กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพเทศบาลตำบลบ้านนา

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการแก้ไขปัญหาโรคไข้เลือดออกระบาด ปีงบประมาณ 2568

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพเทศบาลตำบลบ้านนา

1.นายสะกะริยา หมะจิ
2.นายสุรศักดิ์ เล๊าะเสะ
3.นายเนือง จันทรจิตรจริงใจ
4.นางพัฒมา หมะแหละ
5.นางสาวรอมหล๊ะ เล๊าะหา

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานเผชิญภัยพิบัติและโรคระบาด

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

ปัญหาโรคติดต่อเป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญโดยสาเหตุเกิดจากการเปลี่ยนแปลงของสภาพอากาศและสิ่งแวดล้อมทำให้เชื้อโรคจะมีชีวิตอยู่ในสิ่งแวดล้อมได้นานขึ้นเจริญเติบโตได้รวดเร็วสามารถแพร่ระบาดได้ง่ายและเร็ว เช่น โรคติดต่อทางระบบหายใจ (โรคไข้หวัดใหญ่) โรคติดต่อที่มียุงเป็นพาหะ (โรคไข้เลือดออก โรคชิกุนคุนยา) โรคติดต่อทางอาหารและน้ำ (อุจจาระร่วง) และโรคติดต่ออื่นๆ (มือเท้าปาก, ฉี่หนู, ตาแดงฯลฯ) โดยประชาชนจะต้องทราบถึงสาเหตุและแนวทางป้องกันโรคที่เกิดขึ้นในพื้นที่เพื่อให้ระมัดระวังและป้องกันปัจจัยเสี่ยงต่อโรคโดยเฉพาะในกลุ่มเด็กเล็กผู้สูงอายุผู้ที่มีโรคประจำตัวและผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
โรคไข้เลือดออก เป็นโรคติดต่อที่เป็นปัญหาสาธารณสุขของตำบลบ้านนา อำเภอจะนะจังหวัดสงขลา และเป็นโรคติดต่อประจำถิ่นที่แพร่ระบาดได้รวดเร็วเนื่องจากเป็นโรคติดต่อที่มียุงลายเป็นพาหะนำโรค มีการระบาดตลอดปีและพบมากในฤดูฝน จากการสำรวจข้อมูลการเฝ้าระวังทางระบาดวิทยาของโรคไข้เลือดออกในปีที่ผ่านมา พบว่า ประชากรส่วนใหญ่ยังไม่ตระหนักถึงความสำคัญของการกำจัดและทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลาย รวมไปถึงการดูแลสิ่งแวดล้อมทางกายภาพ ส่งผลให้อัตราป่วยของโรคไข้เลือดออกไม่ลดลง ซึ่งเป็นโรคที่พบบ่อยและเป็นอันตรายถึงแก่ชีวิต จากรายงานการเฝ้าระวังทางระบาดวิทยาของตำบลบ้านนา 5 ปี ย้อนหลัง พ.ศ. 2562, 2563,2564,2565,2566 และ ปี 2567 (ตั้งแต่ 1/1/2567 - 31/12/2567 ) พบว่า อัตราป่วย 85.07,42.54,0,121.53,243.06 และ 368.39 ต่อประชากรแสนคน (งานระบาดวิทยาสสอ.จะนะ) ซึ่งตามเกณฑ์ของกระทรวงสาธารณสุขอัตราป่วยด้วยโรคไข้เลือดออกจะต้องไม่เกิน 50 ต่อแสนประชากรและต้องลดลง 20% ของค่ามัธยฐานย้อนหลัง 5 ปี จากสถิติดังกล่าว จะเห็นได้ว่าบางปีอัตราป่วยยังสูงกว่าเกณฑ์ตัวชี้วัดอยู่มาก ดังนั้นการดำเนินงานที่สำคัญที่สุดในการควบคุมโรคติดต่อคือการป้องกันโรค ล่วงหน้า ซึ่งต้องดำเนินการก่อนการเกิดโรคหากเกิดการระบาดแล้วการควบคุมโรคจะทำได้ลำบากและสูญเสียงบประมาณในการดำเนินงานเพิ่มมากขึ้น จึงจำเป็นต้องดำเนินการป้องกันและควบคุมโรคติดต่อ เช่น โรคไข้เลือดออก โรคชิกุนคุนยา ฯลฯ โดยการมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่ายทุกภาคส่วน
ชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขตำบลบ้านนา เล็งเห็นความสำคัญของปัญหาดังกล่าว จึงได้จัดให้มีโครงการแก้ไขปัญหาโรคไข้เลือดออกระบาด ปีงบประมาณ 2568 ขึ้น เพื่อให้ประชาชนในเขตเทศบาลตำบลบ้านนา มีความตระหนักในการป้องกันและควบคุมโรคติดต่อโดยให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการวางแผนและจัดการกับปัญหาโรคติดต่อต่างๆของชุมชนเอง ส่งผลให้เกิดความยั่งยืนในการควบคุมและป้องกันโรคต่อไป

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 1.เพื่อลดอัตราป่วยด้วยโรคไข้เลือดออกของตำบลบ้านนาไม่ให้เกินเป้าหมายที่กำหนด

