กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลท่างิ้ว

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการอบรมตัวแทนกรมธรรม์ประกันฟันผุ ตำบลท่างิ้ว อ.ห้วยยอด จ.ตรัง ปี 2568

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลท่างิ้ว

หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลท่างิ้ว

ตำบลท่างิ้ว

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานเด็ก เยาวชน ครอบครัว

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

สุขภาพช่องปากมีความสำคัญต่อสุขภาพของประชาชนทุกกลุ่มวัย ถือเป็นด่านแรกของการมีสุขภาพร่างกายที่ดี โดยปัญหาสุขภาพช่องปากที่พบมากในประเทศไทยคือโรคฟันผุ ซึ่งถือเป็นปัญหาหนึ่งทางด้านสาธารณสุขมาโดยตลอด โดยเฉพาะในวัยเด็กที่พบว่ามีปัญหาโรคฟันผุอยู่ค่อนข้างมากในประเทศไทย จะพบได้ตั้งแต่ฟันเริ่มขึ้นในช่วงขวบปีแรก หลังจากนั้นจะมีการผุเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ก่อให้เกิดปัญหาหลายอย่างตามมา ส่งผลต่อภาวะโภชนาการและการเจริญเติบโตของเด็ก รวมทั้งการสูญเสียฟันในวัยเด็กที่อาจสะสมจนกลายเป็นการสูญเสียฟันทั้งปากในวัยสูงอายุตามมา
จากผลการสำรวจสภาวะทันตสุขภาพของจังหวัดตรัง 3 ปีย้อนหลัง พ.ศ. 2561 - 2563 พบว่า เด็กอายุ 3 ปี มีประสบการณ์ฟันน้ำนมผุร้อยละ 49.54, 47.5 และ 41.2 มีค่าเฉลี่ยฟันผุ ถอน อุด (dmft) 2.74, 2.76,2.2 ซี่/คน ตามลำดับ โดยอำเภอห้วยยอด พบว่า เด็กอายุ 3 ปี มีประสบการณ์ฟันน้ำนมผุร้อยละ 48.3, 46.8 และ 45.5 มีค่าเฉลี่ยฟันผุ ถอน อุด (dmft) 4.47, 3.19 และ 3.6ซี่/คน ตามลำดับ ซึ่งเป็นค่าเฉลี่ยที่สูงที่สุดใน 10 อำเภอ และในภาพรวม 3 ปีย้อนหลังของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลท่างิ้ว อำเภอห้วยยอด จังหวัดตรัง พบว่า เด็กอายุ 3 ปี มีประสบการณ์ฟันน้ำนมผุร้อยละ 36.84, 39.53 และ 37.05มีค่าเฉลี่ยฟันผุ ถอน อุด (dmft) 3.21, 3.42 และ 3.34 ซี่/คน ตามลำดับ ซึ่งใกล้เคียงระดับประเทศ (รายงานสภาวะช่องปาก.ฝ่ายทันตสาธารณสุข.สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดตรัง, 2567)
จากข้อมูลข้างต้น จะเห็นได้ว่าโรคฟันผุในเด็กถือเป็นปัญหาทางด้านสาธารณสุขที่สำคัญเป็นอย่างมาก โดยสาเหตุที่สำคัญของโรคฟันผุในเด็ก คือพฤติกรรมการรับประทานอาหารจำพวกขนมกรุบกรอบ การดื่มนมรสหวาน รวมถึงทักษะการแปรงฟันของเด็ก โดยผู้ปกครองไม่มีการแปรงฟันซ้ำให้กับเด็ก ทำให้การทำความสะอาดช่องปากของเด็ก ไม่สะอาดเท่าที่ควร ดังนั้นผู้ปกครองและภาคีเครือข่ายจึงมีบทบาทสำคัญในการดูแลสุขภาพช่องปากของเด็ก เพื่อเป็นรูปแบบและการดำเนินงานเพื่อสุขภาพช่องปากที่ดีของเด็กต่อไป
โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลท่างิ้ว เล็งเห็นความสำคัญของการแก้ปัญหาสุขภาพช่องปากในกลุ่มเด็กก่อนวัยเรียน อันจะนำไปสู่การมี ทันตสุขภาพช่องปากที่ดีของเด็กในอนาคต จึงได้โครงการอบรมตัวแทนกรมธรรม์ประกันฟันผุ ตำบลท่างิ้ว อ.ห้วยยอด จ.ตรัง ปี 2568 เพื่อเป็นการกระตุ้นการดูแลสุขภาพช่องปากของเด็กและผู้ปกครอง รวมทั้งป้องกันการเกิดฟันผุลุกลามต่อไป

