพด้วยการปฏิบัติจริง 2 กระบวนการ ได้แก่
1. การออกกำลังกายสม่ำเสมอสัปดาห์ละอย่างน้อย 3-5 วันๆ ละอย่างน้อย 30 นาที
2. การรับประทานผักในปริมาณ ครึ่งหนึ่งของอาหารแต่ละมื้อ และลดการรับประทานอาหารไขมัน จะสามารถทำให้ประชาชนลดพุง ลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคไม่ติดต่อเรื้อรังได้

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้ประชาชนกลุ่มเสี่ยงวัยทำงานมีการออกกำลังกายอย่างต่อเนื่อง

ร้อยละประชาชนกลุ่มเสี่ยงวัยทำงานมีการออกกำลังกายอย่างต่อเนื่อง

40.00 60.00
2 เพื่อให้กลุ่มเสี่ยงปรับเปลี่ยนพฤติกรรมลดพุงได้

ร้อยละกลุ่มเสี่ยงปรับเปลี่ยนพฤติกรรมลดพุงได้

40.00 60.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน 50
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น : 19/03/2025

กำหนดเสร็จ : 30/09/2025

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 ขั้นเตรียมการ

ชื่อกิจกรรม
ขั้นเตรียมการ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

1.1รวบรวมข้อมูลและวิเคราะห์ปัญหากลุ่มวัยทำงานที่รอบเอวเกิน

1.2จัดทำโครงการเสนอกองทุนระบบหลักประกันสุขภาพตำบลโคกม่วง

1.3ประชุม อาสาสมัครสาธารณสุข ผู้นำชุมชน เพื่อร่วมประชาสัมพันธ์โครงการ

1.4จัดเตรียม วัสดุ อุปกรณ์ ในการดำเนินการตามโครงการ

ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

กิจกรรมที่ 2 จัดอบรมให้ความรู้แก่กลุ่มเสี่ยงในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม

ชื่อกิจกรรม
จัดอบรมให้ความรู้แก่กลุ่มเสี่ยงในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

2.1 อบรมให้ความรู้กลุ่มเสี่ยงในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมลดพุงลดโรค

08.30–09.30 น. ลงทะเบียน / ทดสอบความรู้ก่อนอบรม

09.30–10.30 น. ประเมินรอบเอว ความดันโลหิต และน้ำตาลในเลือด ครั้งที่ 1

10.30–10.40 น. พักรับประทานอาหารว่าง

10.40–12.00 น. ความรู้เรื่องการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม 3 อ.

12.00–13.00 น. พักรับประทานอาหารกลางวัน

13.00–15.00 น. กินผักให้เพียงพอ ช่วยต้านโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง

15.00–15.10 น. พักรับประทานอาหารว่าง

15.10–16.00 น. ทดสอบความรู้หลังอบรม

  • ค่าอาหารว่าง 50 คนๆ ละ 2 มื้อๆ ละ 25 บาท เป็นเงิน 2,500 บาท

  • ค่าอาหารกลางวัน 50 คนๆ ละ 1 มื้อๆ ละ 50 บาท เป็นเงิน 2,500 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
5000.00

กิจกรรมที่ 3 การติดตามการดำเนินกิจกรรมปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพในกลุ่มเสี่ยง

ชื่อกิจกรรม
การติดตามการดำเนินกิจกรรมปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพในกลุ่มเสี่ยง
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  1. ส่งเสริมครัวเรือนมีการปลูกผัก และกินผักที่ถูกต้อง
  2. ส่งเสริมให้กลุ่มเสี่ยงมีการออกกำลังกาย และต่อเนื่องตลอดทั้งปี
  3. การจัดตั้งกลุ่มชมรมในหมู่บ้าน เช่น กลุ่มชมรมการกินผัก และชมรมออกกำลังกาย
ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

กิจกรรมที่ 4 จัดเวทีเสวนาแลกเปลี่ยนเรียนรู้จากบุคคลต้นแบบในชุมชนด้านการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ

ชื่อกิจกรรม
จัดเวทีเสวนาแลกเปลี่ยนเรียนรู้จากบุคคลต้นแบบในชุมชนด้านการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  1. กลุ่มเสี่ยงได้รับการประเมินรอบเอว ความดันโลหิต และน้ำตาลในเลือด ครั้งที่ 2
  2. มีบุคคลต้นแบบด้านการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ
  3. ประกวดบุคคลต้นแบบสุขภาพดี
  • ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม 50 คนๆ ละ 1 มื้อๆ ละ 25 บาท เป็นเงิน 1,250 บาท

  • ค่าประกาศนียบัตรพร้อมกรอบ จำนวน 3 ชิ้นๆ ละ 100 บาท เป็นเเงิน 300 บาท

  • ค่าของรางวัลประกวดบุคคลต้นแบบสุขภาพดี นมจืด 20 ชุดๆ ละ 185 บาท เป็นเงิน 3,700 บาท

  • ค่าเช่าเวที และเครื่องเสียง 3,000 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
8250.00

กิจกรรมที่ 5 สรุปและประเมินผลตามโครงการ

ชื่อกิจกรรม
สรุปและประเมินผลตามโครงการ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

 

ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 13,250.00 บาท

หมายเหตุ :
**ทุกรายการสามารถถัวเฉลี่ยได้**

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. มีชุมชนต้นแบบการจัดการสุขภาพชุมชนที่เข้มแข็งพึ่งตนเองทางสุขภาพได้
2. อัตราผู้ป่วยเบาหวานรายใหม่ลดลงมากกว่าหรือเท่ากับร้อยละ 5.00 และความดันโลหิตสูงรายใหม่ลดลงร้อยละ 2.50


>