กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลนาประดู่

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการป้องกันภาวะแทรกซ้อนผู้ป่วยเบาหวานในเขตเทศบาลตำบลนาประดู่

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลนาประดู่

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลนาประดู่

เทศบาลตำบลนาประดู่

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานโรคเรื้อรัง

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

โรคไม่ติดต่อยังคงเป็นปัญหาสุขภาพอันดับหนึ่งของประชาชนไทยทั้งในแง่ภาระโรค และอัตราการเสียชีวิตก่อนวัยอันควร (30-69 ปี)จากโรคไม่ติดต่อที่สำคัญประกอบด้วยโรคหลอดเลือดสมอง,โรคหัวใจขาดเลือด,โรคเบาหวาน,ภาวะความดันโลหิตสุ. และโรคทางเดินหายใจอุดกั้นเรื้อรัง มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นตั้งแต่ ปี พ.ศ.ถึง ปี พ.ศ. 2559หลังจากนั้น มีแนวโน้มลดลงเล็กน้อยและคงที่ในปี พ.ศ. 2561 สำหรับสาเหตุหลักที่ทาให้เกิดโรคดังกล่าว มักเดจาก “กรรมพันธุ์และพฤติกรรม” ตามที่นโยบายของกระทรวงสาธารณสุขได้ให้ความสำคัญกับกระทบวนการมีส่วนร่วมของทุกคนภาคส่วนในสังคมในการพัฒนาประทศด้านต่าง ๆ โดยเฉพาะด้านการเสริมสร้างสุขภาวะให้คนไทยมีสุขภาพแข็งแรงทั้งกายและใจ สามารถดูแลตนเองได้โดยมุ่งเน้นการวิจัยและพัฒนาทุกสังคม และภูมิปัญญาชุมชนตลอดจนการมีส่วนร่วมของพื้นที่ในระดับท้องถิ่นกระทรวงสาธารณสุขได้กำหนดเกณฑ์ชี้วัดความสำเร็จของการสร้างสุขภาวะให้คนไทยแข็งแรงส่วนหนึ่งนั้นโดยได้กำหนดตัวชี้วัดของโรคไม่ติดต่อได้แก่โรคความดันโลหิตสูงโรคอัมพฤกษ์อัมพาตโรคเบาหวานโรคหลอดเลือดหัวใจโดยกำหนดให้มีกิจกรรมการคัดกรองค้นหาผู้ป่วยในชุมชนและให้มีการลดละกิจกรรมเสี่ยงอันได้แก่ละเลิกการสูบบุหรี่ดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ลดอาหารที่มีรสหวานมัน เค็ม และปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการรับประทานผักผลไม้เพิ่มขึ้น มีการออกกำลังกายเป็นประจำลดภาวะน้ำหนักเกินการดำเนินงานให้ประสบความสำเร็จอย่างมีประสิทธิภาพและยั่งยืนนั้นจำเป็นจะต้องอาศัยการมีส่วนร่วมจากทุกภาคทุกส่วนที่เกี่ยวข้อง และการกำหนดยุทธศาสตร์ที่เหมาะสมของพื้นที่จากข้อมูลผู้ป่วยโรคเบาหวานในเขตเทศบาลตำบลนาประดู่พบผู้ป่วยโรคเบาหวาน ทั้งหมด 99 ราย คิดเป็นร้อยละ 8.44 และพบว่ากลุ่มผู้ป่วยดังกล่าวระดับน้ำตาลในเลือดที่สูงซึ่งเสี่ยงต่อการเกิดโรคแทรกซ้อนทางไต และภาวะแทรกซ้อนของโรคอื่น ๆ อันจะส่งผลต่อคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยได้โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลนาประดู่มุ่งหวังเพิ่มประสิทธิภาพในการดูแลตนเองของผู้ป่วยโรคเบาหวานจึงได้จัดทำโครงการป้องกันภาวะแทรกซ้อนผู้ป่วยเบาหวาน ในเขตเทศบาลตำบลนาประดู่เพื่อให้ผู้ป่วยปรับเปลี่ยนพฤติกรรมและสามารถควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด ส่งผลให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้ผู้ป่วยโรคเบาหวาน มีความรู้ ความเข้าใจ ในการดูแลตนเองจากภาวะแทรกซ้อนได้อย่างถูกต้อง

