กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ตะโละกาโปร์

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

ขับขี่ปลอดภัยใส่ใจวินัยจราจร โรงเรียนบ้านท่าด่าน ประจำปีงบประมาณ 2568

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ตะโละกาโปร์

โรงเรียนบ้านด่าน

1.นายมูฮัมหมัด หะยีดีแม
ผู้รับผิดชอบโครงการ
2.นายอิบรอฮิม หะมะ
ผู้นำเสนอโครงการ
3.นางสาวนัสมีย์ แวดาโอะ
กรรมการ
4.นางสาวนูรียะห์เจะหะ
กรรมการ
5.นายอาบีดิง เจ๊ะโซะ
กรรมการและเลขานุการ

ตำบลตะโละกาโปร์ อำเภอยะหริ่ง จังหวัดปัตตานี

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานความปลอดภัยทางถนน

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 จำนวนครั้งการเกิดอุบัติเหตุทางถนนในพื้นที่ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น

 

5.00
2 จำนวนผู้บาดเจ็บสาหัสจากอุบัติเหตุทางถนนในพื้นที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น

 

7.00
3 ร้อยละผู้ขับขี่รถที่มีพฤติกรรมเสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุในพื้นที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น

 

60.00
4 จำนวนกลุ่มหรือเครือข่ายความปลอดภัยทางถนนในพื้นที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น

 

2.00
5 จำนวนกิจกรรมการดำเนินงานเกี่ยวกับความปลอดภัยทางถนน (เช่น มีการจัดประชุม ศปถ.อปท. ในลักษณะการแลกเปลี่ยนประสบการณ์ทำงาน ไตรมาสละ 1 ครั้ง หรือมีการพัฒนาศักยภาพบุคลากรท้องถิ่นที่ทำหน้าที่ด้านความปลอดภัยทางถนน)

 

1.00

ปัจจุบันอุบัติภัยจากการจราจรก่อให้เกิดความสูญเสียทั้งชีวิตและทรัพย์สินของประชาชนในปีหนึ่ง ๆ อย่างมหาศาล โดยเฉพาะอย่างยิ่งอุบัติเหตุจราจรอันเนื่องมาจากการขับขี่รถจักรยานยนต์ในพื้นที่จังหวัดปัตตานี ซึ่งมีผู้เสียชีวิต บาดเจ็บ และพิการ ส่วนใหญ่อยู่ในวัยเด็กและเยาวชน ซึ่งเป็นทรัพยากรบุคคลที่มีค่าในการพัฒนาบ้านเมืองในพื้นที่ จากปัญหาดังกล่าวมีผลมาจากปัจจัยทางด้านพฤติกรรมของบุคคลรวมถึงนักเรียนซึ่งได้แก่ การไม่สวมหมวกนิรภัยขณะขับขี่ การขาดความระมัดระวังในการขับขี่ การไม่มีมารยาทในการขับขี่และการไม่ ปฏิบัติตามกฎจราจรจากผลการสำรวจข้อมูลการสวมหมวกนิรภัยของประชาชนพบว่า มีค่าเฉลี่ยการสวม หมวกนิรภัยบนท้องถนน เพียงร้อยละ 40 เท่านั้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งในกลุ่มเยาวชนอายุต่ำกว่า 18 ปี มีอัตราการไม่สวมหมวกนิรภัยในผู้ขับขี่และโดยสารรถจักรยานยนต์สูงถึงร้อยละ 90-95 จากข้อมูลดังกล่าวข้างต้น แสดงให้เห็นว่าเยาวชนซึ่งถือว่าเป็นอนาคตของชาติยังขาดความรู้ความเข้าใจและความตระหนักในการป้องกนตัวเองขณะขับขี่ดังนั้นจึงมีโอกาสเสี่ยงสูงที่เกิดการบาดเจ็บรุนแรงอาจถึงขั้นพิการหรือเสียชีวิตได้ทางองค์การบริหารส่วนตำบลตะโละกาโปร์ได้เห็นถึงความสำคัญของปัญหาดังกล่าวจึงจัดทำโครงการขับขี่ปลอดภัยใส่ใจวินัยจราจร โรงเรียนบ้านท่าด่าน ประจำปีงบประมาณ 2568 ขึ้น เพื่อเสริมสร้างความรู้ ความตระหนัก และปลูกจิตสำนึกให้แก่นักเรียน ผู้ปกครอง และบุคลากรทางการศึกษา ในเรื่องของกฎหมายจราจร การรักษาวินัยในการขับขี่ การรู้จักป้องกันตัวเองขณะขับขี่ยานพาหนะ ในการรณรงค์ประชาสัมพันธ์ให้กับนักเรียนและเยาวชนคนอื่นๆ ในเรื่องของการป้องกนอุบัติเหตุจราจรต่อไป

