2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
3. สถานการณ์
หลักการและเหตุผล (ระบุที่มาของการทำโครงการ) ปัจจุบันโรคมะเร็งเป็นสาเหตุการตายอันดับหนึ่งในประเทศไทยและมีแนวโน้มที่เพิ่มขึ้น โรคมะเร็งที่พบมากที่สุดในประเทศไทย คือ โรคมะเร็งตับ รองลงมาคือมะเร็งปอด มะเร็งปากมดลูก มะเร็งเต้านมตามลำดับ ในประเทศไทย โรคมะเร็งปากมดลูกเป็นโรคมะเร็งที่พบเป็นอันดับหนึ่งในสตรีไทย มีผู้ป่วยรายใหม่ประมาณปีละ 6,300 ราย พบมากที่สุดอายุระหว่างอายุ 45-50 ปี ระยะที่พบส่วนใหญ่อยู่ในระยะลุกลาม การรักษาจึงเป็นไปได้ยาก ต้องเสียค่าใช้จ่ายในการรักษาสูง การป้องกัน และควบคุมโรคมะเร็งปากมดลูก ต้องมีการค้นหา โดยการตรวจหาเซลล์มะเร็งให้พบตั้งแต่อยู่ในระยะเริ่มแรก และในระยะก่อนเป็นมะเร็ง ซึ่งสามารถรักษาให้หายได้ และเสียค่าใช้จ่ายน้อยกว่าการรักษาในระยะลุกลาม ปัจจุบัน มีวิธีการตรวจแบบเจาะลึกระดับ DNA ด้วยเทคนิค ‘HPV DNA Testing’ ที่สามารถค้นหาเชื้อเอชพีวีอย่างแม่นยำตั้งแต่ระยะแรก ทำให้สามารถรักษาได้ทันท่วงที ก่อนที่เชื้อจะพัฒนาเป็นมะเร็งปากมดลูกและการคัดกรองด้วยการทำ HPV DNA Testing ในสตรีกลุ่มเป้าหมายอายุ 30-59 ปี ทำให้ช่วยลดอัตราการเกิดและอัตราการตายจากโรคมะเร็งปากมดลูกได้ เนื่องจากโรคมะเร็งเป็นโรคที่เป็นแล้วจะทำให้เกิดอาการป่วยและเสียชีวิตก่อนวัยอันสมควร ซึ่งผู้ป่วยที่ไปรับการรักษาพยาบาลส่วนใหญ่มักจะไปรับการรักษาเมื่ออยู่ในระยะที่เป็นมากแล้ว ทำให้ผลการรักษาไม่ได้ผลดีเท่าที่ควรแต่ในขณะเดียวกันโรคมะเร็งเป็นโรคหนึ่งที่สามารถรักษาให้หายขาดได้ถ้าหากว่าได้รับการตรวจวินิจฉัยและมาพบแพทย์ตั้งแต่ในระยะเริ่มแรก ปัจจุบันสตรีจำนวนไม่น้อยที่ยังขาดความรู้ในเรื่องโรคมะเร็งปากมดลูกและมะเร็งเต้านม โดยสตรีควรตรวจมะเร็งปากมดลูก 5 ปี และตรวจหาก้อนผิดปกติในเต้านมทุกปี ผลการดำเนินงานปี 2568 สตรีที่ต้องรับการตรวจมะเร็งปากมดลูกด้วยตนเอง(seal-test) จำนวน 1,011 ราย ยังไม่ได้รับการคัดกรองมะเร็งปากมดลูก และสตรีอายุ 30-70 ปีจำนวน 1,575 ราย ยังไม่ได้รับการตรวจคัดกรองเต้านมด้วยตนเอง โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลอ่าวตง ได้ตระหนักดีในบทบาทหน้าที่ในการส่งเสริมสุขภาพ และป้องกันโรคแก่ประชาชน เพื่อที่จะพัฒนาคุณภาพชีวิตแก่ประชาชน และเป็นการลดภาระค่าใช้จ่ายที่จะต้องดูแลรักษาผู้ป่วยโรคมะเร็ง เป็นการสนองตามนโยบายประกันสุขภาพอีกทางหนึ่ง จึงได้จัดทำโครงการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกและมะเร็งเต้านมขึ้น
ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด
- บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
- ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
1.เพื่อให้หญิง อายุ 30-70 ปีจำนวน 1,575 ราย ได้รับการตรวจโรคมะเร็งเต้านมด้วยตนเอง
ตัวชี้วัดความสำเร็จ :
1.ร้อยละ 80 ของหญิงอายุ 30-70 ปีได้รับการตรวจมะเร็งเต้านม
2
2.เพื่อให้หญิง อายุ 30-59 ปีจำนวน 1,011ราย ได้รับการตรวจโรคมะเร็งปากมดลูกทุก 5 ปี ปีละ20 %
ตัวชี้วัดความสำเร็จ :
๒.ร้อยละ 20 ของหญิงอายุ 30-59ปี ได้รับการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก
3
3.เพื่อให้หญิง อายุ 30-70 ปีที่ตรวจพบความผิดปกติได้รับการรักษาที่ถูกต้อง
4. เพื่อให้ประชาชน อายุ 50 -70 ปี ได้รับการคัดกรองมะเร็งลำไส้
ตัวชี้วัดความสำเร็จ :
1.ร้อยละ 100 ของคนที่ตรวจพบความผิดปกติได้รับการส่งต่อการรักษาที่ถูกต้อง
5. กลุ่มเป้าหมาย
6. ระยะเวลาดำเนินงาน
วันเริ่มต้น 01/04/2025
กำหนดเสร็จ 31/07/2025
7. วิธีการดำเนินงาน
- กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
- งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด
หมายเหตุ :
8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง
ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?