กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลท่ามะเดื่อ

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการอบรมเชิงปฏิบัติการพัฒนาศักยภาพแกนนำสุขภาพในชุมชน

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลท่ามะเดื่อ

ชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขโรงพยาบาลบางแก้ว

1.นางพิมพา ศรีเอียด
2.นางนงค์นุช แก้วชูทอง
3.นางสุวรรณา ธรรมชาติ
4.นางกัญญา จันทร์เทพ
5.นางกรรหา แก้วแกมทอง

เทศบาลตำบลท่ามะเดื่อ อำเภอบางแก้ว จังหวัดพัทลุง

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 จำนวนประชากรในเขตเทศบาลตำบลท่ามะเดื่อ

 

3,975.00
2 จำนวนครัวเรือน

 

1,939.00
3 จำนวนผู้สูงอายุและบุคคลอื่นที่มีภาวะพึ่งพิง

 

16.00

ปัจจุบันการดำเนินงานด้านสาธารณสุขในชุมชนมีความเข้มแข็งได้ต้องอาศัยความร่วมมือจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทุกภาคส่วนช่วยกันขับเคลื่อนนโยบาย เพื่อยกระดับคุณภาพชีวติของประชาชนให้ดีขึ้น เน้นให้ทุกภาคส่วนได้ร่วมกันกำหนดแนวทางการบูรณาการสาธารณสุขมูลฐานและระบบสุขภาพปฐมภูมิของประเทศไทย โดยอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน ซึ่งเป็นตัวแทนของสาธารณสุขในการดูแลประชาชนเบื้องต้น แบบใกล้บ้าน ใกล้ใจ จากเจ้าหน้าที่สาธารณสุขอย่างสม่ำเสมอ โดยกำหนดการพัฒนาศักยภาพอสม.เป็นอสม.หมอประจำบ้าน หรือหมอคนที่ 1 ตามนโยบาย คนไทยทุกครอบครัว มีหมอประจำตัว 3 คน ได้แก่ หมอคนที่ 1 อสม.หมอประจำบ้าน หมอคนที่ 2 หมอสาธารณสุข และหมอคนที่ 3 หมอเวชศาสตร์ครอบครัว เพื่อให้คนไทยทุกคนมีหมอประจำตัว 3 คน ทำให้ประชาชนสามารถเข้าถึงบริการสุขภาพได้รวดเร็วมากขึ้น ได้รับการดูแลให้คำปรึกษา การช่วยเหลือในภาวะปกติและ ภาวะะวิกฤติ ซึ่งอสม.มีบทบาทหน้าที่สำคัญในการสนับสนุนส่งเสริมเป็นพี่เลี้ยงให้กับอสค.ดำเนินการเฝ้าระวังป้องกันควบคุมไม่ให้เกิดโรคในพื้นที่ การส่งเสริมสุขภาพ ปัญหาสุขภาพจิต ลดอัตราป่วยโรคติดต่อและโรคเรื้อรัง การถ่ายทอดสมาร์ทอสม.แอปพลิเคชั่นพ้นภัย ในการประเมินสุขภาพโดยร่วมเป็นทีมหมอครอบครัว และการส่งต่อผู้ป่วยไปยังระบบบริการที่รัฐจัดให้ ดังนั้นอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านในความรับผิดชอบ จึงควรได้รับการพัฒนาศักยภาพให้มีความรู้ ความเข้าใจทั้งในเชิงวิชาการและเชิงปฏิบัติการ โรงพยาบาลบางแก้วจึงได้เล็งเห็นความสำคํญของการจัดทำโครงการอบรมเชิงปฏิบัติการพัฒนาศักยภาพอาสาสมัครสาธารณสุข(อสม.) โรงพยาบาลบางแก้ว ปีงบประมาณ 2568 เขตเทศบาลตำบลท่ามะเดื่อ อำเภอบางแก้ว จังหวัดพัทลุง เพื่อพัฒนาสุขภาพแกนนำสุขภาพให้มีความรู้ ความเข้าใจบทบาทของแกนนำสุขภาพหมอประจำบ้านในชุมชนอย่างมีคุณภาพ และเพื่อให้แกนนำสุขภาพสามารถใช้เทคโนโลยีดิจิทัลในการให้บริการเชิงรุก การส่งเสริมสุขภาพให้กับประชาชนทุกลุ่มวัยได้

