2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
3. สถานการณ์
การสร้างสุขภาพ ถือเป็นกลยุทธ์ทางสุขภาพที่กำลังได้รับการยอมรับอย่างกว้างขวางว่าจะช่วยกระตุ้นและส่งเสริมให้บุคคลเกิดพฤติกรรมการส่งเสริมสุขภาพมากยิ่งขึ้นซึ่งจะส่งผลโดยตรงต่อสุขภาพของบุคคลช่วยลดอัตราป่วยด้วยโรคต่างๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งโรคอันเกี่ยวเนื่องกับวิถีชีวิตที่เปลี่ยนแปลงไป เช่น โรคหัวใจ และหลอดเลือด โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง โรคเครียด และโรคมะเร็ง สาเหตุที่พบอุบัติการณ์ของโรคเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ เนื่องจากกระบวนการสร้างสุขภาพ ไม่เพียงแต่เป็นกระบวนการที่เกี่ยวข้องโดยตรงกับการให้การศึกษาด้านสุขภาพเท่านั้น แต่ยังเกี่ยวข้องกับการสนับสนุนด้านสิ่งแวดล้อมที่เอื้อให้เกิดผลในการปฏิบัติและสถานการณ์ในการดำรงชีวิตที่สอดคล้องกับสิ่งแวดล้อมทางวัฒนธรรม บรรทัดฐานทางสังคม สิ่งแวดล้อมทางเศรษฐกิจซึ่งก็คือการดำเนินชีวิต ซึ่งจะก่อให้เกิดภาวะสุขภาพที่สมบูรณ์ของบุคคลและชุมชนนั่นเอง แม้ระบุสุขภาพของคนไทยที่ผ่านมาจะได้รับการพัฒนาอย่างต่อเนื่องส่งผลให้สุขภาพของประชาชนในภาพรวมดีขึ้นและระบบบริการสุขภาพจะก้าวหน้ามากขึ้นแต่ยังมุ่งที่จัดบริการเพื่อการรักษาพยาบาลเป็นหลัก คำว่าสุขภาพในความหมายของคนทั่วไปกลายเป็นเรื่องของการรอให้เจ็บป่วยก่อนแล้วคอยรักษา ทำให้เสียค่าใช้จ่ายมาก แต่ให้ผลตอบแทนด้านสุขภาพต่ำกว่าควรที่เป็น นอกจากนี้แนวโน้มการเจ็บป่วยและปัญหาสุขภาพของประชาชนก็มีความซับซ้อนมากขึ้น ดังนั้นการแก้ไขด้วยวิธีคิด วิธีการ และองค์ความรู้เดิมจึงไม่เพียงพอ ถึงเวลาที่ทุกภาคส่วนของสังคมต้องมีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหาอย่างมีระบบด้วยการสร้างสุขภาพและด้วยภูมิปัญญาของชุมชนทั้งสังคม โดยการเน้นให้ประชาชนมีพฤติกรรมการออกกำลังกายอย่างต่อเนื่อง บริโภคอาหารสุก สะอาดปลอดภัย ไม่ติดยาเสพติด ส่งเสริมให้ประชาชนในแต่ละชุมชนรวมกลุ่มกันจัดกิจกรรมด้านสุขภาพโดยชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านให้ความสำคัญสร้างสุขภาพเป็นศูนย์กลางและเป็นกลไกในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ด้านสุขภาพสู่ประชาชน ส่งเสริมให้ประชาชนมีการออกกำลังกายและมีโภชนาการที่ดี เป็นการลดปัจจัยเสี่ยงง่ายๆด้วยต้นทุนต่ำป้องกันโรคต่างๆ อาทิ โรคเบาหวาน โรคหัวใจขาดเลือด โรคความดันโลหิตสูง ฯลฯ ไม่ให้เกิดขึ้นก่อนวัยอันควร ทำให้ประชาชนมีสมรรถภาพดี สามารถทำงานได้เต็มตามศักยภาพ ขณะเดียวกันก็เป็นการลดค่าใช้จ่ายเพื่อสุขภาพลงไปในตัวด้วย หลักสำคัญในการดูแลสุขภาพเพื่อก้าวสู่การมีสุขภาพดี คือ การให้ให้ความรู้ทางด้านโภชนาการอาหาร การออกกำลังกายเพื่อสุขภาพ การดูแลสุขภาพจิตและลดพฤติกรรมเสี่ยงต่างๆ จะช่วยป้องกันโรคที่กล่าวมาแล้วทั้งหมดได้ด้วยการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภคให้ถูกชนิด ปริมาณ และถูกเวลา ควรเลือกกินอาหารให้ครบ 5 หมู่ ให้หลากหลายและเพียงพอ งดอาหารหวาน มัน เค็ม ดูแลน้ำหนักตัวให้อยู่ในเกณฑ์ที่พอเหมาะ ควบคู่ไปกับการออกกำลังกายสม่ำเสมอ จากนโยบายสร้างหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า ช่วยคนไทยห่างไกลโรคมีเป้าหมายที่สำคัญ คือ การสร้างสุขภาพที่ดีและลดปัญหาค่าใช้จ่ายด้านสุขภาพในระยะยาว ได้ขยายขอบเขตการบริการส่งเสริมสุขภาพไปยังกลุ่มผู้มีสิทธิในการรักษาทุกประเภท เพื่อให้มีความรู้และทักษะในการดูแลตนเอง
ชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน เล็งเห็นความสำคัญด้านสุขภาพของประชาชนในพื้นที่ตำบลแป-ระ จึงได้จัดทำโครงการมหกรรมวิชาการสาธารณสุข เพื่อให้ประชาชนมีพฤติกรรมการดูแลสุขภาพที่ถูกต้อง
4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด
- บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
- ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
5. กลุ่มเป้าหมาย
6. ระยะเวลาดำเนินงาน
วันเริ่มต้น
กำหนดเสร็จ
7. วิธีการดำเนินงาน
- กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
- งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด
หมายเหตุ :
8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง
ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?