กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.แป-ระ

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการส่งเสริมการออกกำลังกายและฝึกหัดเด็กว่ายน้ำ

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.แป-ระ

ชมรม อสม.ตำบลแป-ระ

จังหวัดสตูล

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานเด็ก เยาวชน ครอบครัว

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

อุบัติเหตุทางน้ำเกิดขึ้นได้เสมอและเป็นความเสี่ยงหากไม่มีทักษะในการว่ายน้ำหรือทักษะการเอาตัวรอดในน้ำและรวมถึงทักษะการช่วยเหลือผู้ประสบเหตุทางน้ำ การสูญเสียที่ไม่ควรจะเสียลดลงได้หากมีการป้องกัน รายงานจากกระทรวงสาธารณสุข พบว่า ในช่วง10 ปีที่ผ่านมา (2556-2565) ประเทศไทยมีผู้เสียชีวิตจากการจมน้ำถึง 35,915 คน โดยในจำนวนนี้เป็นเด็กอายุต่ำกว่า 15 ปีมากถึงร้อยละ 20.5 (7,374 คน) โดยเด็กช่วงอายุ 5-9 ปี เป็นกลุ่มที่เสียชีวิตมากที่สุดที่ 2,867 คน และข้อมูลโดยเฉลี่ยในช่วง 5 ปีที่ผ่านมา (2551-2565)เด็กอายุต่ำกว่า 15 ปี เสียชีวิตจากการจมน้ำในช่วงฤดูร้อน ซึ่งตรงกับช่วงปิดเทอม (เดือนมีนาคม – พฤษภาคม) จำนวน 953 เฉลี่ยวันละ 2 ราย อย่างไรก็ตาม การเสียชีวิตจากการจมน้ำของเด็กอายุต่ำกว่า 15 ปี ในปี 2565 มีจำนวนลดลง อยู่ที่ 658 คน ช่วงอายุที่เสียชีวิตมากที่สุด 5-9 ปี 250 คน คิดเป็นร้อยละ 33.3 รองลงมาคือช่วงอายุ 0-4 ปี 219 คน คิดเป็นร้อยละ 38.1 และ ช่วงอายุ 10-14 ปี จำนวน 189 คน คิดเป็นร้อยละ 28.6 ตามลำดับ และช่วงเดือน มี.ค. - พ.ค. เป็นช่วงที่เสียชีวิตมากที่สุดเฉลี่ยอยู่ที่ร้อยละ 32.7 ของการจมน้ำเสียชีวิตตลอดทั้งปี และในพื้นที่ตำบลแป-ระ ปี 2566 มีเด็ก เสียชีวิตจากการจมน้ำ 3 ราย จากข้อมูลดังกล่าวหากจะป้องกันการเสียชีวิตหรือลดอัตราการเสียชีวิตจากการจมน้ำของเด็ก จำเป็นจะต้องฝึกทักษะให้เด็กในกลุ่มเสี่ยงได้เรียนรู้การเอาตัวรอดในน้ำ หรือ”ว่ายน้ำเป็นลอยตัวในน้ำได้โดยไม่ใช้อุปกรณ์และเรียนรู้เกี่ยวกับวิธีช่วยชีวิตผู้อื่นจากการจมน้ำแบบวิธีช่วยเหลือตามมาตรฐานสากล โดยใช้อุปกรณ์ใกล้มือ โดยมีการเฝ้าระวังและฝึกอบรมการเอาตัวรอดของเด็กกลุ่มเสี่ยง อย่างไรก็ตาม ถึงแม้ กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อมองค์การบริหารส่วนตำบลแป-ระ ได้จัดกิจกรรมโครงการฝึกอบรมเด็กและเยาวชนทักษะการเอาตัวรอดในน้ำและการช่วยเหลือผู้ประสบเหตุทางน้ำ มาแล้ว 5 ครั้ง มีกลุ่มเป้าหมายเข้าร่วมกิจกรรม ราม 284 คน ร้อยละ 95 ของผู้เข้าร่วมกิจกรรมโครงการสามารถนำความรู้และทักษะที่ได้รับไปปฏิบัติป้องกันตนเองและช่วยเหลือผู้อื่นได้ แต่ยังมีเด็กและเยาวชนอีกจำนวนไม่น้อยที่ยังไม่ได้รับการเรียนรู้และฝึกทักษะ จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องจัดกิจกรรมอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้ครอบคลุมกลุ่มเป้าหมายมากยิ่งขึ้นและลดความเสี่ยงของการเสียชีวิตจากการจมน้ำของเด็กในอนาคต
จากปัญหาดังกล่าว ชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) ตำบลแป-ระ อำเภอท่าแพ จังหวัดสตูล เล็งเห็นถึงความสำคัญของปัญหาดังกล่าว จึงจัดทำโครงการป้องกันการจมน้ำของเด็กและเยาวชนตำบลแป-ระ ในปีงบประมาณ 2568 ขึ้น

