กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

โครงการอบรมให้ความรู้เรื่องส่งเสริมสุขภาพหลัก 3 อ. (อาหาร ออกกำลังกาย อารมณ์) 2 ส. (ไม่สูบบุหรี่ ไม่ดื่มสุรา) เพื่อสุขภาพที่ดีของประชาชนในชุมชนท่าอ้อย ประจำปีงบประมารณ 2568

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลทุ่งหว้า

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการอบรมให้ความรู้เรื่องส่งเสริมสุขภาพหลัก 3 อ. (อาหาร ออกกำลังกาย อารมณ์) 2 ส. (ไม่สูบบุหรี่ ไม่ดื่มสุรา) เพื่อสุขภาพที่ดีของประชาชนในชุมชนท่าอ้อย ประจำปีงบประมารณ 2568

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลทุ่งหว้า

คณะกรรมการชุมชนท่าอ้อย

1. นายนันทวัฒน์จิตต์หลัง
2. นางสาวจารณีสังข์ทอง
3. นางสาวนิรชาเเก้วดำ
4. นางอุไรวรรณหีมปอง
5. นางปอลิย๊ะเหร็บควนเคี่ยม

ณอาคารจุดชมวิวท่าอ้อย

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานกิจกรรมทางกาย

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

ปัจจุบันประชาชนส่วนใหญ่จะมีปัญหาด้านสุขภาพทั้งในเรื่องของการเจ็บป่วยและปัญหาโรคประจำตัว เช่น โรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน โรคหัวใจ และโรคมะเร็ง ซึ่งโรคดังกล่าว นอกจากจะมีปัจจัยจากพันธุกรรมและยังมีสาเหตุมาจากพฤติกรรมที่เกี่ยวข้องโดยในเรื่องของการรับประทานอาหาร ออกกำลังกาย การดูแลสุขภาพจิต ก็ยังเป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้เกิดปัญหาด้านสุขภาพ ซึ่งการส่งเสริมสุขภาพหรือการดูแลสุขภาพ ในเรื่องของ 3 อ. คือ (อาหาร ออกกำลังกาย อารมณ์) 2 ส (ไม่สูบบุหรี่ ไม่ดื่มสุรา) สามารถที่จะช่วยให้สุขภาพแข็งแรงป้องกันโรคต่างๆได้ รวมทั้งควบคุมความรุนแรงและภาวะแทรกซ้อนของโรคประจำตัวได้โดยการออกกำลังกายที่เหมาะสมและเลือกรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ เช่น ลดหวาน มัน เค็มและอาหารรสจัด เน้นรับประทานผักและผลไม้ รวมทั้งดูแลสุขภาพจิต โดยเน้นกิจกรรมทางศาสนาเป็นตัวช่วย ซึ่งจะทำให้ประชาชนสามารถดำรงชีวิตอย่างมีความสุขดังนั้น ทางคณะกรรมการชุมชนได้ตระหนักถึงภาวะสุขภาพของประชาชนในพื้นที่จึงได้จัดทำโครงการอบรมให้ความรู้เรื่องส่งเสริมสุขภาพหลัก 3 อ. (อาหาร ออกกำลังกาย อารมณ์ ) 2 ส. (ไม่สูบบุหรี่ ไม่ดื่มสุรา) เพื่อสุขภาพที่ดีของประชาชนในชุมชนท่าอ้อย เพื่อให้ประชาชนได้รับความรู้และสามารถปรับเปลี่ยนพฤติกรรมด้านสุขภาพเพื่อลดและชะลอการเกิดโรคต่างๆต่อไป

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 1.เพื่อให้ประชาชนในชุมชน มีความรู้ เจตคติ ทักษะปฏิบัติตนเกี่ยวกับการดูแลตนเองได้อย่างถูกต้อง

2.ประชาชนในชุมชนได้รับความรู้ความเข้าใจด้าน เจตคติ ทักษะปฏิบัติตนเกี่ยวกับการดูแลตนเองได้อย่างถูกต้อง ร้อยละ 90

100.00 100.00
2 2. เพื่อให้ประชาชนในชุมชนมีสุขภาพร่างกายแข็งแรงไม่ป่วยด้วยโรคหรือได้รับอุบัติเหตุที่เกิดจากการปฏิบัติตนไม่ถูกต้อง

2.ประชาชนในชุมชนมีความรู้ความเข้าใจในเรื่องสุขภาพร่างกายแข็งแรงไม่ป่วยด้วยโรคหรือได้รับอุบัติเหตุที่เกิดจากการปฏิบัติตนไม่ถูกต้อง ร้อยละ 90

100.00 100.00
3 3. เพื่อให้ประชาชนในชุมชนได้มีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการรับประทานอาหารที่ถูกต้องตามหลักโภชนาการ

3.ประชาชนในชุมชนได้มีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการรับประทานอาหารที่ถูกต้องตามหลักโภชนาการ ร้อยละ 90