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อพัฒนาศักยภาพแกนนำสุขภาพให้มีความรู้ ความเข้าใจ บทบาทของแกนนำสุขภาพหมอประจำบ้านในชุมชนอย่างมีคุณภาพ

ร้อยละ 100 ของแกนนำสุขภาพได้รับการพัฒนาศักยภาพของตนเอง ให้มีความรู้ความเข้าใจบทบาทของแกนนำสุขภาพหมอประจำบ้านของชุมชนอย่างมีคุณภาพ

70.00
2 เพื่อให้แกนนำสุขภาพสามารถใช้เทคโนโลยีดิจิทัลในการให้บริการเชิงรุก การส่งเสริมสุขภาพให้กับประชาชนทุกกลุ่มวัยได้

ร้อยละ 80 แกนนำสุขภาพสามารถใช้เทคโนโลยีดิจิทัลในการให้บริการเชิงรุก การส่งเสริมสุขภาพให้กับประชาชนทุกกลุ่มวัยได้

70.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน 70
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/01/2025

กำหนดเสร็จ 31/07/2025

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 ประชุมชี้แจงเจ้าหน้าที่และผู้เกี่ยวข้องเพื่อวางแผนการจัดทำโครงการฯ

ชื่อกิจกรรม
ประชุมชี้แจงเจ้าหน้าที่และผู้เกี่ยวข้องเพื่อวางแผนการจัดทำโครงการฯ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • ประชุมเพื่อดำเนินโครงการ
ระยะเวลาดำเนินงาน
1 กุมภาพันธ์ 2568 ถึง 31 มีนาคม 2568
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
  • มีการประชุม
จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

กิจกรรมที่ 2 จัดกิจกรรมให้ความรู้เรื่องอบรมเชิงปฎิบัติการพัฒนาศักยภาพแกนนำสุขภาพ ม.1 จำนวน 35คน ม.6 จำนวน 27 คน

ชื่อกิจกรรม
จัดกิจกรรมให้ความรู้เรื่องอบรมเชิงปฎิบัติการพัฒนาศักยภาพแกนนำสุขภาพ ม.1 จำนวน 35คน ม.6 จำนวน 27 คน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่มสำหรับผู้เข้าร่วมการอบรม วิทยากรและผู้จัดการอบรมฯ จำนวน 70 คน คนละ 2 มื้อ ๆ ละ 25บาท เป็นเงิน 3,500 บาท
  • ค่าอาหารกลางวันสำหรับผู้เข้าร่วมการอบรม วิทยากรและผู้จัดการอบรมฯ จำนวน 70คน ๆ ละ 1 มื้อ ๆ ละ 60 บาท เป็นเงิน 4,200 บาท
  • ค่าวิทยากร จำนวน 1 คน จำนวน 3ชั่วโมงๆละ 600 บาท เป็นเงิน 1,800 บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มีนาคม 2568 ถึง 31 กรกฎาคม 2568
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
  • แกนนำสุขภาพได้รับการพัฒนาศักยภาพ
จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
9500.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 9,500.00 บาท

หมายเหตุ :
- งบประมาณทุกรายการสามารถถัวเฉลี่ยกันได้

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. แกนนำสุขภาพมีความรู้ ความเข้าใจบทบาทของแกนนำสุขภาพหมอประจำบ้านในชุมชนอย่างมีคุณภาพ
2. แกนนำสุขภาพสามารถใช้เทคโนโลยีดิจิทัลในการให้บริการเชิงรุก การส่งเสริมสุขภาพให้กับประชาชนทุกกลุ่มวัยได้


>