กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.บ้านแหร

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการป้องกันภาวะแทรกซ้อนในผู้ป่วยโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง รพ.สต.บ้านแหร ปีงบประมาณ 2568

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.บ้านแหร

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านแหร

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านแหร

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานโรคเรื้อรัง

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

ด้วยสถานการณ์ปัจจุบันกลุ่มโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง เป็นปัญหาสำคัญทางสาธารณสุขและมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะโรคเบาหวาน(DM)และโรคความดันโลหิตสูง (HT) เป็นภัยเงียบที่ส่งผลกระทบทำให้เกิดภาวะโรคแทรกซ้อน ทำให้เกิดความพิการและตายก่อนวัยอันควร การเกิดโรคมีสาเหตุจากหลายปัจจัยเสี่ยงที่มาจากพฤติกรรม การรับประทานอาหารที่ไม่เหมาะสม ขาดการออกกำลังกาย และนำไปสู่การเจ็บป่วยแทรกซ้อนที่สำคัญ อาทิ โรคจอประสาทตาเสื่อม โรคไตวายเรื้อรัง (CKD)โรคหัวใจและหลอดเลือด(CVD) แผลเรื้อรัง การถูกตัดขา ตัดนิ้ว เป็นต้น ความเจ็บป่วยเหล่านี้ส่งผลกระทบต่อคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยตลอดจนใช้จ่ายด้านสาธารณสุขโดยรวม
จากข้อมูลปี2567 รพ.สต.บ้านแหร รับผิดชอบในการดูแลผู้ป่วยกลุ่มโรคเรื้อรังที่เป็นโรคเบาหวาน จำนวน 180 ราย และพบว่ามีภาวะแทรกซ้อนในโรคอื่นร่วมด้วย จำนวน 101 ราย คิดเป็นร้อยละ 56.11 และผู้ป่วยที่เป็นความดันโลหิตสูง จำนวน 458 ราย และมีโรคอื่นร่วมด้วย จำนวน 219 ราย คิดเป็นร้อยละ 47.81 จำนวนที่กล่าวขั้นต้น เป็นจำนวนผู้ป่วยที่เป็นโรคเรื้อรังทั้งหมดในเขตพื้นที่ รพ.สต.บ้านแหร ที่เข้ารับการรักษาใน โรงพยาบาลธารโต และ รพ.สต.บ้านแหร ซึ่งปัจจุบัน รพ.สต.บ้านแหร ได้ดูแลผู้ป่วยที่เป็นเบาหวานที่มารับบริการทั้งหมด 180 ราย ควบคุมระดับ น้ำตาลในเลือดได้71 ราย คิดเป็นร้อยละ39.44 โรคความดันโลหิตสูง 458 ราย และควบคุมระดับความดันได้ 282 ราย คิดเป็นร้อยละ 61.57 และในแต่ละปีจะมีผู้ป่วยกลุ่มโรคเรื้อรังในคลินิกเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ
โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านแหร จึงเห็นความสำคัญในการดูแลผู้ป่วยตั้งแต่เริ่มแรก ร่วมกับการป้องกันการเกิดภาวะแทรกซ้อนแก่ผู้ป่วยจึงได้จัดทำ โครงการป้องกันภาวะแทรกซ้อนในผู้ป่วยโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูงขึ้น เพื่อให้ผู้ป่วยมีความรู้และมีส่วนร่วมในการดูแลตนเอง ร่วมรับรู้แก้ไขปัญหาร่วมกันอย่างมีคุณภาพ ในเรื่องการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในด้านต่างๆ ที่จะส่งผลให้เกิดภาวะแทรกซ้อนต่างๆ ให้ผู้ป่วย เกิดความตระหนักในการดูแลตนเอง ได้อย่างถูกต้องและมีความต่อเนื่องและยั่งยืน

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้ผู้ป่วยเรื้อรัง/ญาติ มีความรู้/ตระหนักในการดูแลสุขภาพ ป้องกันภาวะแทรกซ้อน

ผู้ป่วยเรื้อรังและญาติมีความตระหนักในการดูแลสุขภาพของตนเองและบุคคลในครอบครัว

0.00
2 เพื่อให้ผู้ป่วยเรื้อรัง/ญาติสามารถดูแล/ป้องกันภาวะแทรกซ้อนและปฏิบัติตัวได้อย่างถูกต้อง

ผู้ป่วยเรื้อรัง/ญาติสามารถดูแล ป้องกันภาวะแทรกซ้อนและปฏิบัติตัวได้อย่างถูกต้อง

0.00
3 เพื่อให้เกิดเครือข่ายภาคประชาชนในการดูแล/ป้องกันปัญหาโรคไตวายเรื้อรังในกลุ่มผู้ป่วยเรื้อรัง

เกิดเครือข่ายภาคประชาชน

0.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง 40
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/04/2025

กำหนดเสร็จ 29/09/2025

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 กิจกรรม จัดอบรมให้ความรู้

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรม จัดอบรมให้ความรู้
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

อบรมให้ความรู้เรื่องโรคเรื้อรัง/การป้องกันภาวะแทรกซ้อน กลุ่มเป้าหมายผู้ป่วยเบาหวานและความดันโลหิตสูงจำนวน 40 คน โดยมีงบประมาณในการดำเนินงานดังนี้

  • ค่าอาหารกลางวัน จำนวน 40คนๆละ 70 บาท * 1 วัน = 2,800บาท
  • ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่มจำนวน 40 คนๆละ 30 บาท * 2 มื้อ=2,400บาท
  • ค่าตอบแทน วิทยากรจำนวน6 ชั่วโมงๆละ300 บาท* 1 วัน=1,800บาท
  • ค่าเอกสารสำหรับการจัดอบรมจำนวน 40 ชุดๆละ30 บาท = 1,200 บาท
  • ค่าไวนิล
    • ค่าไวนิลป้ายโครงการ จำนวน 1 ป้ายเป็นเงิน500 บาท
    • ค่าไวนิล สื่อสุขศึกษาเกี่ยวกับเบาหวานและความดันโลหิตสูงขนาด 0.8*1.8จำนวน 4 ป้าย *500บาท = 2,000บาท
  • ค่าครุภัณฑ์
    • เครื่องวัดองค์ประกอบภายในร่างกาย1 เครื่อง = 7,500 บาท
    • เครื่องชั่งน้ำหนัก 1 เครื่อง = 500 บาท
    • เครื่องวัความดัน 1 เครื่อง = 2,000 บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
1 เมษายน 2568 ถึง 30 เมษายน 2568
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
20700.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 20,700.00 บาท

หมายเหตุ :
ทุกรายการสามารถถัวเฉลี่ยได้ตามความเหมาะสม

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1.ผู้ป่วยเรื้อรังมีความรู้ / ตระหนักในการดูแลสุขภาพ เพื่อป้องกันและลดการเกิดภาวะแทรกซ้อนได้ร้อยละ 90
2.อัตราการเกิดภาวะแทรกซ้อนในกลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรังลดลง
3.เกิดเครือข่ายภาคประชาชนในการดูแล/ป้องกันปัญหาภาวะแทรกซ้อนเรื้อรังในกลุ่มผู้ป่วยเบาหวานและความดันโลหิตสูง


>