100.00 100.00
4 4. เพื่อให้ประชาชนลดความเสี่ยงในการเกิดโรคและป้องกันภาวะแทรกซ้อน

4.ประชาชนได้รับความรู้ในเรื่องของการลดความเสี่ยงในการเกิดโรคและป้องกันภาวะแทรกซ้อน ร้อยละ 90

100.00 100.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 50
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/02/2025

กำหนดเสร็จ 30/09/2025

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 กิจกรรมหลัก - กิจกรรมอบรมให้ความรู้ เรื่องส่งเสริม สุขภาพหลัก 3 อ. (อาหาร ออกกำลังกาย อารมณ์) 2 ส.(ไม่สูบบุหรี่ ไม่ดื่มสุรา) กิจกรรมย่อย กิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ เรื่องการส่งเสริมสุขภาพหลัก 3 อ. (อาหาร ออกกำลังกาย อารมณ์) 2 ส. (ไม่สูบบุหรี่ ไม่ดื่มส

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมหลัก - กิจกรรมอบรมให้ความรู้ เรื่องส่งเสริม สุขภาพหลัก 3 อ. (อาหาร ออกกำลังกาย อารมณ์) 2 ส.(ไม่สูบบุหรี่ ไม่ดื่มสุรา) กิจกรรมย่อย กิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ เรื่องการส่งเสริมสุขภาพหลัก 3 อ. (อาหาร ออกกำลังกาย อารมณ์) 2 ส. (ไม่สูบบุหรี่ ไม่ดื่มส
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

รายละเอียดงบประมาณ
1. ค่าตอบแทนวิทยากร (ช่วงเช้า) จำนวน 1 คน จำนวน  3 ชั่วโมงๆละ 600 บาท  เป็นเงิน  1,800  บาท 2.  ค่าตอบแทนวิทยากรกลุ่ม (ช่วงบ่าย) จำนวน 2 คน ๆละ 3 ชั่วโมงๆละ 600 บาท เป็นเงิน 3,600.-บาท 3. ค่าอาหารว่าง 2 มื้อๆ ละ 35 บาท  จำนวน 50  คน  เป็นเงิน  3,500  บาท  4. ค่าอาหารกลางวัน 1  มื้อๆละ  70  บาท จำนวน 50 คน เป็นเงิน  3,500  บาท  5.  ค่าป้ายไวนิล  จำนวน 1  ป้าย ขนาด 1.20 x 2.8 เมตร  เป็นเงิน  500  บาท  *ค่าวัสดุ/อุปกรณ์ ที่ใช้ในโครงการ 1. ค่ากระเป๋าผ้าใส่เอกสาร จำนวน 50 ใบๆ ละ  60 บาท เป็นเงิน 3,000.-บาท 2. ค่าสมุด จำนวน 50 เล่ม ๆ ละ 10 บาท  เป็นเงิน 500 บาท 3. ค่าปากกา จำนวน 50 ด้าม ๆ ละ 10 บาท  เป็นเงิน 500 บาท  4. ค่าปากกาเคมี จำนวน 15 ด้าม ๆ ละ 15 บาท เป็นเงิน 225 บาท   5. ค่ากระดาษบรู๊ฟ จำนวน 9 แผ่น ๆ ละ 5 บาท เป็นเงิน 45 บาท  6. ค่าจัดทำแผ่นพับประชาสัมพันธ์โครงการฯ จำนวน 90 แผ่น ๆ ละ 7 บาท เป็นเงิน 630  บาท  7. ค่าจัดทำเอกสารแบบทดสอบก่อน - หลังการอบรม จำนวน 100  แผ่นๆ ละ 2 บาท เป็นเงิน 200 บาท (ทุกรายการถัวเฉลี่ยได้)

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 กุมภาพันธ์ 2568 ถึง 30 กันยายน 2568
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ประชาชนในชุมชนมีความรู้ตระหนักและเล็งเห็นความสำคัญในเรื่องการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการดูแลสุขภาพ  3 อ. (อาหาร ออกกำลังกาย อารมณ์) 2 ส. (ไม่สูบบุหรี่ ไม่ดื่มสุรา) ที่ถูกต้อง ลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรค ลดการเกิดผู้ป่วยรายใหม่อันจะนำไปสู่การเสริมสร้างสุขภาพ มีสุขภาพที่ดีต่อไป

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
18000.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 18,000.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

ประชาชนในชุมชนมีความรู้ตระหนักและเล็งเห็นความสำคัญในเรื่องการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการดูแลสุขภาพ๓ อ. (อาหาร ออกกำลังกาย อารมณ์) ๒ ส. (ไม่สูบบุหรี่ ไม่ดื่มสุรา) ที่ถูกต้อง ลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรค ลดการเกิดผู้ป่วยรายใหม่อันจะนำไปสู่การเสริมสร้างสุขภาพ มีสุขภาพที่ดีต่อไป


>