1.อัตราป่วยโรคไข้เลือดออก ของตำบลบ้านนา ลดลงเหลือไม่เกิน 50 ต่อประชากรแสนคน

0.00
2 2.เพื่อให้ประชาชนมีพฤติกรรมตามหลัก 5ป 1ข และ 3เก็บ 3โรค

2.ประชาชนมีพฤติกรรมในการปรับปรุงสิ่งแวดล้อมทางกายภาพตามหลัก 5ป 1ข และ 3เก็บ 3โรค มากกว่าร้อยละ 50

0.00
3 3.เพื่อสร้างความร่วมมือ และส่งเสริมการทำงานร่วมกับชุมชนและภาคีเครือข่ายในการแก้ไขปัญหาโรคติดต่อต่างๆ

3.ประชากรเข้าร่วมกิจกรรมโครงการมากกว่าร้อยละ 80

0.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 36
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 23/01/2025

กำหนดเสร็จ 30/09/2025

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 กิจกรรมที่ ๑ รณรงค์ปรับปรุงกายภาพ (Big Cleaning) ย่อยรายหมู่บ้าน 10 หมู่บ้าน

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมที่ ๑ รณรงค์ปรับปรุงกายภาพ (Big Cleaning) ย่อยรายหมู่บ้าน 10 หมู่บ้าน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

1.1 ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่มผู้เข้าร่วมกิจกรรม

(หมู่บ้านละ 30 คน X คนละ 30 บาท X 10 หมู่บ้าน)

เป็นเงิน  9,000 บาท

1.2 ค่าจัดทำแผ่นพับความรู้เรื่องโรคไข้เลือดออก
(หมู่บ้านละ 100 แผ่น X แผ่นละ 1 บาท X 10 หมู่บ้าน)

เป็นเงิน  1,000 บาท

รวมเป็นเงินทั้งสิ้น 10,000 บาท (หนึ่งหมื่นบาทถ้วน)

ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
10000.00

กิจกรรมที่ 2 กิจกรรมที่ 2 พ่นหมอกควัน/พ่นละอองฝอยกรณี เมื่อเกิดผู้ป่วย แบบเร่งด่วนต้องควบคุมโรคภายใน 24 ชั่วโมง

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมที่ 2 พ่นหมอกควัน/พ่นละอองฝอยกรณี เมื่อเกิดผู้ป่วย แบบเร่งด่วนต้องควบคุมโรคภายใน 24 ชั่วโมง
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

2.1 ค่าจ้างเหมาในการพ่นหมอกควัน/พ่นละอองฝอยรวมค่าน้ำมันเชื้อเพลิง

(จำนวน 36 ราย X พ่น 2 ครั้ง X ครั้งละ 600 บาท)

เป็นเงิน   43,200 บาท

รวมเป็นเงินทั้งสิ้น 43,200 บาท (สี่หมื่นสามพันสองร้อยบาทถ้วน)

ระยะเวลาดำเนินงาน
23 มกราคม 2568 ถึง 30 กันยายน 2568
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
43200.00

กิจกรรมที่ 3 กิจกรรมที่ 3 จัดซื้อวัสดุอื่นๆ เพื่อใช้ในกิจกรรมป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมที่ 3 จัดซื้อวัสดุอื่นๆ เพื่อใช้ในกิจกรรมป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

3.1 สเปรย์จำกัดยุง (300 cc ) ( 38 กระป๋อง x 80 บาท)   
เป็นเงิน 3,040 บาท 3.2 โลชั่นทากันยุง (8 cc) (1 ซอง x 8 บาท x 95 ซอง) 
เป็นเงิน 760  บาท 3.3 ทรายอะเบท (1 ถัง x ๓,๐๐๐ บาท) 
เป็นเงิน 3,000  บาท รวมเป็นเงินทั้งสิ้น 6,800 บาท (หกพันแปดร้อยบาทถ้วน)

ระยะเวลาดำเนินงาน
23 มกราคม 2568 ถึง 30 กันยายน 2568
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
6800.00

กิจกรรมที่ 4 กิจกรรมที่ 4 สรุปผลการดำเนินงานปัญหาอุปสรรคในการดำเนินงานและหาโอกาสพัฒนาต่อไป

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมที่ 4 สรุปผลการดำเนินงานปัญหาอุปสรรคในการดำเนินงานและหาโอกาสพัฒนาต่อไป
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ไม่มีค่าใช้จ่าย

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 กันยายน 2568 ถึง 30 กันยายน 2568
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 60,000.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. ประชาชนมีความรู้เรื่องโรคและวิธีการควบคุมป้องกันโรคไข้เลือดออกและโรคระบาดที่พบบ่อยในพื้นที่

2. ประชาชนเกิดความตระหนักและมีส่วนร่วมในการดำเนินการควบคุมป้องกันโรคไข้เลือดออกและโรคระบาดที่พบบ่อยในพื้นที่

3. ค่า HI และค่า CIลดลงตามเกณฑ์ที่กำหนด

4. อัตราป่วยโรคไข้เลือดออกของเทศบาลตำบลบ้านนาลดลง

5. ประชาชนมีความพึงพอใจต่อโครงการอยู่ในระดับดีขึ้นไป


>