กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ควนเมา

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

คัดกรองความเสี่ยงโรคความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวานในตำบลควนเมา

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ควนเมา

สถานีอนามัยเฉลิมพระเกียรติฯ ตำบลควนเมา

สถานีอนามัยเฉลิมพระเกียรติฯ ตำบลควนเมา

ตำบลควนเมา อำเภอรัษฎา จังหวัดตรัง

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานโรคเรื้อรัง

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

โรคเบาหวาน และความดันโลหิตสูงเป็นโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง(NCDs) เป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญถือว่าเป็นภัยเงียบ เพราะเป็นโรคที่ไม่ปรากฎอาการ และเป็นสาเหตุของโรคแทรกซ้อนในอวัยวะสำคัญหลายระบบของร่างกาย เช่น ตา ไต หลอดเลือด เป็นต้น ในประเทศไทยนั้น อุบัติการณ์โรคเบาหวาน และความดันโลหิตสูงในแต่ละปี เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจไทยเป็นอย่างมาก เนื่องจากโรคเรื้อรังเป็นโรคที่จำเป็นต้องรักษาอย่างต่อเนื่องและยาวนาน มีค่าใช้จ่ายด้านการรักษาที่สูง ในกลุ่มโรคความดันโลหิตสูงยิ่งคัดกรองมากก็จะพบกลุ่มเสี่ยงและจำนวนผู้ป่วยเพิ่มมากขึ้น ภาวะแทรกซ้อนของผู้ป่วยก็มีอัตราเพิ่มขึ้น ดังนั้น แนวทางแก้ไขต้องดำเนินการให้เป็นระบบโดยเริ่มตั้งแต่การคัดกรอง จากนั้นนำมาจัดกลุ่ม ดี เสี่ยง ป่วย ในกลุ่มป่วยต้องดำเนินการให้การรักษา ต้องมีการดูแลผู้ป่วยอย่างต่อเนื่องที่บ้านให้ครอบคลุม แต่ถ้าหากจะใช้เจ้าหน้าที่เพียงฝ่ายเดียวคงไม่เพียงพอจึงต้องบูรณาการให้ทุกภาคส่วนในชุมชนมีส่วนร่วมในทุกขั้นตอน โรคเบาหวานและความดันโลหิตสูงเป็นโรคเรื้อรังที่นำไปสู่ภาระที่มากขึ้นทั้งด้านสุขภาพ เศรษฐกิจและสังคม ซึ่งภาวะแทรกซ้อนต่างๆ ส่งผลให้อัตราตายด้วยโรคหัวใจและหลอดเลือดที่เพิ่มขึ้นในปัจจุบัน ความต้องการมาตรการเร่งด่วนในการแก้ปัญหา ให้ความสำคัญต่อการคัดกรอง ดูแลรักษา ป้องกันภาวะแทรกซ้อนและฟื้นฟูสุขภาพเชิงรุก ที่มีคุณภาพและครอบคลุมประชากรทั้งในระดับบุคคลและชุมชน
จากการคัดกรองโรคความดันโลหิตสูงในปี 2567 ของสถานีอนามัยเฉลิมพระเกียรติ 60 พรรษานวมินทราชินี จังหวัดตรัง พบว่าประชากรได้รับการคัดกรอง จำนวน 1,781ราย อยู่ในกลุ่มปกติ 1,536ราย คิดเป็นร้อยละ 86.24กลุ่มเสี่ยง 137 ราย คิดเป็นร้อยละ 7.69 และเป็นกลุ่มสงสัยป่วย จำนวน 99 ราย คิดเป็นร้อยละ 5.56 และผลการคัดกรองโรคเบาหวานในปี 2567 พบว่าประชากรได้รับการคัดกรองจำนวน1,986 ราย อยู่ในกลุ่มปกติ 1,785 ราย คิดเป็นร้อยละ 89.88 กลุ่มเสี่ยง156 ราย คิดเป็นร้อยละ 7.85 และเป็นกลุ่มสงสัยป่วยจำนวน 45 ราย คิดเป็นร้อยละ 2.26 จากข้อมูลดังกล่าวพบว่า ประชาชนยังขาดความตระหนักในการดูแลเฝ้าระวังภาวะสุขภาพของตนเอง ส่งผลให้มีผู้ป่วยรายใหม่เพิ่มขึ้น ดังนั้น สถานีอนามัยเฉลิมพระเกียรติ 60 พรรษา นวมินทราชินี จังหวัดตรัง จึงจัดทำโครงการคัดกรองความเสี่ยงโรคความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวานในตำบลควนเมา เพื่อให้ประชาชนเข้ารับการตรวจคัดกรองภาวะสุขภาพอย่างต่อเนื่องแจ้งผลการคัดกรองเพื่อให้ประชาชนรู้เท่าทันภาวะสุขภาพของตนเอง ดูแล ติดตาม เฝ้าระวัง กลุ่มเสี่ยง

