กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลโตนดด้วน

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการอบรมให้ความรู้การบริโภคเครื่องดื่มที่มีประโยชน์จากสมุนไพรในท้องถิ่น

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลโตนดด้วน

โรงเรียนวัดป่าตอ

โรงเรียนวัดป่าตอ

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานอาหารและโภชนาการ

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ร้อยละของนักเรียนที่ดื่มน้ำอัดลมและเครื่องดื่มรสหวานจัดเป็นประจำ (มากกว่า 5 วันต่อสัปดาห์)

 

70.00

จากการสังเกตพฤติกรรมการบริโภคของนักเรียนโรงเรียนวัดป่าตอ พบว่า นักเรียนชอบรับประทานน้ำอัดลม น้ำชง เช่น ชาเย็น ชาเขียว โกโก้ นมเย็น ซึ่งน้ำเหล่านี้ มีส่วนผสมของน้ำตาลในปริมาณสูง และมีส่วนประกอบของไขมันทรานส์ ส่วนประกอบเหล่านี้ เมื่อนักเรียนรับประทานเข้าไปอย่างต่อเนื่อง ในอนาคตจะส่งผลให้นักเรียน เป็นโรคอ้วน โรคเบาหวาน โรคไขมันในเลือด โรคหลอดเลือด เป็นต้น
ดังนั้นเพื่อป้องกัน และสร้างความเข้าใจที่ถูกต้องให้กับนักเรียน ในการเลือกบริโภคเครื่องดื่มที่เป็นประโยชน์ต่อร่างกาย และหันมาเห็นคุณค่าของสมุนไพรในท้องถื่น เสริมสร้างสุขภาพที่ดี โรงเรียนวัดป่าตอจึงคิดโครงการอบรมให้ความรู้การบริโภคเครื่องดื่มที่มีประโยชน์จากสมุนไพรในท้องถิ่น เพื่อสร้างความรู้ความเข้าใจในการเลือกรับประทานอาหารเครื่องดื่มที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย และรู้จักวิธีการแปรรูปน้ำสมุนไพรในท้องถิ่น เพื่อเสริมสร้างสุขภาพที่ดีในอนาคต เพราะคุณภาพชีวิตและสุขภาพของนักเรียน เป็นสิ่งที่โรงเรียนต้องตระหนักและเห็นความสำคัญ เพื่อนำไปสู่การมีสุขภาวะที่ดีของนักเรียนอย่างยั่งยืนต่อไป

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้นักเรียนมีความรู้ความเข้าใจในการเลือกบริโภคเครื่องดื่มที่มีประโยชน์และไม่ส่งโทษต่อร่างกาย

นักเรียนมีความรู้ความเข้าใจในเรื่องการเลือกบริโภคเครื่องดื่มที่มีประโยชน์และไม่ส่งโทษต่อร่างกาย

70.00 70.00
2 เพื่อให้นักเรียนมีความรู้เกี่ยวกับสมุนไพรในท้องถิ่นและสามารถทำเครื่องดื่มสมุนไพรได้

นักเรียนมีความรู้และทักษะในการทำเครื่องดื่มสมุนไพรเพิ่มขึ้นและสามารถทำเครื่องดื่มสมุนไพรได้

60.00 60.00
3 เพื่อให้นักเรียนได้ประโยชน์จากการบริโภคเครื่องดื่มสมุนไพร

นักเรียนไ้ด้ประโยชน์จากการบริโภคเครื่องดื่มสมุนไพร

70.00 70.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 49
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น : 31/01/2025