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้นักเรียน ผู้ปกครอง และบุคลากรทางการศึกษา ได้รับความรู้และทักษะเกี่ยวกับการขับขี่รถจักรยานยนต์อย่างถูกต้อง ตามหลักการขับขี่ปลอดภัยถูกกฎจราจร

นักเรียน ผู้ปกครอง และบุคลากรทางการศึกษา มีความรู้และทักษะเกี่ยวกับการขับขี่รถจักรยานยนต์อย่างถูกต้องตามหลักการขับขี่ปลอดภัยถูกกฎจราจร 70%

30.00 70.00
2 เพื่อนักเรียน ผู้ปกครอง และบุคลากรทางการศึกษา ประชาสัมพันธ์เกี่ยวกับการป้องกัน ควบคุมอุบัติเหตุในการขับขี่รถจักรยานยนต์ และการมีวินัยในการจราจรของคนในหมู่บ้าน

อุบัติเหตุในการขับขี่รถจักรยานยนต์ รถจักรยาน และเดินทางเท้าในหมู่บ้าน ลดลง

60.00 80.00
3 เพื่อรณรงค์ให้ นักเรียน ผู้ปกครอง และบุคลากรทางการศึกษา เห็นความสำคัญของการสวมหมวกนิรภัยทุกครั้งเมื่อขับขี่รถจักรยานหรือกรณีนั่งซ้อนท้ายรถจักรยานยนต์

ประชาชนหมู่ที่ 3 มีการสวมหมวกนิรภัยทุกครั้ง เมื่อขับขี่รถจักรยานหรือกรณีนั่งซ้อนท้ายรถจักรยานยนต์ออกจากบ้านเพิ่มขึ้น

10.00 60.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 100
กลุ่มวัยทำงาน 30
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/07/2025

กำหนดเสร็จ 30/09/2025

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 บรรยายให้ความรู้และทักษะเกี่ยวกับการขับขี่ปลอดภัยใส่ใจวินัยจราจร

ชื่อกิจกรรม
บรรยายให้ความรู้และทักษะเกี่ยวกับการขับขี่ปลอดภัยใส่ใจวินัยจราจร
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

