กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

โครงการส่งเสริมสุขภาพด้วยศาสตร์การแพทย์แผนไทยในเขตเทศบาลตำบลนาประดู่

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลนาประดู่

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการส่งเสริมสุขภาพด้วยศาสตร์การแพทย์แผนไทยในเขตเทศบาลตำบลนาประดู่

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลนาประดู่

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลนาประดู่

เทศบาลตำบลนาประดู่

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานโรคเรื้อรัง

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

การแพทย์แผนไทยนับเป็นภูมิปัญญาไทยที่มีองค์ความรู้ความสามารถอันเกิดจากการรวบรวมความรู้ในด้านต่าง ๆ ที่ผ่านกระบวนการสืบทอดพัฒนาปรับปรุง และเลือกสรรมาแล้วเป็นอย่างดีที่สามารถกำมาใช้ในการดูแลสุขภาพในการสร้างเสริมสุขภาพการป้องกันโรคการบำบัดรักษา และฟื้นฟูสุขภาพที่ครอบคลุมด้านร่างกายจิตใจอารมณ์และสิ่งแวดล้อมแบบองค์รวมโดยใช้หลักธรรมมานามัย 3 ประการคือกายานามัยจิตตานามัย และชีวิตานามัยการส่งเสริมสุขภาพด้วยหลักกายานามัย เป็นการปรับสมดุลของธาตุเจ้าเรือนดินน้ำลมไฟ ในร่างกายโดยการรับประทานอาหารสมุนไพรกานวดไทยการอบสมุนไพรการประคบสมุนไพร และกายบริหารแบบไทยส่วนจิตตานามัย เป็นการทำสมาธิสบจิต และภาวนาเป็นการรักษาสุขภาพทางใจ และชีวิตานามัยเป็นการดำเนินชีวิตสายกลาง มีสิ่งแวดล้อมที่ดีและมีอาชีพที่เหมาะสม ศาสตร์การแพทย์แผนไทยจึงมีประโยชน์ต่อการนำมาใช้ในการดูแลสุขภาพคนไทยโดยรวม
คลินิกแพทย์แผนไทยโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลนาประดู่ได้เล็งเห็นถึงการดูแลสุขภาพตัวเองซึ่งเป็นการดูแลตั้งแต่ต้นเหตุได้มีความรู้ในการดูแลสุขภาพที่สอดคล้องกับวิถีชีวิตจึงนำศาสตร์การแพทย์แผนไทยมาประยุกต์ใช้ชีวิตประจำวันโดยจัดเป็นให้มีกิจกรรมการสร้างเสริมสุขภาพซึ่งมีกิจกรรมคือให้ความรู้เรื่องการสร้างเสริมสุขภาพด้วยการแพทย์แผนไทย และการทำผลิตภัณฑ์จากสมุนไพร บริหารกล้ามเนื้อด้วยท่าฤาษีดัดตน
ดังนั้นโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลนาประดู่จึงได้จัดทำโครงการการสร้างเสริมสุขภาพด้วยศาสตร์การแพทย์แผนไทยเขตเทศบาลตำบลนาประดู่เพื่อเป็นการดูแลสุขภาพแบบองค์รวมซึ่งเป็นองค์ความรู้ที่เอื้อต่อการดูแลสุขภาพให้เกิดความยั่งยืนทั้งในระดับบุคคลครอบครัวชุมชนสังคมและสิ่งแวดล้อม ทั้งด้านร้างกายจิตใจจิตวิญญาณปัญญาสังคมและสิ่งแวดล้อม และสามารถนำความรู้ที่ได้รับไปใช้ชีวิตประจำวันนำไปเผยแพร่ และช่วยเหลือผู้อื่นได้อย่างบูรณาการ สามารถสร้างเสริมสุขภาพให้มีคุณภาพชีวิตดีขึ้นการเห็นคุณค่าตนเองเพิ่มมากขึ้นตลอดจนเป็นการอนุรักษ์ และเล็งเห็นถึงคุณค่าในศาสตร์แพทย์แผนไทยต่อไป

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้ประชาชนมีความรู้ความเข้าใจเรื่องการสร้างเสริมสุขภาพด้วยศาสตร์การแพทย์แผนไทย

ร้อยละ 90 ของกลุ่มเป้าหมายมีความรู้เรื่องการสร้างเสริมสุขภาพด้วยศาสตร์การแพทย์แผนไทย

1.00
2 เพื่อส่งเสริมให้ประชาชนในพื้นที่ใช้สมุนไพรและภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทยในการดูแลสุขภาพ

ร้อยละ 50 ของกลุ่มเป้าหมายมีการใช้สมุนไพรในการดูแลสุขภาพ

0.00
3 เพื่อให้ประชาชนสามารถผลิตสมุนไพรหรือผลิตภัณฑ์สมุนไพรได้ด้วยตนเอง

ร้อยละ 10 ของกลุ่มเป้าหมายสามารถผลิตสมุนไพรได้ด้วยตนเอง

0.00
4 เพื่อให้ประชาชนมีความรู้ ความเข้าใจ ในท่าบริหารกล้ามเนื้อด้วยท่าฤาษีดัดตน

ร้อยละ 70 ของกลุ่มเป้าหมาย สามารถบริหารกล้ามเนื้อด้วยท่าฤาษีดัดตน

0.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 55
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 10/03/2025

กำหนดเสร็จ 29/08/2025

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 อบรมเชิงปฏิบัติการศาสตร์การแพทย์แผนไทย

ชื่อกิจกรรม
อบรมเชิงปฏิบัติการศาสตร์การแพทย์แผนไทย
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  1. ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม 55 คน x 35 บาท x 2 มื้อเป็นเงิน 3,850 บาท
  2. ค่าอาหารกลางวัน 55 คน x 75 บาท เป็นเงิน 4,125 บาท
  3. ค่าวิทยากร จำนวน 6 ชั่วโมง ๆ ละ 600 บาท เป็นเงิน 3,600 บาท
  4. ค่าวัสดุอุปกรณ์ในการอบรมเช่น สมุดบันทึกปากกา แฟ้ม 50 คน x 50 บาทเป็นเงิน 2,500 บาท
  5. ค่าป้ายไวนิล ขนาด 1X4 เมตร ตารางเมตรละ 250 บาท เป็นเงิน 1,000 บาท
  6. ค่าวัสดุอุปกรณ์จัดทำสมุนไพรแบ่งเป็น -สมุนไพรแห้ง 20 กิโลกรัมๆ ละ 300 บาท เป็นเงิน6,000 บาท -ผ้าด้ายดิบ 50 ผืน ๆ ละ 8 บาทเป็นเงิน 400 บาท -เชือก 3 ใจ ๆละ 100 บาท เป็นเงิน 300 บาท -การบูร 3 กิโลกรัม ๆ ละ 1,000 บาทเป็นเงิน 3,000 บาท -พิมเสน 3 กิโลกรัม ๆ ละ 1,000 บาทเป็นเงิน 3,000 บาท -ค่าเอกสารในการอบรม 50x10 เป็นเงิน 500 บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
20 มีนาคม 2568 ถึง 29 สิงหาคม 2568
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ผู้สูงอายุและผู้สูงอายุที่เป็นโรคเรื้อรัง ด้วยแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือกมากขึ้น

ผู้สูงอายุกลุ่มป่วยและผู้สูงอายุที่เป็นโรคเรื้อรัง มีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมด้านอาหาร

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
28275.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 28,275.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

ประชาชนสามารนำความรู้เรื่องศาสตร์การแพทย์แผนไทยไปใช้ในชีวิตประจำวัน


>