แบบเสนอโครงการกองทุนหลักประกันสุขภาพระดับท้องถิ่น
แบบจัดทำแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม
กองทุนสุขภาพตำบล อบต.บาราเฮาะ รหัส กปท. L3015
อำเภอเมืองปัตตานี จังหวัดปัตตานี
ตามประกาศคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เรื่อง หลักเกณฑ์เพื่อสนับสนุนให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นดำเนินงานและบริหารจัดการระบบหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ พ.ศ.2567 และที่แก้ไขเพิ่มเติม ข้อ 17 (2) "ให้พิจารณาอนุมัติโครงการ หรือกิจกรรม ให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ของกองทุนตามข้อ 10"
อาศัยอำนาจของประกาศ ฯ ข้อ 10 "เงินกองทุนหลักประกันสุขภาพตามข้อ 7 วรรคหนึ่ง ให้ใช้จ่ายเพื่อสนับสนุนและส่งเสริมเป็นค่าใช้จ่ายตามแผนงาน โครงการ หรือกิจกรรม ที่คณะกรรมการกองทุนอนุมัติ" จึงได้จัดทำแผนงาน โครงการ หรือกิจกรรม ประจำปีงบประมาณ 2568 โดยมีรายละเอียด ดังนี้
1.นางซะอีดะห์ กาซอ
2.นางสาวเจ๊ะซาวียะห์ เบญจเหม
3.นางเจ๊ะอาซีซะห์ เบ็ญฮาวัน
เด็กเป็นทรัพยากรบุคคลที่มีคุณค่า และเป็นอนาคตที่สำคัญของชาติ ในหลายประเทศล้วนมุ่งเน้นการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ซึ่งจะต้องเริ่มต้นจากเด็ก โดยเฉพาะในช่วงแรกเกิด – ๕ ปี ซึ่งเป็นช่วงที่เริ่มมีการพัฒนาในด้านต่างๆ อย่างรวดเร็ว ทั้งทางด้านร่างกาย สติปัญญา อารมณ์ จิตใจ และสังคม เด็กในวัยนี้ถ้าจะ ได้รับการเลี้ยงดูที่เหมาะสม มีการตอบสนองความต้องการขั้นพื้นฐาน และมีการส่งเสริมพัฒนาการที่ดีในแต่ ละด้าน ก็จะทำให้เด็กนั้นเติบโตเป็นผู้ใหญ่ที่มีคุณภาพในอนาคต ซึ่งพัฒนาการเด็กเกิดจากการเปลี่ยนแปลงหลายด้านผสมผสานกัน โดยพัฒนาการทุกด้านไม่ว่าจะเป็นด้านร่างกาย สติปัญญา อารมณ์ จิตใจ และสังคม ล้วนมีความสำคัญและเกี่ยวข้องสัมพันธ์กันหมด การเปลี่ยนแปลงของพัฒนาการด้านหนึ่งย่อมมีผลให้พัฒนาการอีกด้านหนึ่งเปลี่ยนแปลงไปด้วย เช่น เด็กที่มีร่างกายแข็งแรงสมบูรณ์มักเคลื่อนไหวคล่องแคล่ว สามารถช่วยเหลือตนเองได้ มีอารมณ์แจ่มใส รู้จักควบคุมอารมณ์ เข้ากับผู้อื่นได้ดี และมีความสนใจเรียนรู้สิ่งรอบตัว ในทาง ตรงกันข้ามเด็กที่มีสุขภาพไม่ดี มักประสบปัญญาด้านการเจริญเติบโตของร่างกายล่าช้า หรือหยุดชะงักชั่วขณะ อารมณ์หงุดหงิดง่าย มีอาการเศร้าซึม ปรับตัวเข้ากับผู้อื่นได้ยาก และขาดสมาธิในการเรียนรู้สิ่งต่างๆ ซึ่งจากการสำรวจพัฒนาการในเด็กตำบลบาราเฮาะ เด็กอายุ ๐ – ๕ ปี มีทั้งหมด 498 คน พบว่า มีพัฒนาการล่าช้ากว่าร้อยละ 18.10 นอกจากนี้ยังพบว่า ผู้ปกครองเด็กอายุ ๐ – 5 ปี กว่าร้อยละ ๗๐ ยังขาดความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องในการประเมินพัฒนาการ และการกระตุ้นพัฒนาการเด็กในด้านต่างๆ
ดังนั้น โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบาราเฮาะ ได้ตระหนักถึงความสำคัญของปัญหาดังกล่าวจึงได้จัดทำโครงการส่งเสริมพัฒนาการเด็กอายุ 0-5 ปี ตำบลบาราเฮาะ ปีงบประมาณ 2568 ขึ้น เพื่อให้เด็กอายุ ๐ – ๕ ปี มีพัฒนาการที่สมวัยทั้งด้านร่างกาย สติปัญญา อารมณ์ จิตใจ และสังคม
-
1. เพื่อลดภาวะพัฒนาการล่าช้าเด็กเล็ก (0-6 ปี) ลงตัวชี้วัด : ร้อยละของเด็กเล็ก (0-6 ปี) ที่ประเมินแล้วมีภาวะพัฒนาการล่าช้าขนาดปัญหา 50.00 เป้าหมาย 20.00
-
2. 1. เพื่อให้เด็กอายุ ๐ – ๕ ปี มีพัฒนาการที่สมวัยทั้งด้านร่างกาย สติปัญญา อารมณ์ จิตใจ และสังคมตัวชี้วัด : 2. เด็กอายุ ๐ – ๕ ปี มีพัฒนาการสมวัยขนาดปัญหา 35.00 เป้าหมาย 80.00
-
3. เพื่อพัฒนาศักยภาพผู้ปกครอง และผู้เลี้ยงดูเด็กให้มีความรู้ ความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับการส่งเสริม พัฒนาการ เด็กอายุ ๐ – ๕ ปีตัวชี้วัด : ผู้ปกครองที่มีเด็กพัฒนาการไม่สมวัยมีความรู้และเข้าใจในการส่งเสริมและประเมินพัฒนาการขนาดปัญหา 25.00 เป้าหมาย 60.00
- 1. จัดอบรมเชิงปฏิบัติการผู้ปกครองเด็ก 0 - 5 ปี ที่สงสัยพัฒนาการล่าช้ารายละเอียด
1.1 ค่าอาหารว่างพร้อมเครื่องดื่ม 50คน x 30 บาท x 2 มื้อ x 1 วัน เป็นเงิน 3,000 บาท 1.2 ค่าอาหารกลางวัน 50 คน x 60 บาท x 1 มื้อ x 1 วัน เป็นเงิน 3,000 บาท 1.3 วัสดุที่ใช้ในการอบรม 50 ชุด x 40 บาท เป็นเงิน 2,000 บาท 1.4 ค่าไวนิล 1 x 2 เมตร x 1 ผืน x 180 บาท เป็นเงิน 360 บาท 1.5 ค่าตอบแทนวิทยากร 6 ชม x 600 บาท x 1 วัน เป็นเงิน 3,600 บาท
