2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
3. สถานการณ์
หลักการและเหตุผล
ตามพระราชบัญญัติ กำหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจ ให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2542 มาตรา 16 (19)กำหนดให้เทศบาล เมืองพัทยา และองค์การบริหารส่วนตำบลมีอำนาจและหน้าที่ในการ จัดระบบการบริการสาธารณะเพื่อประโยชน์ของประชาชนในท้องถิ่น ด้านการสาธารณสุข การอนามัยครอบครัว และการรักษาพยาบาลโดยมีเจตนารมณ์ให้ อปท.ดำเนินการส่งเสริมสนับสนุนและพัฒนาระบบสุขภาพที่เน้นการสร้างเสริมอันนำไปสู่สุขภาวะที่ยั่งยืนของประชาชน รวมทั้งจัดให้ประชาชนได้รับบริการสาธารณสุขที่มีมาตรฐานอย่างทั่วถึงและมีประสิทธิภาพประกาศคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เรื่องการกำหนดหลักเกณฑ์เพื่อสนับสนุนให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ดำเนินงานและบริหารจัดการกองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ พ.ศ. 2567 ได้ให้ความหมาย “การจัดบริการสาธารณสุข” หมายถึง การจัดบริการในชุมชน เพื่อการสร้างเสริมสุขภาพการป้องกันโรค การฟื้นฟูสมรรถ และการรักษาพยาบาลระดับปฐมภูมิเชิงรุก ที่จำเป็นต่อสุขภาพและการดำรงชีวิตนอกเหนือจากการจัดบริการปกติของหน่วยบริการ
บ้านเกาะบุโหลน ประกอบด้วยเกาะต่างๆ 8 เกาะ อยู่ในเขตตำบลปากนํ้า อำเภอละงู จังหวัดสตูล ห่างจากชายฝั่งประมาณ 22 กิโลเมตร และอยู่ในเขตอุทยานแห่งชาติหมู่เกาะเภตรา กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่าและพันธ์พืช เกาะที่มีราษฎรอาศัยมีอยู่ 2 เกาะคือ เกาะบุโหลนดอน และเกาะบุโหลนเล มีราษฎรอาศัยอยู่ประมาณ 193 ครัวเรือน 602 คน ราษฎรมีฐานะความเป็นอยู่ค่อยข้างอยากจน เกาะบุโหลนเลมีฐานะความเป็นอยู่ค่อยข้างดีกว่าเกาะบุโหลนดอน ส่วนใหญ่เป็นชาวเล (อุรักลาโว้ย)ใช้ภาษาชาวเลในการสื่อสาร นับถือศาสนาอิสลาม มีอาชีพทำประมงเป็นหลัก รองลงไปก็มีอาชีพรับจ้างและค้าขาย ลักษณะบ้านส่วนใหญ่เป็นกระท่อมไม้มุงหลังคาสังกะสี ทั้งสองเกาะมีมัสยิดและโรงเรียน ไม่มีสถานีอนามัย มีเพียงสุขศาลา จำนวน 2 แห่ง มีอาสาดูแลสุขภาพ(หมอน้อย)จำนวน 3 คน ด้านข้อมูลสถานะสุขภาพพบว่าประชาชนส่วนใหญ่ยังไม่สามารถเข้าถึงการบริการสาธารณสุขได้อย่างทั่วถึงเมื่อเจ็บป่วยหรือมีปัญหาสุขภาพชาวจะเหมาเรือขึ้นมาบนฝั่ง ซึ่งมีค่าใช้จ่ายสูง ทำให้ชาวบ้านบางส่วนรักษาเองตามความเชื่อ ที่สืบทอดปฏิบัติกันมา และช่วงมรสุมจะมีคลื่นลมแรงไม่สามารถขึ้นฝั่งมารักษาได้ ส่งผลกระทบต่อระบบสุขภาพโดยรวมทั้งในระดับบุคคล และชุมชน
ข้อมูลการออกให้บริการเมื่อปี พ.ศ.2567 ที่ผ่าน มีการจำเเนกโรค มีผู้เข้ารับบริการ 76 ราย มาเข้ารับบริการตรวจรักษาได้พบโรค 3 อับดับอันดับที่1คือ โรคระบบทางเดินหายใจ ร้อยละ 35.53 อับดับที่2 โรคกล้ามเนื้อและกระดูก ร้อยละ 17.11 และอันดับที่3 ทันตกรรม ร้อยละ18.42 เมื่อสอบถามความพึ่งพอใจต่อความต้องการให้มีการดำเนินโครงการออกหน่วยแพทย์เคลื่อนที่ทุรกันดารบ้านเกาะบุโหลน ปีงบประมาณ 2567 พบว่า ผู้เข้าใช้บริการมีความพึ่งพอใจต่อการจัดโครงการในภาพรวมอยู่ระดับมากที่สุด คิดเป็นร้อยละ 91.11 ซึ่งมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.91ดังนั้นกองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม องค์การบริหารส่วนตำบลปากน้ำ ได้เล็งเห็นความจำเป็นที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นต้องจัดบริการสาธารณะ โดยจัดกิจกรรมบริการสาธารณสุขด้านการสร้างเสริมสุขภาพ ป้องกันโรค ฟื้นฟูสมรรถภาพและรักษาพยาบาลเชิงรุก โดยจัดทีมสหวิชาชีพลงไปให้บริการในชุมชน ต่อไป
4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด
- บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
- ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
5. กลุ่มเป้าหมาย
6. ระยะเวลาดำเนินงาน
วันเริ่มต้น 01/05/2025
กำหนดเสร็จ 30/09/2025
7. วิธีการดำเนินงาน
- กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
- งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด
หมายเหตุ :
ทุกรายการสามารถถัวเฉลี่ยได้
8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง
ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?1.องค์การบริหารส่วนตำบลปากน้ำ ให้การดูแลและจัดบริการสาธารณะแก่ประชาชนในพื้นที่ห่างไกล และเสริมเติมเต็มในระบบสุขภาพในการให้บริการปฐมภูมิเชิงรุกแก่ประชาชนในพื้นที่อย่างทั่วถึงมากขึ้น
2. สามารถช่วยลดและประหยัดค่าใช้จ่ายในการเดินทางมารับบริการที่สถานบริการสาธารณสุข
3. ประชาชนได้รับการจัดบริการสาธารณสุข การจัดบริการเสริมสร้างสุขภาพ การป้องกันโรค การฟื้นฟูสมรรถภาพ และการรักษาพยาบาลระดับปฐมภูมิเชิงรุกมากขึ้น