กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลปะลุรู

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการศูนย์เด็กพัฒนาการดีด้วยโภชนาการ ปีงบประมาณพ.ศ.2568

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลปะลุรู

ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กโคกตา

ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กโคกตา

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานเด็ก เยาวชน ครอบครัว

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

เด็กเป็นทรัพยากรบุคคลที่มีคุณค่า และเป็นอนาคตที่สำคัญของชาติ โดยมุ่งเน้นการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ ซึ่งจะต้องเริ่มต้นจากเด็ก โดยเฉพาะในช่วงแรกเกิด – 6ปีเป็นวัยที่จำเป็นต้องได้รับการพัฒนาครบทุกด้านได้แก่ ด้านร่างกาย จิตใจ อารมณ์ สังคม และสติปัญญา ไปพร้อมๆกันโภชนาการจึงเป็นสิ่งสำคัญในการสร้างพัฒนาการของเด็ก การที่เด็กจะเจริญเติบโต มีร่างกายที่แข็งแรงนั้นเด็กจะต้องได้รับสารอาหารครบ 5 หมู่ถูกหลักซึ่งเป็นช่วงที่เริ่มมีการพัฒนาในด้านต่างๆ อย่ารวดเร็ว ทั้งทางด้านร่างกาย สติปัญญา อารมณ์ จิตใจ และสังคม เด็กวัยนี้ถ้าจะได้รับการเลี้ยงดูที่เหมาะสม มีการตอบสนองความต้องการขั้นพื้นฐาน และมีการส่งเสริมภาวะโภชนาการและพัฒนาการที่ดีในแต่ละด้าน ก็จะทำให้เด็กนั้นเติบโตเป็นผู้ใหญ่ที่มีคุณภาพในอนาคต การเปลี่ยนแปลงของพัฒนาการด้านหนึ่งย่อมมีผลให้พัฒนาการอีกด้านหนึ่งเปลี่ยนแปลงไปด้วยโภชนาการถ้าเด็กไม่รับประทานผักหรือรับประทานน้อยจะทำให้ขาดสารอาหารและวิตามินจากสารอาหารที่ต้องนำมาใช้เป็นพลังงานแล้ว ร่างกายยังต้องสะสมสารอาหารไว้เพื่อบำรุงรักษาและเก็บไว้ซ่อมแซมร่างกายส่วนที่สึกหรอซึ่งเด็กวัยนี้ต้องการสารอาหารและพลังงานตามอัตราการเจริญเติบโตตามกิจกรรมหลากหลายที่ทำในทุกวัน
ดังนั้น การดูแลสุขภาพในเรื่องอาหารการกินและการใช้พลังงานของเด็กก็ย่อมจะต้องการสารอาหารในปริมาณที่สมดุลกับพลังงานที่สูญเสียไปในแต่ละวันของเด็กศูนย์พัฒนาเด็กเล็กโคกตา ได้เล็งเห็นความสำคัญของโภชนาการ จึงได้จัดทำ โครงการศูนย์เด็กพัฒนาการดีด้วยโภชนาการ” ปีงบประมาณพ.ศ. 2568 ขึ้นเพื่อให้ผู้ปกครองและเด็กนักเรียนในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กโคกตามีส่วนร่วมในการจัดทำอาหารที่มีประโยชน์ตามภาวะโภชนาการให้กับเด็กต่อไป

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อปรับเปลี่ยนพฤติกรรมให้เด็กสามารถบริโภคอาหารที่มีสารอาหารครบ 5 หมู่

เด็กได้รับสารอาหารครบ 5 หมู่ร้อยละ 80

50.00 50.00
2 เพื่อเฝ้าระวังติดตามภาวะโภชนาการของเด็กปฐมวัย

เด็กมีภาวะโภชนาการสมวัยร้อยละ  80

50.00 50.00
3 เพื่อให้ครู ผู้ประกอบอาหาร และผู้ปกครองสามารถประกอบอาหารที่มีประโยชน์ให้กับบุตรหลานของตนเอง

ครู ผู้ประกอบอาหาร และผู้ปกครองสามารถประกอบอาหารที่มีประโยชน์ให้กับบุตรหลานของตนเองร้อยละ 80

50.00 50.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน 50
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น : 01/03/2025

กำหนดเสร็จ : 31/07/2025

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 บรรยายและสาธิตการประกอบอาหารที่ถูกต้องตามหลักโภชนาการ โดยนักโภชนาการ

