2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
3. สถานการณ์
หลักการและเหตุผล
โรคความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวานเป็นโรคเรื้อรังที่มีความชุกเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องในประเทศไทย ซึ่งส่งผลกระทบต่อสุขภาพ คุณภาพชีวิต และภาระค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาล ทั้งสองโรคมีปัจจัยเสี่ยงที่สำคัญร่วมกัน ได้แก่ การบริโภคอาหารที่ไม่เหมาะสม ขาดการออกกำลังกาย ภาวะอ้วน การสูบบุหรี่ และความเครียด นอกจากนี้ ผู้ที่อยู่ในกลุ่มเสี่ยง เช่น ผู้ที่มีประวัติครอบครัวเป็นโรค หรือผู้ที่มีพฤติกรรมสุขภาพที่ไม่เหมาะสม มักไม่ตระหนักถึงความสำคัญของการป้องกันโรค
การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพเป็นกลยุทธ์สำคัญในการลดความเสี่ยงของการเกิดโรคความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวาน รวมถึงการชะลอความรุนแรงของโรคในผู้ที่ได้รับการวินิจฉัยแล้ว โดยกระบวนการนี้ต้องอาศัยการให้ความรู้ ความเข้าใจ และการสร้างแรงจูงใจให้ประชาชนเห็นความสำคัญของการดูแลตนเอง รวมถึงการสนับสนุนจากครอบครัวและชุมชน
การดำเนินโครงการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพในกลุ่มเสี่ยงจึงเป็นสิ่งจำเป็น เพื่อส่งเสริมให้ประชาชนสามารถลดปัจจัยเสี่ยงต่อโรคความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวานได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยเฉพาะการส่งเสริมการรับประทานอาหารที่เหมาะสม การออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ และการจัดการความเครียดอย่างมีประสิทธิภาพ จากการคัดกรองโรคความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวานในกลุ่มอายุ 35 ปีขึ้นไปในปี2567 ในเขตพื้นที่ม.1,ม.2 ม.3 และม.7กลุ่มเป้าหมายในการคัดกรองโรคความดันโลหิตสูง จำนวน 1,415 คน ได้รับการคัดกรอง 1401 คน คิดเป็นร้อยละ 99.01มีกลุ่มเสี่ยงโรคความดันโลหิตสูง 156 รายคิดเป็นร้อยละ11.13 ส่วนโรคเบาหวาน เป้าหมายจำนวน 1,605คน ได้รับการคัดกรอง 1,553คนคิดเป็นร้อยละ 99.25 มีจำนวนกลุ่มเสี่ยง จำนวน 21 ราย คิดเป็นร้อยละ 1.35 ซึ่งกลุ่มเสี่ยงเหล่านี้ ถ้าไม่ได้รับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ จะส่งผลให้ในอนาคตกกลายเป็นกลุ่มป่วย ที่จะต้องเข้ารับการรักษาในสถานพยาบาล และต้องใช้ยาในการรักษา และอาจจะมีภาวะแทรกซ้อนของโรคที่จะส่งผลต่อสุขภาพในระยะยาวต่อไป
ดังนั้น ทางชมรมรักษ์สุขภาพและสิ่งแวดล้อมตำบลท่าธง ตระหนักถึงภาวะสุขภาพของประชาชนในกลุ่มดังกล่าว จึงได้จัดทำโครงการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ ลดเสี่ยง ลดโรค ขึ้น เพื่อให้ประชาชนกลุ่มเสี่ยงได้รับความรู้และทักษะปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ ลดการเกิดโรคเรื้อรังได้
4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด
- บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
- ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
5. กลุ่มเป้าหมาย
6. ระยะเวลาดำเนินงาน
วันเริ่มต้น 04/02/2025
กำหนดเสร็จ 31/08/2025
7. วิธีการดำเนินงาน
- กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
- งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด
หมายเหตุ :
8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง
ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?1.แกนนำสุขภาพมีความรู้ในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ สามารถถ่ายทอดแก่คนในชุมชนได้
2.กลุ่มเสี่ยงฯมีความรู้ในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพที่ถูกต้อง
3.กลุ่มเสี่ยงฯมีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพที่ดีขึ้น เช่น ความดันโลหิตลดลง