2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
3. สถานการณ์
อวัยวะต่าง ๆ จากการศึกษาภาวะสุขภาพผู้สูงอายุไทย พบว่า ผู้สูงอายุมีปัญหาปวดข้อเข่า ในสัดส่วนที่ค่อนข้างสูง คือ ร้อยละ ๔๓.๙ จาการทำกิจกรรมลงคัดกรองในชุมชนพื้นที่หมู่ที่ 3 , 4 และ 6 ปี 2567 พบว่าส่วนใหญ่พบปัญหาสุขภาพด้านข้อเข่า จำนวน 216 คน คิดเป็นร้อยละ 45.96ด้านการหกล้ม จำนวน 27 คน คิดเป็นร้อยละ 5.74ด้านช่องปาก จำนวน 54 คน คิดเป็นร้อยละ 11.49 ด้านความจำ จำนวน 21คน คิดเป็นร้อยละ 4.47ด้านการมองเห็น จำนวน 10 คน คิดเป็นร้อยละ 2.13ด้านการกลั้นปัสสาวะจำนวน 6 คน คิดเป็นร้อยละ 1.28 และด้านกิจวัตรประจำวัน จำนวน 27 คนคิดเป็นร้อยละ 5.74
จากการดำเนินกิจกรรมคัดกรองเชิงรุกในปี่งบประมาณ 2567 พบว่ามีปัญหาด้านข้อเข่า จำนวน 216 คน ได้ดำเนิน โครงการชาวหูแร่สดใส ห่างไกลข้อเข่าเสื่อม ซึ่งมีกิจกรรม อบรมให้ความรู้โรคข้อเข่าเสื่อม วิธีการดูแลตนเอง และกิจกรรมการคัดกรองประเมินอาการปวดเข่า แก่กลุ่มเป้าหมาย วันที่ 2 นัดกลุ่มเป้าหมาย สาธิตปฏิบัติการพอกเข่า แนะนำการผสมส่วนต่างๆของสมุนไพร พร้อมสาธิตย้อนกลับเพื่อความถูกต้องทั้งสองกิจกรรมมีผู้เข้าร่วมโครงการจำนวน 55 คน พบว่ามีอาการปวดระดับปานกลางและระดับมากที่สุดจำนวน 40 คน และมีอาการปวดระดับเล็กน้อย จำนวน 15 คน ซึ่งผู้เข้ารับการอบรมมีความสนใจและสามารถปฏิบัติได้ถูกต้อง ทางวิทยากรได้แจกอุปกรณ์การพอกเข่าให้ผู้เข้าร่วมได้นำไปพอกเข่าต่อที่บ้าน จำนวน 5 ครั้งโดยพอกวันละ 1 ครั้ง พร้อมงดอาหารแสลง ของหมักดองกิจกรรมครั้งที่ 3 มีการอบรมฟื้นฟูกลุ่มเป้าหมาย สะท้อนปัญหา แนวคิดเพื่อปรับใช้ในชีวิตประจำวัน และประเมินผลการใช้สมุนไพรพอกเข่าหลังจากพอกเข่าครบ5 ครั้งพบว่า อาการปวดเข่าลดลง จำนวน 55 คน คิดเป็นร้อยละ 100 ซึ่งจากปัญหาดังกล่าว ยังมีผู้ป่วยที่มีปัญหาด้านข้อเข่าจำนวนมาก ที่ไม่ได้เข้าร่วมโครงการแต่มีการส่งต่อการรักษาเพื่อตรวจมวลกระดูกและรับยาแคลเซียมเพื่อบำรุงกระดูกพรุน จำนวน 12 คน ซี่งเป็นเหตุผลที่ทำให้โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลหูแร่ จัดทำโครงการอย่างต่อเนื่อง เพราะปัญหาปวดข้อเข่าทำให้ผู้สูงอายุ เกิดความยากลำบากในการเคลื่อนไหว ส่งผลให้คุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุลดลง เป็นอุปสรรคในการเข้าสังคม ทำให้สูญเสียเวลาและค่าใช้จ่ายในการรักษาจำนวนมาก และส่งผลต่อร่างกายจากการใช้ยาแก้ปวดหรือวิธีการจัดการอาการปวดที่ไม่เหมาะสม ความเจ็บปวดส่งผลให้ผู้สูงอายุ ต้องหาวิธีการที่จะจัดการกับอาการโดยการซื้อยากินเองถึงร้อยละ ๓.๙ ซึ่งอาจเกิดผลข้างเคียงจากการใช้ยาได้ เช่น ระคายเคืองเยื่อบุกระเพาะอาหาร อาจมีอาการปวดท้องและเลือดออกได้ อาการปวดข้อเข่าสามารถที่จะบรรเทาได้โดยไม่ต้องใช้ยาแก้ปวด เช่น การพอกยาสมุนไพร การบริหารแบบไทยด้วยท่าฤาษีดัดตน ที่จะช่วยชะลอความเสื่อมของข้อเข่าได้
4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด
- บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
- ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
5. กลุ่มเป้าหมาย
6. ระยะเวลาดำเนินงาน
วันเริ่มต้น 01/02/2025
กำหนดเสร็จ 31/08/2025
7. วิธีการดำเนินงาน
- กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
- งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด
หมายเหตุ :
8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง
ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?1.ผู้สูงอายุมีความรู้ ทักษะในการปฏิบัติตนเกี่ยวกับการดูแลตนเองได้ถูกต้อง
2. ผู้สูงอายุที่เป็นกลุ่มเสี่ยงและกลุ่มที่มีความปัญหาสุขภาพได้การการส่งต่อดูแลอย่างถูกต้อง
3. ลดภาวะซึมเศร้าในกลุ่มผู้สูงอาย