กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลนาโหนด

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการอย.น้อยรอบรู้ ใส่ใจสุขภาพ ปีงบประมาณ 2568

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลนาโหนด

ชมรม อสม.รพ.สต.บ้านต้นไทร

1.นายสมศักดิ์ ปุรินทราภิบาล ประธานชมรม อสม.รพ.สต.บ้านต้นไทร
2.นางสุกัญญา ขำยา รองประธานชมรม อสม.รพ.สต.บ้านต้นไทร
3.นางหทัยพร ดำผ้าย เลขานุการชมรม อสม.รพ.สต.บ้านต้นไทร
4.นางจุไร นาคมิตร ประชาสัมพันธ์ ชมรม อสม.รพ.สต.บ้านต้นไทร
5.นางสุรีรัตน์ คงชู เหรัญญิก ชมรม อสม.รพ.สต.บ้านต้นไทร

ห้องประชุมรพ.สต.บ้านต้นไทร

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานอาหารและโภชนาการ

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 จำนวนแกนนำนักเรียนเฝ้าระวังความเสี่ยงด้านสุขภาพของตนเองและนักเรียนในโรงเรียน

มีแกนนำนักเรียน จำนวน 10 คน

10.00
2 ร้อยละแกนนำนักเรียนมีความรู้ความเข้าใจการดูแลสุขภาพและโภชนาการ

แกนนำนักเรียน จำนวน 10 คน มีความรู้ความเข้าใจก่อนการอบรมการดูแลสุขภาพและโภชนาการ อยู่ในระดับดี ร้อยละ 50

50.00

เด็กที่อยู่ในวัยเรียน ส่วนใหญ่มักมีพฤติกรรมในการเลือกซื้อ หรือใช้ผลิตภัณฑ์ที่มีสีสันต้องตา หรือกำลังอยู่ในช่วงของการโฆษณา ตามสื่อประเภทต่างๆ โดยมิได้คำนึงถึงประโยชน์ อันตราย หรือความปลอดภัย สักเท่าไรพฤติกรรมดังกล่าวนี้อาจเกิดจาก หลายสาเหตุ ตัวอย่างเช่น วิถีการดำเนินชีวิตที่เปลี่ยนไปจากเดิมเป็นวิถีชีวิตแบบรีบเร่ง และเอาตัวรอดมากขึ้น มีสื่อประเภทต่างๆ เข้ามามีบทบาทในสังคมปัจจุบัน เพิ่มมากขึ้นให้ผู้บริโภคอาจหลงเชื่อจนกระทั่งตัดสินใจเลือกซื้อใช้ผลิตภัณฑ์นั้นๆ ซึ่งต่างจากในอดีต ประชากรมักดำรงชีวิตแบบเอื้ออาทรอีกทั้งด้านการผลิต ยังคงใช้วัสดุจากธรรมชาติเป็นส่วนประกอบมากกว่า รวมถึงมีการเอารัดเอาเปรียบผู้บริโภคด้วยกลวิธีต่างๆ ของผู้ผลิตยังไม่มากเช่นปัจจุบัน นอกจากนี้กลุ่มเยาวชนที่อยู่ในวัยเรียนโดยเฉพาะผู้เรียน อายุระหว่าง 10 – 18 ปีถือว่าเป็นกลุ่มผู้บริโภคอีกกลุ่มหนึ่งที่มีความสำคัญ หากกลุ่มเยาวชนดังกล่าวไม่ได้รับความรู้เกี่ยวกับการเลือกซื้อผลิตภัณฑ์ประเภทต่างๆ ซึ่งผู้ผลิตได้ผลิตออกมาเพื่อสนองความต้องการของผู้บริโภคอย่างหลากหลายมีทั้งผลิตภัณฑ์ที่ถูกต้องตามมาตรฐานที่กำหนด แต่ก็ยังคงมีผลิตภัณฑ์ที่ผู้ผลิตได้แอบอ้างสรรพคุณมีการโฆษณาชวนเชื่อเกินความเป็นจริง หรืออาจมีผลิตภัณฑ์ที่มีสารปนเปื้อนเป็นอันตราย ปะปนอยู่เป็นจำนวนมาก พร้อมกันนี้ควรให้ความรู้เกี่ยวกับการตรวจสอบสารปนเปื้อนในอาหาร และการอ่านดูข้อมูลโภชนาการจากฉลากผลิตภัณฑ์ควบคู่ไปด้วย หากเยาวชนกลุ่มดังกล่าวมีความรู้และมีทักษะในการเลือกซื้อใช้ผลิตภัณฑ์ประเภทต่างๆ จะทำให้สามารถนำไปใช้ในชีวิตประจำวันจนสามารถทำให้ปัญหาด้านสุขภาพหรือปัญหาด้านสิ่งแวดล้อมต่างๆ ลดน้อยลงได้พร้อมทั้งให้ความรู้ให้คำปรึกษาแก่บุคคลในครอบครัว หรือบุคคลทั่วไปได้อย่างมั่นใจ ทางชมรมอสม.รพ.สต.บ้านต้นไทร จึงเกิดความสนใจที่จะแก้ปัญหาดังกล่าวจึงได้ดำเนินการจัดกิจกรรมสร้างและอบรมแกนนำอย.น้อย แก่นักเรียนชั้น ป.4-ป.5 ในโรงเรียนจำนวน 3 โรง ได้แก่ โรงเรียนวัดหัวหมอน โรงเรียนวัดบ่วงช้าง และโรงเรียนบ้านต้นไทร พร้อมทั้งขยายการจัดกิจกรรมต่างๆ ไปยังเครือข่ายผู้ปกครอง และชุมชนด้วย เพื่อช่วยในการแก้ปัญหาดังกล่าวข้างต้น โครงการอย.น้อย ซึ่งประกอบด้วยกิจกรรมอย่างหลากหลายเพื่อให้ผู้เข้าร่วมกิจกรรมมีความรู้ และเกิดทักษะ ในการเลือกซื้อเลือกใช้อาหารยา และเครื่องสำอางที่เป็นประโยชน์ไม่ส่งผลเสียต่อสุขภาพ และสิ่งแวดล้อม อีกประการหนึ่งเพื่อเป็นการส่งเสริมสนับสนุนให้นักเรียนแกนนำ อย.น้อย ได้รู้จักการทำงานเป็นทีมการวางแผนในการปฏิบัติงานกล้า แสดงออกในการเผยแพร่ความรู้แก่ เพื่อนนักเรียน ผู้ปกครอง และประชาชน ทั่วไปอย่างมั่นใจ

