กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลเมืองทุ่งตำเสา

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการประชาชนต้นแบบ ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ ลดพุง ลดโรค รพ.สต.บ้านหินผุด ปีงบประมาณ 2568

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลเมืองทุ่งตำเสา

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านหินผุด

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านหินผุด

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ ตามหลัก 3อ. 2ส. (อาหาร ออกกำลังกาย อารมณ์ สุรา บุหรี่) ถือว่ามีความสำคัญอย่างยิ่งในการดูแลสุขภาพ ตนเองและครอบครัว การเคลื่อนไหวร่างกายน้อย ไม่ค่อยมีเวลาออกกำลังกาย และไม่ค่อยสนใจเรื่องอาหารที่มีประโยชน์พฤติกรรมที่เป็นปัจจัยที่ไม่สามารถควบคุมได้ เช่น กรรมพันธุ์ อายุ และปัจจัยที่สามารถควบคุมได้ เช่น ความอ้วน ความเครียด การขาดการออกกำลังกาย การบริโภคอาหารและพฤติกรรมสุขภาพ ที่ไม่เหมาะสม ทำให้เสี่ยงต่อการเกิดโรคโดยเฉพาะโรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง ซึ่งส่งผลกระทบต่อภาวะสุขภาพของบุคคลเกิดความเจ็บป่วยด้วยโรคเรื้อรังดังกล่าว
จากข้อมูลการตรวจสุขภาพของประชาชนที่ได้รับการคัดกรองโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูงในกลุ่มเสี่ยง อายุ 35 ปีขึ้น ในโครงการคัดกรอง ควบคุม ป้องกันโรคเบาหวานความดันโลหิตสูงในชุมชน รพ.สต.บ้านหินผุด ปีงบประมาณ 2567 จำนวนกลุ่มเสี่ยง 117 คน ได้รับการตรวจสุขภาพ จำนวน 117 คน คิดเป็นร้อยละ 100 มีค่าดัชนีมวลกาย กลุ่มปกติจำนวน 44 คน คิดเป็นร้อยละ 37.60 ค่าดัชนีมวลกายน้ำหนักเกิน 73 คน คิดเป็นร้อยละ 62.40 กลุ่มเสี่ยงโรคอ้วน จำนวน 42คน คิดเป็นร้อยละ 35.90 กลุ่มอ้วน จำนวน 23 คน คิดเป็นร้อยละ 19.66 กลุ่มอ้วนมาก จำนวน 8 คน คิดเป็นร้อยละ 6.84
ดังนั้น รพ.สต.บ้านหินผุด เล็งเห็นถึงปัญหาสุขภาพของประชาชนกลุ่มเสี่ยง รพ.สต.บ้านหินผุด จึงได้จัดทำโครงการประชาชนต้นแบบ ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ ลดพุง ลดโรค รพ.สต.บ้านหินผุด ปีงบประมาณ 2568 ให้แก่ ประชาชนอายุ 35 ปีขึ้น ที่เป็นกลุ่มเสี่ยงในโครงการคัดกรอง ควบคุม ป้องกันโรคเบาหวานความดันโลหิตสูงในชุมชน รพ.สต.บ้านหินผุด ปีงบประมาณ 2567 เพื่อสร้าง ประชาชนต้นแบบ สุขภาพดี ผ่านเกณฑ์หลัก 3อ. 2ส. เกิดการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพต่อตนเอง ลดการเป็นผู้ป่วยในกลุ่มเสี่ยงที่จะเกิดโรคและในกลุ่มป่วยเกิดความตระหนักดูแล ใส่ใจสุขภาพมากขึ้น เกิดภาวะสุขภาพที่สมบูรณ์แข็งแรง รวมทั้งชี้แนะสุขภาพส่วนบุคคล ครอบครัวและชุมชนเพื่อสุขภาพที่ดี การเสริมสร้างความรอบรู้ด้านสุขภาพและพฤติกรรมที่ถูกต้อง คือหัวใจหลักของการที่จะนำไปสู่การสร้างสุขภาพที่ดีให้กับประชาชนต่อไป

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 1. เพื่อสร้างความรอบรู้ด้านสุขภาพในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ ลดพุง ลดโรค ตามหลัก 3อ.2ส.
  1. ประชาชนกลุ่มเสี่ยงโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านหินผุดมีความรู้ด้านสุขภาพ ความรอบรู้ด้านสุขภาพ  ในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ ลดพุง ลดโรคตามหลัก 3อ. 2ส. ร้อยละ 90
0.00
2 2. เพื่อมีบุคคลต้นแบบในการดูแลสุขภาพของ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านหินผุด
  1. ประชาชนกลุ่มเสี่ยงโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านหินผุดมีบุคคลต้นแบบในการดูแลสุขภาพ ร้อยละ 80
0.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 73
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/02/2025