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 1.เพื่อสร้างแกนนำที่มีความรู้ในการป้องกันฟันผุสำหรับเด็กก่อนวัยเรียน

1.ร้อยละ 100 ของแกนนำ (ตัวแทนกรมธรรม์ประกันฟันผุ) มีความรู้ผ่านเกณฑ์ ร้อยละ 80

0.00
2 2.เพื่อสร้างแกนนำที่สามารถให้ทันตสุขศึกษาแก่ผู้ปกครองของเด็กก่อนวัยเรียนได้

1.ร้อยละ 80 ของแกนนำ (ตัวแทนกรมธรรม์ประกันฟันผุ) สามารถให้ทันตสุขศึกษาแก่ผู้ปกครองของเด็กก่อนวัยเรียนได้ 2.ร้อยละ 80 ของเด็กและผู้ปกครองได้รับการให้ทันตสุขศึกษาโดยแกนนำ (ตัวแทนกรมธรรม์ประกัน)

0.00
3 3.เพื่อสร้างแกนนำที่สามารถตรวจช่องปากแก่ผู้ปกครองของเด็กก่อนวัยเรียนได้

1.ร้อยละ 100 ของเด็กและผู้ปกครองได้รับการตรวจสุขภาพช่องปากโดยแกนนำ (ตัวแทนกรมธรรม์ประกันฟันผุ)

0.00
4 4.เพื่อให้เด็กก่อนวัยเรียนมีสุขภาพช่องปากที่ดีขึ้น

1.ร้อยละ 100 ของเด็กก่อนวัยเรียนที่ปราศจาก ฟันผุไม่มีฟันผุเพิ่ม 2.ร้อยละ 50 ของเด็กก่อนวัยเรียนที่มีฟันผุ ฟันผุลดลง

0.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน 235
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน 79
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น : 03/03/2025

กำหนดเสร็จ : 30/09/2025

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 กิจกรรมที่ 1 อบรมตัวแทนกรมธรรม์ประกันฟันผุ

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมที่ 1 อบรมตัวแทนกรมธรรม์ประกันฟันผุ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

-ค่าอาหารกลางวัน จำนวน 79 คนๆละ 2มื้อๆละ 80 บาท เป็นเงิน 12,640 บาท -ค่าอาหารว่างจำนวน 79 คนๆละ 4 มื้อๆละ 25  บาท เป็นเงิน 7,900 บาท -ค่าสื่อให้ทันตสุขศึกษา จำนวน 1 ชุดๆละ 9,770 บาท เป็นเงิน 9,770 บาท -ค่าวิทยากร จำนวน 6 ชั่วโมงๆละ 600 บาท จำนวน 4 คน  เป็นเงิน 14,400 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
26 กุมภาพันธ์ 2568 ถึง 30 กันยายน 2568
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

1.ร้อยละ 100 ของแกนนำ (ตัวแทนกรมธรรม์ประกันฟันผุ) มีความรู้ผ่านเกณฑ์ 2.ร้อยละ 80 ของแกนนำ (ตัวแทนกรมธรรม์ประกันฟันผุ) สามารถให้ ทันตสุขศึกษาแก่ผู้ปกครองของเด็ก ก่อนวัยเรียนได้ 3.ร้อยละ 80 ของเด็กและผู้ปกครองได้รับการให้ทันตสุขศึกษาโดยแกนนำ (ตัวแทนกรมธรรม์ประกัน)

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
44710.00

กิจกรรมที่ 2 กิจกรรมที่ 2 ตรวจสุขภาพช่องปากเด็กแรกเกิด ถึง 5 ปี 11 เดือน 29 วัน ในตำบลท่างิ้ว

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมที่ 2 ตรวจสุขภาพช่องปากเด็กแรกเกิด ถึง 5 ปี 11 เดือน 29 วัน ในตำบลท่างิ้ว
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

-ไม่ใช่งบประมาณ

ระยะเวลาดำเนินงาน
3 มีนาคม 2568 ถึง 30 กันยายน 2568
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

1.ร้อยละ 100 ของเด็กก่อนวัยเรียนที่ปราศจากฟันผุ ไม่มีฟันผุเพิ่ม 2.ร้อยละ 50 ของเด็กก่อนวัยเรียนที่มีฟันผุ ฟันผุลดลง

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 44,710.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1.มีแกนนำและภาคีเครือข่ายที่เข้มแข็งในการส่งเสริมและป้องกันด้านทันตสาธารณสุข
2.เด็กก่อนวัยเรียนมีสุขภาพช่องปากที่ดีปราศจากฟันผุ


>