งบประมาณ 11,960.00 บาท
ตั้งแต่ วันที่ 17 กุมภาพันธ์ 2568 ถึง 25 กันยายน 2568
ตำบลบาราเฮาะ อำเภอเมือง จังหวัดปัตตานี
รวมงบประมาณโครงการ 11,960.00 บาท
- ผู้ปกครองที่มีเด็กพัฒนาการไม่สมวัยมีความรู้และเข้าใจในการส่งเสริมและประเมินพัฒนาการ
- เด็กอายุ ๐ – ๕ ปี มีพัฒนาการสมวัย
ข้าพเจ้า ................................................................ ตำแหน่ง.................................................... หน่วยงาน................................................................................ หมายเลขโทรศัพท์......................................................... ในฐานะของผู้เสนอแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม
ขอรับรองว่า แผนงาน/โครงการ/กิจกรรม ที่เสนอขอรับการสนับสนุนงบประมาณจากกองทุนหลักประกันสุขภาพ ในครั้งนี้
- check_box_outline_blank ไม่ได้ซ้ำซ้อนกับงบประมาณที่ได้รับจากแหล่งอื่น
- check_box_outline_blank สอดคล้องกับแผนสุขภาพชุมชน ของ กปท.
- check_box_outline_blank รับทราบถึงกฎ ระเบียบ ข้อบังคับ และวิธีการดำเนินงานตามประกาศคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เรื่อง หลักเกณฑ์เพื่อสนับสนุนให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นดำเนินงานและบริหารจัดการระบบหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ พ.ศ.2567 และที่แก้ไขเพิ่มเติม แล้ว
(............................................................)
ตำแหน่ง ............................................................
วันที่-เดือน-พ.ศ. ..................................................
- ให้เสนอขอรับการสนับสนุนงบประมาณจากกองทุนหลักประกันสุขภาพ
(............................................................)
ตำแหน่ง ............................................................
วันที่-เดือน-พ.ศ. ..................................................
แบบเสนอแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม
กองทุนสุขภาพตำบล อบต.บาราเฮาะ รหัส กปท. L3015
อำเภอเมืองปัตตานี จังหวัดปัตตานี
ตามประกาศคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เรื่อง หลักเกณฑ์เพื่อสนับสนุนให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นดำเนินงานและบริหารจัดการกองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ พ.ศ.2567 และที่แก้ไขเพิ่มเติม ข้อ 10 “เงินกองทุนหลักประกันสุขภาพตามข้อ 7 วรรคหนึ่ง ให้ใช้จ่ายเพื่อสนับสนุนและส่งเสริมเป็นค่าใช้จ่ายตามแผนงาน โครงการ หรือกิจกรรม ที่คณะกรรมการกองทุนอนุมัติ” นั้น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มประชาชน ได้ดำเนินการจัดทำแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม มาเพื่อขอรับการสนับสนุนงบประมาณ กปท. ตามเอกสารแนบ
จึงเรียนมาเพื่อโปรดพิจารณาอนุมัติ
(...........................................................)
ตำแหน่ง ...............................................
วันที่-เดือน-พ.ศ. ......................................
แบบอนุมัติแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม
กองทุนสุขภาพตำบล อบต.บาราเฮาะ รหัส กปท. L3015
อำเภอเมืองปัตตานี จังหวัดปัตตานี
ตามมติการประชุมคณะกรรมการกองทุนหลักประกันสุขภาพ ครั้งที่ ....................... เมื่อวันที่ .................................................... สรุปผลการพิจารณาแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม ดังนี้
(....................................................................)
ตำแหน่ง เจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบการประชุม
วันที่-เดือน-พ.ศ. ....................................................
ตำแหน่ง ....................................................................
วันที่-เดือน-พ.ศ. ..................................................