กำหนดเสร็จ : 31/03/2025

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 สร้างความรู้ความเข้าใจ

ชื่อกิจกรรม
สร้างความรู้ความเข้าใจ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ให้ความรู้ เรื่อง เครื่องดื่มสมุนไพร ดังนี้ -ทำความเข้าใจวิธีการผลิตเครื่องดื่มสมุนไพร
-ให้ความรู้เรื่องการเลือกบริโภคเครื่องดื่มที่มีประโยชน์ ไม่ส่งโทษต่อร่างกาย
-ให้ความรู้เรื่องเครื่องดื่มสมุนไพร
-เรื่องเครื่องดื่มสมุนไพร
มีค่าใช้จ่าย ดังนี้ -ป้ายโครงการ ขนาด 1.5x2.5 เมตร = 500 บ. -ค่าวิทยากร จำนวน 1 คน = 500 บ. -ค่าอาหารว่าง จำนวน 60 ชุด = 1,200 บ. -ค่าแฟ้มเอกสาร จำนวน 50 ซอง = 500 บ. -ค่าดินสอ จำนวน 50 ด้าม = 250 บ. -ค่าสมุด จำนวน จำนวน 50 เล่ม = 250 บ. -ค่ากระเจี๊ยบ จำนวน 500 กรัม = 250 บ. -ค่าใบเตย จำนวน 100 ใบ = 100 บ. -ค่าดอกอัญชัน จำนวน 500 กรัม = 250 บ. -ค่ามะนาว จำนวน 50 ลูก = 250 บ. -ค่าน้ำตาลหญ้าหวาน จำนวน 2 กก. = 300 บ. -ค่าน้ำดื่มสะอาด จำนวน 3 ถัง = 60 บ. -ค่าเครื่องปั่น จำนวน 1 เครื่อง = 990 บ. -ค่ากระชอน จำนวน 5 อัน = 300 บ. -ค่าผ้าขาวบาง จำนวน 5 ผืน = 150 บ. -ค่ากะละมัง จำนวน 5 ใบ = 600 บ. -ค่าหม้อต้ม จำนวน 1 ใบ = 250 บ.
-ค่าเหยือกตวง จำนวน 3 ใบ = 300 บ. -ค่าขวด จำนวน 150 ขวด = 350 บ. -แก๊ส จำนวน 1 ถัง = 1,800 บ.

ระยะเวลาดำเนินงาน
27 กุมภาพันธ์ 2568 ถึง 27 กุมภาพันธ์ 2568
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

-นักเรียนเข้าใจวิธีการผลิตเครื่องดื่มสมุนไพร -นักเรียนมีความรู้เรื่องการเลือกบริโภคเครื่องดื่มที่มีประโยชน์ ไม่ส่งโทษต่อร่างกาย -นักเรียนมีความรู้เรื่องเครื่องดื่มสมุนไพร -นักเรียนมีความรู้เกี่ยวกับเรื่องเครื่องดื่มสมุนไพร

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
9150.00

กิจกรรมที่ 2 ส่งเสริมการบริโภคน้ำสมุนไพร

ชื่อกิจกรรม
ส่งเสริมการบริโภคน้ำสมุนไพร
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ส่งเสริมการบริโภคน้ำสมุนไพร -การจัดนิทรรศการ -การจัดจุดบริการน้ำดื่มสมุนไพรในโรงเรียน มัค่าใช้จ่าย ดังนี้
-ค่ากระดาษ A4 จำนวน 1 รีม = 95 บ. -ค่าคูเลอร์น้ำ 3 ถัง = 300 บ. -ค่ากระดาน 1 อัน = 350 บ. -ค่าตะกร้า 1 ใบ = 100 บ.

ระยะเวลาดำเนินงาน
6 มีนาคม 2568 ถึง 6 มีนาคม 2568
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

-นักเรียนได้จัดแสดงนิทรรศการเพื่อเผยแพร่ความรู้แก่บุคคลที่สนใจ -นักเรียนมีจุดบริการน้ำดื่มภายในโรงเรียน

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
845.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 9,995.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

-นักเรียนมีความรู้ความเข้าใจในเรื่องการบริโภคเครื่องดื่มที่มีประโยชน์และไม่ส่งโทษต่อร่างกาย
-นักเรียนมีความรู้และทักษะในการทำเครื่องดื่มสมุนไพรเพิ่มขึ้นและสามารถทำเครื่องดื่มสมุนไพรได้


>