2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
3. สถานการณ์
วัณโรคเป็นปัญหาสาธารณสุขของประเทศไทย องค์การอนามัยโลกจัดให้เป็น 1 ใน 14 ประเทศของโลกที่มีภาระวัณโรค วัณโรคที่สัมพันธ์กับการติดเชื้อเอชไอวีและวัณโรคดื้อยาหลายขนานสูง ในปัจจุบันประเทศไทยมีผู้ป่วยรายใหม่ประมาณ 120,000 ราย และผู้ป่วยวัณโรคดื้อยาหลายขนาน คาดว่าน่าจะมีประมาณ 2,200 ราย ซึ่งในจำนวนผู้ป่วยรายใหม่นี้มีผู้ป่วยเพียงประมาณ 70,000 ราย ที่ขึ้นทะเบียนรักษา และคาดว่ามีผู้ป่วยที่ยังไม่ขึ้นทะเบียนรักษาประมาณ 50,000 ราย ในส่วนผู้ป่วยประชากรต่างด้าว คาดว่ามีผู้ป่วยปีละประมาณ 2,000 ราย ผู้ต้องขังในเรือนจำ 1,407 ราย กระทรวงสาธารณสุข ได้ให้ความสำคัญกับการแก้ปัญหาวัณโรค และได้เร่งรัดให้มีการยกระดับเป้าหมายลดโรค จากเดิมมุ่งเน้นการควบคุมการระบาดของโรคมุ่งไปสู่การยุติปัญหาวัณโรคในประเทศไทย โดยการรักษาวัณโรคค่อนข้างมีปัญหา เพราะคนไข้ต้องรับประทานยาทุกวันติดต่อกันเป็นเวลา ๖ เดือน และถ้าขาดยาไปก็จะทำให้เชื้อโรคดื้อยาจนไม่อาจรักษาให้หายขาดได้ในที่สุดจึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งในการติดตามผู้ป่วยให้กินยาจนครบกำหนดพร้อมเฝ้าระวังปัญหาเชื้อวัณโรคดื้อยา
จากสถานการณ์การป่วยด้วยโรควัณโรคภายในพื้นที่ตำบลควนเมา พบว่า ปัจจุบันได้มีการคัดกรองวัณโรคใน 7 กลุ่มเป้าหมาย คือ ผู้สัมผัสใกล้ชิดผู้ป่วยวัณโรค (ร่วมบ้าน/ทำงาน > 8 ชั่วโมง : วัน หรือ > 120 ชั่วโมง/สัปดาห์ผู้สูงอายุ ผู้ป่วยโรคเรื้อรัง (เบาหวาน/ความดันโลหิตสูง/COPD/Stroke/ไต/มะเร็ง) ผู้ติดเชื้อ HIV/AIDs แรงงานต่างด้าว ผู้ต้องขัง/เคยต้องโทษ และบุคลากรสาธารณสุข จากสถานการณ์การป่วยด้วยโรควัณโรค ตั้งแต่ ปี 2557 – 2567 พบว่า มีผู้ป่วยวัณโรค จำนวน 50 คน โดยพบว่าเป็นผู้ป่วยในกลุ่มผู้สูงอายุ จำนวน 12 คน ร้อยละ 24.00และกลุ่มที่มีอายุน้อยกว่า 60 ปี จำนวน 38 คน ร้อยละ 76.00 โดยพบผู้ป่วยวัณโรคที่มีอายุน้อยที่สุด คือ 25 ปี ซึ่งจากสถานการณ์ดังกล่าวจะเห็นได้ว่าจากการคัดกรองซึ่งมีขึ้นเฉพาะ 7 กลุ่ม ไม่สามารถคัดกรองให้เจอผู้ป่วยวัณโรคในชุมชนได้ จึงมีความจำเป็นที่จะต้องขยายกลุ่มในการคัดกรอง ซึ่งจากการวิเคราะห์สถานการณ์การเกิดโรควัณโรคในพื้นที่ตำบลควนเมาจะเห็นได้ว่า ผู้ป่วยที่มีอายุน้อยที่สุดคือ อายุ 25 ปี จึงมีความจำเป็นที่จะต้องดำเนินการคัดกรองประชาชนที่มีอายุตั้งแต่ 25 ปีขึ้นไป เพื่อความครอบคลุมในการค้นหาผู้ป่วย และการสำรวจพฤติกรรมสุขภาพ ซึ่งมุ่งเน้น “ค้นให้พบ จบด้วยหาย พัฒนาเครือข่ายและระบบดูแลรักษา” ให้ประสบผลสำเร็จ มุ่งเน้นให้ผู้ป่วยทุกรายต้องได้รับการรักษาอย่างทันเวลา และหายจากโรคภายใต้การดูแลของแกนนำสุขภาพและผู้ดูแลผู้ป่วยวัณโรค
สถานีอนามัยเฉลิมพระเกียรติ 60 พรรษา นวมินทราชินี ตำบลควนเมา อำเภอรัษฎา จังหวัดตรัง จึงได้จัดทำโครงการ “การคัดกรองและสำรวจพฤติกรรมสุขภาพในการป้องกันและควบคุมโรควัณโรคในชุมชน” เพื่อให้ทีมเฝ้าระวังสอบสวนเคลื่อนที่เร็ว (SRRT) มีความรู้ ความเข้าใจ เรื่องวัณโรค การป้องกันและควบคุมโรควัณโรค และประชาชนในชุมชนได้รับการสำรวจพฤติกรรมสุขภาพในการป้องกันและควบคุมโรควัณโรค
4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด
- บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
- ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
5. กลุ่มเป้าหมาย
6. ระยะเวลาดำเนินงาน
วันเริ่มต้น
กำหนดเสร็จ
7. วิธีการดำเนินงาน
- กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
- งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด
หมายเหตุ :
8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง
ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?1. ทำให้ทีมเฝ้าระวังสอบสวนเคลื่อนที่เร็ว (SRRT) มีความรู้ ความเข้าใจ เรื่องวัณโรค การป้องกันและควบคุมโรควัณโรค
2. ทำให้ทีมเฝ้าระวังสอบสวนเคลื่อนที่เร็ว (SRRT) มีความรู้ ความเข้าใจ ในการสำรวจพฤติกรรมสุขภาพในการป้องกันและควบคุมโรควัณโรค ในประชาชนอายุ 25 ปีขึ้นไป
3. ประชาชนอายุ 25 ปีขึ้นไปในชุมชน ได้รับการสำรวจพฤติกรรมในการป้องกันและควบคุมโรควัณโรค
4. ทราบถึงพฤติกรรมในการป้องกันและควบคุมโรควัณโรคของประชาชนอายุ 25 ปีขึ้นไปในชุมชน
5. ผู้ที่มีอาการสงสัยวัณโรคได้รับการส่งต่อโรงพยาบาลและได้รับการรักษาอย่างทันเวลา
6. ผู้ป่วยวัณโรคทุกรายได้รับการติดตามเยี่ยมบ้าน