กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลทุ่งหว้า

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการส่งเสริมการออกกำลังกายขยับกาย สบายชีวา มีสุขภาพดี ในชุมชนทุ่งปรือ ประจำปีงบประมาณ 2568

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลทุ่งหว้า

คณะกรรมการชุมชนทุ่งปรือ

1.นางวีณาขุนแสง
2.นางฟาติม๊ะหีมปอง
3.นางจิตติมาส่งข่าว
4.นางสาวอัญชนาเอี้ยวสง่า
5.นางสาวจารุวรรณขุนแสง

ณ ศาลาเอนกประสงค์ หมู่ที่ 4 บ้านทุ่งปรือ

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานกิจกรรมทางกาย

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

สุขภาพของคนไทยในปัจจุบัน ที่เน้นการสร้างมากกว่าการซ่อม ซึ่งเป็นการเน้นระบบสุขภาพเชิงรุก และการสร้างเสริมสุขภาพ ปัจจุบันประชาชนป่วยเป็นโรคที่สามารถป้องกันได้เป็นส่วนใหญ่ ทำให้สิ้นเปลืองงบประมาณและค่าใช้จ่ายในการเยียวยารักษา จึงได้มีการรณรงค์ให้ประชาชนได้มาใส่ใจในการออกกำลังกายเพื่อป้องกันโรคภัยไข้เจ็บ ตามที่ภาครัฐได้กำหนดนโยบาย 5 อ. เป็นหลักในการสร้างสุขภาพแก่ประชาชน ประกอบด้วย การออกกำลังกาย อาหารปลอดภัย อารมณ์และสุขภาพจิต อนามัยชุมชน และอโรคยา ซึ่งได้เริ่มจากการจัดกิจกรรมออกกำลังกายเป็นเรื่องแรก การออกกำลังกายจึงมีความสำคัญในการส่งเสริมสุขภาพ ได้มีการออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ เพื่อดูแลสุขภาพของตนเองให้สมบูรณ์แข็งแรงทั้งร่างกายและจิตใจ สุขภาพที่ดีเป็นสิ่งที่ทุกคนปรารถนา การมีสุขภาพที่ดีมิได้หมายถึงเพียงการมีหลักประกันในการเข้าถึงหลักประกันเท่านั้น ต้องขึ้นอยู่กับประชาชนรู้จักดูแลสุขภาพของตนเอง เพราะโรคบางโรคสามารถป้องกันได้ด้วยการออกกำลังกาย เช่นโรคความดันโลหิตสูง โรคไขมันในเลือด โรคเบาหวาน โรคอ้วน เป็นต้น ดังนั้น ชุมชนทุ่งปรือ จึงได้จัดโครงการส่งเสริมการออกกำลังกาย และกิจกรรมการเล่นกีฬาเปตอง เป็นกีฬาที่มีประโยชน์ทั้งร่างกายและจิตใจ การเล่นเปตองเป็นการออกกำลังกายที่เหมาะสมกับทุกช่วงวัย เนื่องจากเป็นการออกกำลังกายที่ไม่ต้องการใช้กำลังมาก เป็นการฝึกสมาธิและการเล่นเป็นทีม ก่อให้เกิดความสามัคคีในหมู่คณะ ยังสามารถลดความเครียดจากภารกิจต่างๆได้เป็นอย่างดี หวังเป็นอย่างยิ่งว่า กองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลตำบลทุ่งหว้า สนับสนุนงบประมาณมาจัดกิจกรรมโครงการส่งเสริมการออกกำลังกายขยับกาย สบายชีวา มีสุขภาพดีในชุมชนทุ่งปรือ เพื่อส่งเสริมให้คนในชุมชนร่วมออกกำลังกาย มีร่างกายสมบูรณ์แข็งแรงมากยิ่งขึ้น รวมทั้งลดอัตราการเจ็บป่วยและการเกิดโรคของผู้ป่วยรายใหม่ในชุมชนอีกด้วย

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 1. เพื่อส่งเสริมให้ประชาชนออกกำลังกายเป็นประจำ สม่ำเสมอและต่อเนื่อง เพื่อสุขภาพแข็งแรงเสริมสร้างภูมิคุ้มกันโรค

ประชาชนมีการออกำลังกาย เพื่อสุขภาพ ร้อยละ  80

100.00 100.00
2 1. เพื่อให้คนในชุมชนมีความรู้เกี่ยวกับการออกกำลังกาย

. ผู้เข้าร่วมมีความตระหนัก และมีความรู้ในการออกกำลังกาย ร้อยละ  80

100.00 100.00
3 3.เพื่อให้คนในชุมชนมีความสามัคคี และใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์

ชุมชนมีความสามัคคี และใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์ ร้อยละ 80

100.00 100.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 50
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/02/2025