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อเพิ่มจำนวนแกนนำนักเรียนเฝ้าระวังความเสี่ยงด้านสุขภาพของตนเองและนักเรียนในโรงเรียน

จำนวนแกนนำนักเรียนเฝ้าระวังความเสี่ยงด้านสุขภาพของตนเองและนักเรียนในโรงเรียนเพิ่มขึ้น

10.00 45.00
2 เพื่อให้แกนนำนักเรียนมีความรู้ความเข้าใจการดูแลสุขภาพและโภชนาการ

ร้อยละแกนนำนักเรียนมีความรู้ความเข้าใจการดูแลสุขภาพและโภชนาการ อยู่ในระดับดีเพิ่มขึ้น

50.00 80.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 45
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/02/2025

กำหนดเสร็จ 31/08/2025

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 อบรมให้ความรู้อย.น้อยรอบรู้ใส่ใจสุขภาพ

ชื่อกิจกรรม
อบรมให้ความรู้อย.น้อยรอบรู้ใส่ใจสุขภาพ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

อบรมให้ความรู้การดูแลสุขภาพและโภชนาการ แกนนำนักเรียน ชั้น ป.4-ป.5 จำนวน 3 โรงเรียน รวมทั้งหมด 45 คน จัดอบรมจำนวน 1 รุ่น ในวันที่ 30 พฤษภาคม 2568 เวลา 08.30-16.00 น. ณ ห้องประชุม รพ.สต.บ้านต้นไทร โดยมีรายละเอียด ดังนี้
1.ค่าป้ายไวนิล ขนาด 2 x 1.2 เมตร x 1 ป้าย เป็นเงิน 500 บาท
2.ค่าอาหารกลางวัน จำนวน 1 มื้อ x 50 บาท x 45 คน เป็นเงิน 2,250 บาท
3.ค่าอาหารว่าง จำนวน 2 มื้อ x 25 บาท x 45 คน เป็นเงิน 2,250 บาท
4.ค่าวิทยากร จำนวน 6 ชั่วโมง x 600 บาท เป็นเงิน 3,600 บาท
5.ค่าเอกสารให้ความรู้ แจกผู้เข้าร่วมอบรม จำนวน 45 ชุด x 25 บาท เป็นเงิน 1,225 บาท
6.ค่าวัสดุ อุปกรณ์ที่ใช้ในกิจกรรมอบรม เช่น กระดาษ ปากกา เทปกาว เป็นต้น เป็นเงิน 275 บาท
รวมเป็นเงินทั้งสิ้น 10,000 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
30 พฤษภาคม 2568 ถึง 30 พฤษภาคม 2568
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

จัดอบรม ได้ จำนวน 1 รุ่น มีผู้เข้ารับการอบรม จำนวน 45 คน
เกิดแกนนำอย.น้อย ในโรงเรียน จำนวน 3 โรงเรียน ผลลัพธ์
ผู้เข้ารับการอบรม มีความรู้ ความเข้าใจ เกี่ยวกับการดูแลสุขภาพและโภชนาการ อยู่ในระดับดี ร้อยละ 80
ผู้เข้ารับการอบรมมีการเฝ้าระวังความเสี่ยงด้านสุขภาพของตนเองและนักเรียนในโรงเรียน

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
10000.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 10,000.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1.สร้างแกนนำอย.น้อยในโรงเรียน
2.นักเรียนมีสุขภาพดี สามารถดูแลสุขภาพตนเองและนักเรียนในโรงเรียนได้


>