กำหนดเสร็จ 31/08/2025

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 1. ประชุมคณะกรรมการเพื่อวางแผนการดำเนินงานโครงการ (คณะกรรมการ 20 คน)(จนท.รพ.สต. 5 คน)

ชื่อกิจกรรม
1. ประชุมคณะกรรมการเพื่อวางแผนการดำเนินงานโครงการ (คณะกรรมการ 20 คน)(จนท.รพ.สต. 5 คน)
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่มคณะกรรมการโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านหินผุด จำนวน 25 คน (คนละ 25 บาท X 25 คน ) คิดเป็นเงิน 625 บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
1 กุมภาพันธ์ 2568 ถึง 28 กุมภาพันธ์ 2568
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
625.00

กิจกรรมที่ 2 2.กิจกรรมให้ความรู้

ชื่อกิจกรรม
2.กิจกรรมให้ความรู้
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

กิจกรรมให้ความรู้ - ฟังบรรยายโดยวิทยากรเรื่องการเลือกบริโภคอาหาร     การควบคุมน้ำหนักตัว และวิธีการออกกำลังกายอย่างง่าย (ประชาชนกลุ่มเสี่ยง 73 คน)  (จนท.รพ.สต. 8 คน) - ค่าไวนิลประชาสัมพันธ์เชิญมาเข้าร่วมกิจกรรม (1.2 เมตร X 2.4 เมตร) คิดเป็นเงิน 432 บาท - ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 81 คน (คนละ 25 บาท X 81 คน ) คิดเป็นเงิน 2,025 บาท - ค่าแบบประเมินความรอบรู้ด้านสุขภาพตามหลัก 3อ.2ส. (ก่อน-หลัง) (16 บาท X 73 ชุด ) คิดเป็นเงิน 1,168 บาท - วิทยากร (สนับสนุนโดย สสอ.หาดใหญ่) รวมเป็นเงิน 3,625 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 กุมภาพันธ์ 2568 ถึง 28 กุมภาพันธ์ 2568
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
3625.00

กิจกรรมที่ 3 3.กิจกรรมออกกำลังกาย

ชื่อกิจกรรม
3.กิจกรรมออกกำลังกาย
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • กิจกรรมเต้นแอโรบิค ลดพุง ลดโรค อาทิตย์ละ 3 วัน   วันละ 1 ชั่วโมง เวลา 17.00 น. ถึง 18.00 น. ของทุกวันจันทร์ วันพุธและวันศุกร์ (๓ เดือน = 38 ครั้ง) ณ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านหินผุด
    (ประชาชนกลุ่มเสี่ยง 73 คน)  (จนท.รพ.สต. 8 คน)
  • ผู้นำออกกำลังกาย (สนับสนุนโดยเจ้าหน้าที่ รพ.สต.บ้านหินผุด)
  • ค่าเครื่องดื่ม สำหรับผู้เข้าร่วมโครงการ (5 บาท X 81 คน X 38 ครั้ง )คิดเป็นเงิน 15,390 บาท
  • ค่าจัดซื้อเครื่องเสียงในการออกกำลังกาย ( 1 ชุด X 4,790 ) รุ่น APS-125  ยี่ห้อ Sherman ลำโพงอเนกประสงค์ล้อลาก แบบขยาย คิดเป็นเงิน 4,790 บาท
  • ค่าสมุดบันทึกสุขภาพ (เล่มละ 15 บาท X 73 เล่ม )คิดเป็นเงิน 1,095 บาท
  • สายวัดรอบเอว (4 เส้น x 20 บาท) คิดเป็นเงิน 80 บาท รวมเป็นเงิน 21,355 บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มีนาคม 2568 ถึง 31 พฤษภาคม 2568
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
21355.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 25,605.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. ประชาชนกลุ่มเสี่ยงมีความรอบรู้ด้านสุขภาพในการดูแลสุขภาพตามหลัก 3อ. 2ส.
2. ประชาชนกลุ่มเสี่ยงมีน้ำหนักตัวและรอบเอวลดลงจากก่อนเข้าร่วมโครงการ
3. ประชาชนกลุ่มเสี่ยงที่เข้าร่วมโครงการสามารถดูแลสุขภาพตนเอง ขยายผลสู่ครอบครัว และชุมชนได้อย่างต่อเนื่อง


>