กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลปะลุรู

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการพัฒนาศักยภาพการทำงานของสมองและชะลอการเกิดภาวะสมองเสื่อมในผู้สูงอายุ ปีงบประมาณพ.ศ.2568

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลปะลุรู

ศูนย์ดูแลและพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุ เทศบาลตำบลปะลุรู

1.นางจันทิมาสติรักษ์
2.นายวีระขันธจีระวัฒน์
3.นางสูหัยลาหินมะ
4.นางซูไวบ๊ะห์สมานธรรมกุล
5.นายฮาซันลูโล๊ะ

พื้นที่เทศบาลตำบลปะลุรู

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานผู้สูงอายุ

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

ประเทศไทยนั้น จากรายงานการสำรวจสุขภาพประชาชนโดยการตรวจ ร่างกายครั้งที่ 4 พ.ศ. 2551-2552 โดยสำนักงานสำรวจสุขภาพประชาชนไทย สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข ซึ่งทำการสำรวจประชาชนทั้งสิ้น 21,960 คน พบว่าผู้สูงอายุ 60 ปีขึ้นไป มีภาวะสมองเสื่อม ร้อยละ 12.4 โดยพบในผู้สูงอายุชายร้อยละ 9.8 ขณะที่ผู้สูงอายุหญิงพบที่ร้อยละ 15.1 เทียบเท่าผู้สูงอายุวัยเกิน 60 ปี ทุก ๆ 8 คน จะพบเป็นโรคสมองเสื่อม 1 คน ทาง ศูนย์ดูแลและพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุ เทศบาลตำบลปะลุรู ได้เล็งเห็นถึงความสำคัญในการพัฒนาศักยภาพการทำงานของสมองและชะลอการเกิดภาวะสมองเสื่อมในผู้สูงอายุของตำบลปะลุรูง ได้จัดทำโครงการพัฒนาศักยภาพการทำงานของสมองและชะลอการเกิดภาวะสมองเสื่อมในผู้สูงอายุของตำบลปะลุรู ปีงบประมาณพ.ศ.2568 ขึ้น เพื่อส่งเสริมสุขภาพ และพัฒนาทักษะ กาย ใจ เป็นผู้สูงวัยที่มีคุณภาพชีวิตที่ดีต่อไป

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้ผู้สูงอายุที่มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับโรคสมองเสื่อม

ร้อยละ 90 ของผู้สูงอายุที่เข้าร่วมกิจกรรมมีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับโรคสมองเสื่อม

50.00 50.00
2 ผู้สูงอายุทราบถึงแนวทางในการดูแลสุขภาพตนเองเพื่อป้องกันการเกิดโรคสมองเสื่อม

ร้อยละ 90 ของผู้สูงอายุที่เข้าร่วมกิจกรรมทราบถึงแนวทางในการดูแลสุขภาพตนเองเพื่อป้องกันการเกิดโรคสมองเสื่อม

50.00 50.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ 50
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น : 01/03/2025

กำหนดเสร็จ : 31/07/2025

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 อบรมให้ความรู้

ชื่อกิจกรรม
อบรมให้ความรู้
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

อบรมให้ความรู้ อสม./ผู้ดูแลผู้สูงอายุ เกี่ยวกับการใช้โปรแกรมพัฒนาศักยภาพสมองในผู้สูงอายุ เพื่อป้องกันและชะลอการเกิดภาวะสมองเสื่อม
กิจกรรมที่ 1 สุภาพจิตดี ชีวีมีสุข 1. ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 125 คน * 25 บาท * 2 มื้อ รวมเป็นเงิน6,250 บาท 2. ค่าอาหารกลางวัน จำนวน 125 คน * 50 บาท * 1 มื้อ เป็นเงิน6,250 บาท 3. ค่าวิทยากร จำนวน 1 คน * 5 ชม.ๆละ 500 บาท เป็นเงิน 2,500 บาท 4. ค่าไวนิล ขนาด 1 * 3 เมตร เป็นเงิน 750 บาท 5. ค่าวัสดุ อุปกรณ์ในการอบรม - อุปกรณ์อื่น ๆ ที่จำเป็นในการดำเนินโครงการ 3,000 บาท
เช่น ตาราง 9 ช่อง อุปกรณ์ที่ในการฝึกสมอง สื่อโรลอัพ เรื่องความสามารถของสมองและการป้องกันการเกิดสมองเสื่อม
( หมายเหตุ : ทุกรายการสามารถถั่วจ่ายกันได้ )

รวมเป็นเงิน18,750 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มีนาคม 2568 ถึง 31 กรกฎาคม 2568
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
18750.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 18,750.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. ผู้เข้าร่วมโครงการได้รับความรู้เรื่องโรคที่เกี่ยวกับสุขภาพจิตเพิ่มขึ้นร้อยละ 50
2. ผู้เข้าร่วมโครงการสามารถจัดการสุขภาพจิตเบื้องต้นได้เพิ่มขึ้น ร้อยละ 50


>