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้กลุ่มเป้าหมายได้รับการตรวจคัดกรองโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูงเบื้องต้นอย่างน้อย ปีละ 1 ครั้ง

ร้อยละ 90 ของประชาชนอายุ 35 ปีขึ้นไปได้รับการตรวจคัดกรองโรคความดันโลหิตสูงและเบาหวานอย่างต่อเนื่อง

90.00 90.00
2 เพื่อให้กลุ่มเป้าหมายที่มีความเสี่ยงได้รับคำแนะนำในการดูแลสุขภาพและการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่ถูกต้อง

ร้อยละ 100 ประชาชนที่ทราบว่ามีความเสี่ยงได้รับคำแนะนำในการดูแลสุขภาพและการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่ถูกต้องไม่เป็นภาระในการดูแลรักษาภาระต่อครอบครัวและสังคม

100.00 100.00
3 เพื่อให้กลุ่มเป้าหมายซึ่งตรวจพบความผิดปกติและสงสัยเป็นโรคได้รับการส่งต่อและรักษาที่ถูกต้องอย่างต่อเนื่อง

ร้อยละ 90 ของกลุ่มเป้าหมายที่ป่วยด้วยโรคความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวานรายใหม่ได้รับการรักษาและมีคุณภาพชีวิตที่ดี

90.00 90.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง 40
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น

กำหนดเสร็จ

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 คัดกรองโรคความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวานในประชาชนอายุ 35 ปีขึ้นไป

ชื่อกิจกรรม
คัดกรองโรคความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวานในประชาชนอายุ 35 ปีขึ้นไป
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  1. คัดกรองโรคความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวานในประชาชนอายุ 35 ปีขึ้นไป จำนวน 2,799 คน
  2. ประเมินผลการคัดกรองโรคความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวาน
  3. ส่งต่อกลุ่มสงสัยป่วยไปยังโรงพยาบาลรัษฎา

- ค่าเอกสารแบบคัดกรองและประเมินปัจจัยเสี่ยงต่อสุขภาพ จำนวน 2,799 ชุดๆละ 1 บาท เป็นเงิน 2,799 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
2799.00

กิจกรรมที่ 2 อบรมให้ความรู้

ชื่อกิจกรรม
อบรมให้ความรู้
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

อบรมให้ความรู้และคำแนะนำเรื่องโรคความดันโลหิตและโรคเบาหวาน การดูแล ส่งเสริมสุขภาพ เพื่อป้องกันโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง แก่กลุ่มเป้าหมาย (ประชาชนอายุ 35 ปีขึ้นไป หมู่ละ 3 – 4 คน) จำนวน 40 คน

  • ค่าไวนิลขนาด 1x2 เมตร จำนวน 1 แผ่นเป็นเงิน 300 บาท

  • ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 40  ชุดๆละ 25 บาท เป็นเงิน 1,000 บาท

  • ค่าแฟ้มและปากกา จำนวน 40 ชุดๆละ 20 บาท เป็นเงิน 800 บาท

  • ค่ากระดาษ A4 จำนวน 5 รีมๆ ละ 125 บาท เป็นเงิน 625 บาท

  • ค่าคู่มือแนวทางการคัดกรองโรคเบาหวาน และโรคความดันโลหิตสูง จำนวน 40 เล่มๆละ 30 บาท เป็นเงิน 1,200 บาท

  • ค่าสมนาคุณวิทยากร จำนวน 3 ชั่วโมงๆละ 600 บาทเป็นเงิน 1,800 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
5725.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 8,524.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. เพื่อให้กลุ่มเป้าหมายได้รับการตรวจคัดกรองโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูงเบื้องต้นอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง

2. เพื่อให้กลุ่มเป้าหมายที่มีความเสี่ยงได้รับคำแนะนำในการดูแลสุขภาพและการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่ถูกต้อง

3. เพื่อให้กลุ่มเป้าหมายซึ่งตรวจพบความผิดปกติและสงสัยเป็นโรคได้รับการส่งต่อและรักษาที่ถูกต้องอย่างต่อเนื่อง


>