มีการบรรยายให้ความรู้และทักษะเกี่ยวกับการขับขี่รถจักรยานยนต์อย่างถูกต้องตามหลักการขับขี่ปลอดภัยถูกกฎจราจร
- เชิญวิทยากรจากบริษัทฮอนด้าปัตตานี มาให้ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการขับขี่รถจักรยานยนต์อย่างถูกต้องตามหลักการขับขี่ปลอดภัยถูกกฎจราจรของนักเรียน ชั้น ป.1- ป.6 และผู้ปกครองของนักเรียน
- มีการทดสอบการปฏิบัติเกี่ยวกับการป้องกัน ควบคุมอุบัติเหตุในการขับขี่รถจักรยานยนต์ และการมีวินัยในการจราจร พร้อมรณรงค์ประชาสัมพันธ์ความสำคัญของการสวมหมวกนิรภัยทุกครั้งเมื่อขับขี่รถจักรยานยนต์
- ค่าวิทยากรบรรยาย จำนวน 1 คน ๆ ละ 600 × 3 ชั่วโมง เป็นเงิน 1,800 บาท
- ค่าป้ายไวนิลโครงการ ขนาด 1.2 × 2.5 เมตร × 250 บาท เป็นเงิน 750 บาท - ค่าผลิตสื่อ และวัสดุอุปกรณ์ในการรณรงค์ขับขี่ปลอดภัยใส่ใจวินัยจราจร โรงเรียนบ้านท่าด่าน จำนวน 6 ชั้นเรียน ๆ ละ 6 x 200 บาท เป็นเงิน 1,200 บาท
- ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่มของนักเรียน และผู้ปกครองของนักเรียน จำนวน 130 คน × 30 บาท เป็นเงิน 3,900 บาท
- ค่าอาหารกลางวันของผู้ปกครอง จำนวน 30 คน × 50 บาท เป็นเงิน 1,500 บาท
รวมเป็นเงินทั้งสิ้น 9,150 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
2 มิถุนายน 2568 ถึง 30 กันยายน 2568
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

นักเรียน ผู้ปกครอง และบุคลากรทางการศึกษา มีความรู้และทักษะเกี่ยวกับการขับขี่รถจักรยานยนต์อย่างถูกต้องตามหลักการขับขี่ปลอดภัยถูกกฎจราจร สามารถประชาสัมพันธ์เกี่ยวกับการป้องกัน ควบคุมอุบัติเหตุในการขับขี่รถจักรยานยนต์ และการมีวินัยในการจราจร
และ เห็นความสำคัญของการสวมหมวกนิรภัยทุกครั้งเมื่อขับขี่รถจักรยานหรือกรณีนั่งซ้อนท้ายรถจักรยานยนต์

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
9150.00

กิจกรรมที่ 2 ติดตามและประเมินผลสัมฤทธิ์ของการดำเนินงานโครงการ

ชื่อกิจกรรม
ติดตามและประเมินผลสัมฤทธิ์ของการดำเนินงานโครงการ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

มีการประชุมแลกเปลี่ยนความคิดเห็นระหว่างนักเรียน ผู้ปกครอง และบุคลากรทางการศึกษา ในเรื่องสรุปผลที่ได้รับ และปัญหา อุปสรรคที่พบ และร่วมกันหาแนวทางแก้ไข ต่อไป

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 กันยายน 2568 ถึง 30 กันยายน 2568
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

สามารถสรุปผลที่ได้รับ และปัญหา อุปสรรคที่พบ และร่วมกันหาแนวทางแก้ไข ต่อไป

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 9,150.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1.นักเรียน ผู้ปกครอง และบุคลากรทางการศึกษา ที่เข้ารับการอบรมมีความรู้เกี่ยวกับการขับขี่จักรยานยนต์ที่ปลอดภัยและสามารถปฏิบัติตามกฎจราจรได้ถูกต้อง
2 นักเรียน ผู้ปกครอง และบุคลากรทางการศึกษา มีการรณรงค์ ประชาสัมพันธ์เกี่ยวกับการป้องกัน ควบคุมอุบัติเหตุในการขับขี่รถจักรยานยนต์ และการมีวินัยในการจราจรร่วมกันได้
3. นักเรียน ผู้ปกครอง และบุคลากรทางการศึกษา ที่ขับขี่รถจักรยานยนต์และที่นั่งซ้อนท้ายเห็นความสำคัญของการสวมหมวกนิรภัยทุกครั้งเมื่อขับขี่รถจักรยานหรือกรณีนั่งซ้อนท้ายรถจักรยานยนต์
4. ลดการเกิดอุบัติเหตุในพื้นที่ และมีการเฝ้าระวังพฤติกรรมการขับขี่รถจักรยานยนต์ของบุตรหลานท่าน ให้มีการขับขี่อย่างปลอดภัย


>