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อฝึกอบรมการเอาตัวรอดในน้ำให้แก่เด็กและเยาวชน

เด็กและเยาวชนที่เข้าร่วมโครงการมีความรู้การเอาตัวรอดในน้ำได้ไม่น้อยกว่าร้อยละ 80

0.00
2 เพื่อฝึกทักษะการช่วยเหลือผู้ประสบเหตุทางน้ำและการช่วยฟื้นคืนชีพขั้นพื้นฐาน (CPR.) ให้แก่เด็กและเยาวชน

เด็กและเยาวชนมีทักษะการช่วยเหลือผู้ประสบเหตุทางน้ำและการช่วยฟื้นคืนชีพขั้นพื้นฐาน (CPR.) ได้ ไม่น้อยกว่า ร้อยละ 80

0.00
3 เพื่อส่งเสริมการออกกำลังกายของเด็กและเยาวชนในตำบลแป-ระ

เด็กและเยาวชนในตำบลแป-ระ มีทักษะการออกกำลังกายโดยการว่ายน้ำ    ร้อยละ 100

0.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 80
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น

กำหนดเสร็จ

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 ฝึกอบรมการป้องกันการจมน้ำของเด็กและเยาวชน

ชื่อกิจกรรม
ฝึกอบรมการป้องกันการจมน้ำของเด็กและเยาวชน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

1 ประชุมวางแผนงาน

2 เขียนโครงการเพื่อขอสนับสนุนงบประมาณ
3 จัดกิจกรรมฝึกอบรมอบรมการป้องกันการจมน้ำ ให้แก่เด็กและเยาวชนในพื้นที่ตำบลแป-ระ ทั้งทฤษฎีและฝึกปฏิบัติ การตะโกน โยน ยื่น การลอยตัวในน้ำ การเคลื่อนไหวในน้ำด้วยท่าต่างๆ รวมถึงการปฐมพยาบาลเบื้องต้นและการช่วยฟื้นคืนชีพขั้นพื้นฐาน (CPR) ระยะเวลาในการจัดกิจกรรม รวม 3 วัน โดยวันที่ 2 และ 3 แบ่งผู้เข้ารับการอบรมเป็น 2 รุ่น ๆ ละ 1 วัน เนื่องจากข้อจำกัดของสระว่ายน้ำ งบประมาณประมาณสนับสนุนจากกองทุนสุขภาพตำบลแป-ระ จำนวน 32,432.- บาท เป็นค่าใช้จ่ายในการฝึกอบรมเด็กและเยาชนเอาตัวรอดในน้ำและทักษะการช่วยชีวิตจากอุบัติเหตุทางน้ำรายละเอียด ดังนี้

วันที่ 1

  • ค่าอาหารกลางวันจำนวน 90 ชุด ๆ ละ 50 บาท x 1 มื้อ เป็นจำนวนเงิน 4,500 บาท

  • ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่มจำนวน 90 ชุด ๆ ละ 25 บาท x 2 มื้อ เป็นจำนวนเงิน 4,500 บาท

วันที่ 2 และ 3

  • ค่าอาหารกลางวันจำนวน 50 ชุด ๆ ละ 50 บาท x 2 วัน เป็นจำนวนเงิน 5,000 บาท

  • ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่มจำนวน 50 ชุด ๆ ละ 25 บาท x 2 มื้อ x 2 วัน เป็นจำนวนเงิน 5,000 บาท

  • ค่าวิทยากรจำนวน 10 คน ๆ ละ 300 บาท x 3 วันเป็นจำนวนเงิน 9,000 บาท

  • ค่าใช้สถานที่ วันละ 2000 บาท x 2 วันเป็นจำนวนเงิน 4,000 บาท

  • ค่าป้ายไวนิล ขนาด 1.2 x 2.4 เมตร ตรม.ละ 150 บาท จำนวน 1 ผืนเป็นจำนวนเงิน432 บาท

หมายเหตุค่าใช้จ่ายทุกรายการสามารถถัวเฉลี่ยกันได้

4 สรุปผลการดำเนินงานตามแผนงานโครงการพร้อมแบบรายงาน ส่งให้กองทุนหลักประกันสุขภาพองค์การบริหารส่วนตำบลแป-ระ

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มกราคม 2568 ถึง 30 กันยายน 2568
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

1 เด็กและเยาวชนที่เข้าร่วมโครงการมีความรู้การเอาตัวรอดในน้ำได้ไม่น้อยกว่าร้อยละ 80

2 เด็กและเยาวชนที่เข้าร่วมโครงการมีทักษะการช่วยเหลือผู้ประสบเหตุทางน้ำและการช่วยฟื้นคืนชีพขั้นพื้นฐาน (CPR.) ได้ไม่น้อยกว่าร้อยละ 80

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
32432.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 32,432.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?


>