ร้อยละ 90 ของกลุ่มเป้าหมายมีความรู้เรื่องโรคเบาหวานเพิ่มขึ้น

47.00 47.00
2 เพื่อให้ผู้ป่วยโรคเบาหวาน สามารถควบคุมระดับน้ำตาลห้อยู่ในเกณฑ์ควบคุมได้

ร้อยละ 90 ของกลุ่มเป้าหมายควบคุมน้ำตาลในเลือดให้อยู่ในเกณฑ์ปกติ

0.00
3 เพื่อลดอัตราการเกิดโรคแทรกซ้อนทางตา ไต เท้า และโรคหลอดเลือดสมองในผู้ป่วยโรคเบาหวาน

ร้อยละ 70 ไม่มีภาวะแทรกซ้อนของโรคที่สามารถป้องกันได้

0.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง 70
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 04/02/2025

กำหนดเสร็จ 20/09/2025

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 อบรมให้ความรู้ และคัดกรองสุขภาพ รุ่นที่ 1

ชื่อกิจกรรม
อบรมให้ความรู้ และคัดกรองสุขภาพ รุ่นที่ 1
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

มีการจัดกิจกรรมอบรมให้ความรู้ผู้ป่วยเบาหวาน จำนวน 2 รุ่น ๆละ 35 คน
-ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม 47 คน x 2 มื้อ x 35 บาทเป็นเงิน 3,450 บาท -ค่าอาหารกลางวัน 47 คน x 70 บาท เป็นเงิน 3,290 บาท -ค่าวิทยากร จำนวน 6 ชั่วโมง ๆ ละ 600 บาทเป็นเงิน 3,600 บาท -ค่าวัสดุอุปกรณ์ในการอบรมเช่นปากกา แฟ้ม สมุดบันทึกฯลฯ จำนวน 42คน x 50 บาทเป็นเงิน 2,100 บาท -ค่าเอกสารในการอบรม 42 x 5 เป็นเงิน 210 บาท
- ไวนิลโครงการขนาด 1X4 เมตร ตารางเมตรละ 250 บาท เป็นเงิน 1,000 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
10 มีนาคม 2568 ถึง 31 สิงหาคม 2568
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

กลุ่มเป้าหมายมีความรู้เรื่องโรคเบาหวาน /กลุ่มเป้าหมายสามารถนำความรู้ไปปฏิบัติได้

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
13650.00

กิจกรรมที่ 2 อบรมให้ความรู้คัดกรองสุขภาพ รุ่นที่ 2

ชื่อกิจกรรม
อบรมให้ความรู้คัดกรองสุขภาพ รุ่นที่ 2
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

-ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม 47 คน x 2 มื้อ x 35 บาทเป็นเงิน 3,450 บาท -ค่าอาหารกลางวัน 47 คน x 70 บาท เป็นเงิน 3,290 บาท -ค่าวิทยากร จำนวน 6 ชั่วโมง ๆ ละ 600 บาทเป็นเงิน 3,600 บาท -ค่าวัสดุอุปกรณ์ในการอบรมเช่นปากกา แฟ้ม สมุดบันทึกฯลฯ จำนวน 42คน x 50 บาทเป็นเงิน 2,100 บาท -ค่าเอกสารในการอบรม 42 x 5 เป็นเงิน 210 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
10 มีนาคม 2568 ถึง 31 สิงหาคม 2568
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

กลุ่มเป้าหมายมีความรู้เรื่องโรคเบาหวาน /กลุ่มเป้าหมายสามารถนำความรู้ไปปฏิบัติได้

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
12650.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 26,300.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

กลุ่มเป้าหมายสามารถควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้


>