กำหนดเสร็จ 30/09/2025

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 กิจกรรมหลัก อบรมให้ความรู้เรื่องโรคร้ายที่เกิดจากพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสม / ความรู้นโยบาย 5 อ กิจกรรมย่อย ฝึกทักษะการออกกำลังกายด้วยกิจกรรมกีฬาเปตอง ถาม – ตอบ ปัญหาสุขภาพ

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมหลัก อบรมให้ความรู้เรื่องโรคร้ายที่เกิดจากพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสม / ความรู้นโยบาย 5 อ กิจกรรมย่อย ฝึกทักษะการออกกำลังกายด้วยกิจกรรมกีฬาเปตอง ถาม – ตอบ ปัญหาสุขภาพ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

วิธีดำเนินการ (ออกแบบให้ละเอียด) ระยะเตรียมการ 1. กำหนดโครงการ ประชุมทีมงานเพื่อวางแผนกิจกรรมในการดำเนินโครงการ  2. ดำเนินการเขียนโครงการ  3. นำเสนอโครงการเพื่อขออนุมัติ   4. จัดเตรียมเอกสาร วัสดุอุปกรณ์ ที่เกี่ยวข้องในการดำเนินโครงการ
ระยะดำเนินการ  1. ค้นหากลุ่มเป้าหมาย  ประชาชนในชุมชน   2. ประชาสัมพันธ์โครงการให้ทราบในชุมชนโดยคณะกรรมการชุมชน  3. ติดต่อวิทยากร  เพื่อให้ความรู้แก่สมาชิกผู้เข้าร่วม  4. จัดเตรียมสถานที่ในการจัดอบรม  5. จัดกิจกรรมอบรมให้ความรู้  และกิจกรรมกีฬาเปตอง   6. ถาม-ตอบ  ปัญหาสุขภาพ
ระยะประเมินผล  1. สรุปผลการดำเนินการตามโครงการ   2. จัดทำรายงานสรุปโครงการ
รายละเอียดงบประมาณ   1 ค่าสมนาคุณวิทยากร จำนวน 1 คน จำนวน 3 ชั่วโมงๆละ 600 บาท เป็นเงิน 1,800 บาท  2 ค่าสมนาคุณวิทยากรกลุ่ม จำนวน 2 คนๆละ 3 ชั่วโมงๆละ 600 บาท เป็นเงิน 3,600 บาท   3 ค่าอาหารว่าง 2 มื้อๆละ 35 บาท จำนวน 50 คน เป็นเงิน 3,500 บาท   4 ค่าอาหารกลางวัน 1  มื้อๆละ 70 บาท จำนวน 50 คน เป็นเงิน 3,500 บาท  5 ค่าป้ายไวนิล 1 ป้าย ขนาด 1.2*2.5 เมตร  เป็นเงิน 450 บาท  6 ค่าแฟ้ม/ปากกา/สมุด 50 ชุดๆละ 50 บาท เป็นเงิน  2,500 บาท  7 ค่าเอกสารที่ใช้ในโครงการ เป็นเงิน 400 บาท  8  ค่าอุปกรณ์สาธิต (เปตอง) 1 ชุด เป็นเงิน 2,250 บาท   รวมทั้งสิ้น 18,000 บาท  (หนึ่งหมื่นเเปดพันบาทถ้วน)  ทุกรายการถัวเฉลี่ยได้

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 กุมภาพันธ์ 2568 ถึง 30 กันยายน 2568
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
  1. ผู้เข้าร่วมกิจกรรม มีความรู้ ความเข้าใจ และประโยชน์ของกรออกกำลังกาย
  2. ผู้เข้าร่วม ออกกำลังกายเพื่อสุขภาพ ร่างกายแข็งแรง มีคุณภาพชีวิตที่ดี มีความสามัคคี
  3. ผู้เข้าร่วมมีความสนใจในการออกกำลังกายเพิ่มมากขึ้น และรู้จักการใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์
  4. ชุมชนเป็นแบบอย่างการส่งเสริมการออกกำลังกาย ในพื้นที่เทศบาลตำบลทุ่งหว้า
จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
18000.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 18,000.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. ผู้เข้าร่วมกิจกรรม มีความรู้ ความเข้าใจ และประโยชน์ของกรออกกำลังกาย
2. ผู้เข้าร่วม ออกกำลังกายเพื่อสุขภาพ ร่างกายแข็งแรง มีคุณภาพชีวิตที่ดี มีความสามัคคี
3. ผู้เข้าร่วมมีความสนใจในการออกกำลังกายเพิ่มมากขึ้น และรู้จักการใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์
4. ชุมชนเป็นแบบอย่างการส่งเสริมการออกกำลังกาย ในพื้นที่เทศบาลตำบลทุ่งหว้า


>