ชื่อกิจกรรม
บรรยายและสาธิตการประกอบอาหารที่ถูกต้องตามหลักโภชนาการ โดยนักโภชนาการ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • ค่าอาหารกลางวัน สำหรับผู้ปกครอง จำนวน50 คนๆละ 50 บาท * 1 มื้อ เป็นเงิน 2,500 บาท
  • ค่าอาหารและเครื่องดื่ม สำหรับผู้ปกครองจำนวน 50 คนๆละ 2 มื้อๆ ละ 25 * 2 มื้อ บาทเป็นเงิน 2,500 บาท
    • ค่าวิทยากร จำนวน 1 คน * 5 ชม.ๆละ 500 บาท เป็นเงิน 2,500 บาท -ไวนิลขนาด 1x3 เมตร เป็นเงิน 750 บาท
  • ค่าวัสดุอุปกรณ์ในการสาธิตอาหาร จำนวน 3 รายการ ดังนี้
    -เบอร์เกอร์ขนมปังจิ๋ว 3 แพ็คๆละ 90 บาทเป็นเงิน 270 บาท
    • เส้นสปาเก็ตตี้ 10 แพ็ค * 64 บาท เป็นเงิน 640 บาท
    • แผ่นเกี๊ยว 5 ถุงๆละ 65 บาท เป็นเงิน 325 บาท
  • ไก่สับ 2 กก.ๆละ 85 บาท เป็นเงิน 170 บาท
    • ไข่เบอร์0 1 แผงๆละ 110 บาท เป็นเงิน
      110 บาท
    • พริกไทย 2 ขวดๆละ 20 บาท เป็นเงิน 40
      บาท
    • อกไก่ 2 กก.ๆละ 90 บาท เป็นเงิน 180 บาท
    • น้ำมันถั่วเหลือง 2 ขวดๆละ 57 บาท เป็นเงิน
      114 บาท
    • ซอสมะเขือเทศ 3 ขวดๆละ 25 บาท เป็นเงิน 75 บาท
    • เกลือทิพย์ 2 ถุงๆละ 10 บาท เป็นเงิน 20
      บาท
    • น้ำส้มสายชู 2 ขวดๆละ 15 บาท เป็นเงิน 30 บาท
    • น้ำตาลทราย 2 กก.ๆละ 25 บาท เป็นเงิน 50 บาท
    • ผงมัสตาร์ต 4 ถุงๆละ 45 บาท เป็นเงิน 180 บาท
    • มายองเนส 4 ถุงๆละ 45 บาท เป็นเงิน 180
      บาท
    • น้ำมันงา 2 ขวดๆละ 89 บาท เป็นเงิน 178
      บาท
    • ผักกาดหอม 3 กก.ๆละ 60 บาท เป็นเงิน
      180 บาท
    • แตงกวา 3 กก.ๆละ 25 บาท เป็นเงิน 75 บาท
    • แครอท 3 กก.ๆละ 25 บาท เป็นเงิน 75 บาท
    • มะเขือเทศสีดา 3 กก.ๆละ 35 บาท เป็นเงิน
      105 บาท
    • ข้าวโพด 3 กก. * 20 บาท เป็นเงิน 60 บาท
    • กะหล่ำปลีสีม่วง 2 กก. * 55 บาท เป็นเงิน
      110 บาท
    • แก้วมังกร 3 กก.* 35 บาท เป็นเงิน 105 บาท
    • สับปะรด 3 กก. * 35 บาท เป็นเงิน 105 บาท
  • องุ่น 3 กก. * 45 บาท เป็นเงิน 135 บาท
    • ทูน่ากระป๋อง 10 กระป๋อง * 49 บาท เป็นเงิน 490 บาท
    • กล่องใส่แซนวิซ 2 แพ็ค * 70 บาท
      เป็นเงิน 140 บาท
    • หอมใหญ่ 2 กก. * 45 บาท เป็นเงิน 90 บาท
    • กระเทียม 1 กก. * 130 บาท เป็นเงิน 130 บาท
    • แผ่นปอเปี๊ยะ 2 ถุง * 75 บาท เป็นเงิน 150
      บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มีนาคม 2568 ถึง 31 กรกฎาคม 2568
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
12762.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 12,762.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1.ผู้ปกครอง ครูผู้ดูแลเด็กและผู้ประกอบอาหาร มีความรู้ความเข้าใจเรื่องโภชนาการมากยิ่งขึ้น
2.จำนวนเด็กมีภาวะโภชนาการสมวัยและบริโภคอาหารที่ดี ปลอดภัย ถูกหลักอนามัย


>