กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.แป-ระ

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการส่งเสริมภาวะโภชนาการเด็กปฐมวัย(อาหารเช้าเพื่อน้อง สมองสดใส)

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.แป-ระ

กองการศึดษาฯ อบต.แป-ระ

ตำบลแป-ระ อำเภอท่าแพ จังหวัดสตูล

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานอาหารและโภชนาการ

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

เด็กปฐมวัยในช่วงอายุ ๒-๕ ปี เป็นช่วงวัยที่สมอง มีการเจริญเติบโตอย่างรวดเร็ว ซึ่งปัจจัยหลักที่มีความสำคัญต่อการเจริญเติบโตของเด็ก นั่นคือ อาหาร เพราะอาหารทำให้ระบบในร่างกายเป็นปกติ การบริโภคอาหารที่ถูกหลักเพียงพอต่อความต้องการของร่างกายในทุกมื้อ นอกจากจะทำให้ร่างกายของเด็กแข็งแรงสมบูรณ์ แล้วยังทำให้มีภาวะโภชนาการที่ดีอีกด้วย โดยเฉพาะมื้อเช้าเป็นมื้อที่สำคัญที่สุด เมื่อเด็กได้รับประทานอาหารเช้าอย่างเพียงพอและมีคุณภาพเป็นประจำทุกวัน จะส่งผลต่อสมองทำให้เด็กมีสมาธิ และมีความสามารถในการเรียนรู้ได้ดี ในทางตรงข้ามหากเด็กบริโภคอาหารไม่ได้สัดส่วนกับความต้องการของร่างกายในแต่ละวัน หรือได้รับอาหารที่ไม่มีประโยชน์ จะทำให้การทำงานของร่างกายผิดปกติ อาจเจ็บป่วยเป็นโรคต่างๆหรือทำให้เกิดภาวะทุพโภชนาการได้ แต่เด็กในช่วงวัยนี้มักจะมีปัญหาเรื่องการรับประทานอาหาร เนื่องจากพ่อแม่บางคนไม่มีเวลาที่จะจัดหาอาหารมื้อเช้าให้กับลูกของตนและจากปัญหาของครอบครัวมีรายได้น้อย ทำให้มีพฤติกรรมการรับประทานอาหารที่ไม่เหมาะสม และยังไม่รู้จักเลือกรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ ดังนั้น พ่อแม่ผู้ปกครอง และผู้เลี้ยงดูเด็ก จึงมีบทบาทสำคัญในการส่งเสริมภาวะโภชนาการของเด็กในช่วงวัยนี้และให้เด็กมีพฤติกรรมในการรับประทานอาหารที่ดี มีสุขภาพแข็งแรงสมบูรณ์เจริญเติบโตสมวัย
ดังนั้นกองการศึกษาฯ องค์การบริหารส่วนตำบลแป-ระ จึงได้จัดทำ โครงการส่งเสริมภาวะโภชนาการเด็กปฐมวัย(อาหารเช้าเพื่อน้องสมองสดใส)ในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กมัสยิดบ้านใหม่นาโต๊ะขุนขึ้น เพื่อเสริมสร้างโภชนาการที่ดีแก่เด็กปฐมวัยและ ให้เด็กได้รับประทานอาหารเช้าที่มีสารอาหารครบถ้วนทุกวัน และส่งเสริมให้เด็กมีสุขภาพแข็งแรงได้รับการดูแล เฝ้าระวัง ด้านโภชนาการและการเจริญเติบโตให้เหมาะสมกับวัย เกิดความพร้อมในการเรียนรู้ สู่การเป็นเด็กที่มีสติปัญญาฉลาดสมวัย

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อส่งเสริมให้เด็กได้รับประทานอาหารเช้า ซึ่งเป็นมื้อสำคัญที่มีประโยชน์ต่อร่างกายและช่วยส่งเสริมพัฒนาการทั้ง 4 ด้านตามวัย

เด็กปฐมวัยในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กได้รับประทานอาหารเช้าที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย  ทุกวัน

0.00
2 เพื่อให้เด็กปฐมวัยในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กมีภาวะโภชนาการที่ดีและมีน้ำหนักเหมาะสมตามวัย

ร้อยละ ๘๐ ของเด็กปฐมวัยในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กมีการเจริญเติบโตและมีน้ำหนักเหมาะสมกับวัย

0.00
3 เพื่อแบ่งเบาภาระผู้ปกครอง

ลดภาระผู้ปกครอง

0.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน 151
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น

กำหนดเสร็จ

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 อาหารเช้าของหนูเพื่อโภชนาการที่สมบูรณ์

ชื่อกิจกรรม
อาหารเช้าของหนูเพื่อโภชนาการที่สมบูรณ์
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

จัดทำอาหารเช้า จำนวน151 คนๆ ละ 10 บาท จำนวน 13 วัน เป็นเงิน 19,630 บาท ผู้รับจ้างจัดเมนูอาหารเช้าที่เหมาะสมและมีประโยชน์กับเด็กปฐมวัยในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก ทุกวันทำการ

คัดกรอง ชั่งน้ำหนักส่วนสูงลงกราฟพัฒนาการรายละเอียดของกิจกรรมดังนี้

  • ครูผู้ดูแลเด็กตรวจประเมินน้ำหนัก ส่วนสูง เพื่อเป็นการคัดกรองและเฝ้าระวังภาวะทุพโภชนาการเด็ก

  • จดบันทึกพฤติกรรมการทานอาหารเช้าของเด็กปฐมวัยในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก

  • ประเมินภาวะโภชนาการ ทุกๆ 3 เดือน
ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มกราคม 2568 ถึง 30 กันยายน 2568
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
  1. เด็กได้รับประทานอาหารเช้า ซึ่งเป็นมื้อสำคัญที่มีประโยชน์ต่อร่างกายและช่วยส่งเสริมพัฒนาการทั้ง  4 ด้านตามวัย

  2. เด็กปฐมวัยในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กมีภาวะโภชนาการที่ดีและมีน้ำหนักเหมาะสมตามวัย

  3. แบ่งเบาภาระผู้ปกครอง

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
19630.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 19,630.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?


>