กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

โครงการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมกลุ่มสงสัยป่วยและเสี่ยงสูงความดันโลหิตและเบาหวานเพื่อลดโรคความดันโลหิตสูงและเบาหวาน ปีงบประมาณ2568

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.เขาปู่

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมกลุ่มสงสัยป่วยและเสี่ยงสูงความดันโลหิตและเบาหวานเพื่อลดโรคความดันโลหิตสูงและเบาหวาน ปีงบประมาณ2568

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.เขาปู่

โรงพยาบาลสงเสริมสุขภาพตำบลเขาปู่

รพ.สต. เขาปู่

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานโรคเรื้อรัง , แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

โรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง เป็นโรคเรื้อรังที่มีสถิติการเสียชีวิตเป็นลำดับต้นๆของการเสียชีวิตของคนไทยซึ่งมีปัจจัยการเกิดโรคที่มาจากพันธุกรรม อายุ ความอ้วน ความเครียด การขาดการออกกำลังกาย พฤติกรรมการบริโภคที่ไม่เหมาะสมซึ่งหลายปัจจัยเป็นปัจจัยภายในที่บุคคลสามารถที่จะควบคุมและดูแลตนเองให้ห่างไกลจากโรคดังกล่าวได้แต่หากไม่ดูแลตนเองแล้วนั้นก็ย่อมมีโอกาสเสี่ยงต่อการเจ็บป่วยด้วยโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง หากเป็นโรคดังกล่าวแล้วก็จะเกิดผลกระทบต่อตนเองเพราะจะต้องรับประทานยารักษาตลอดชีวิตและมีโอกาสเสี่ยงต่อการเกิดภาวะแทรกซ้อนของโรคทำให้ต้องเสียค่าใช้จ่ายเป็นจำนวนมาก
จากผลการคัดกรองภาวะเสี่ยงโรคเบาหวานความดันโลหิตสูงและหลอดเลือดสมอง ในปีงบประมาณ2567ในกลุ่มประชากรอายุ35ปีขึ้นไปในเขตพื้นที่รับผิดชอบของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลเขาปู่อำเภอศรีบรรพต จังหวัดพัทลุง จำนวน 19,74 ราย ตรวจพบประชาชนกลุ่มเสียงต่อโรคเบาหวาน จำนวน 163 ราย คิดเป็นร้อย 8.82ต่อประชากรกลุ่มเสี่ยงทั้งหมดและโรคความดันโลหิตสูง จำนวน 378ราย คิดเป็นร้อย 27.86ต่อประชากรกลุ่มเสี่ยงทั้งหมดจะเห็นได้ว่าส่วนใหญ่ประชาชนที่ได้รับการคัดกรองโรคดังกล่าวจะอยู่ในกลุ่มเสี่ยง
ดังนั้นเพื่อส่งเสริมให้ประชาชนโดยเฉพาะกลุ่มเสี่ยงต่อโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง ได้รับการดูแลสุขภาพและตนเองมีส่วนร่วมในการดูแลแก้ไขสุขภาพเพื่อป้องกันและลดอัตราป่วยรายใหม่ด้วยโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลเขาปู่จึงได้จัดทำโครงการอบรมปรับเปลี่ยนพฤติกรรมกลุ่มเสี่ยงลดโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูงขึ้น

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 1. เพื่อให้ประชาชนกลุ่มเป้าหมายมีความรู้ ตระหนัก และสามารถปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเสี่ยงต่อโรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง 2. เพื่อลดอัตราป่วยรายใหม่ด้วยโรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง ของประชาชนในเขตรับผิดชอบ

ผลผลิต 1. กลุ่มเป้าหมายมีความรู้เรื่องโรคเบาหวาน และโรคความดันโลหิตสูง ไม่น้อยกว่า ร้อยละ 80.00
2. กลุ่มเสี่ยงที่เข้าร่วมโครงการได้รับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ ไม่น้อยกว่า ร้อยละ 60.00 ผลลัพธ์ 1. อัตราการเกิดโรคของประชาชนกลุ่มเสี่ยงรายใหม่ไม่เกินร้อยละ 5 2. ความพึงพอใจของผู้เข้าร่วมโครงการ ไม่น้อยกว่า ร้อยละ 80.00

1.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 60
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 23/04/2025

กำหนดเสร็จ 30/09/2025

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 วิธีดำเนินงาน 1. ขั้นเตรียมการ 1.1 คัดกรองกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง และหลอดเลือดสมองในประชาชนอายุ 35 ปี ขึ้นไป 1.2 บันทึกข้อมูลกลุ่มเสี่ยงรายบุคคล และจัดทำทะเบียนกลุ่มเสี่ยง 1.3 ประชาสัมพันธ์โครงการและแจ้งรายละ

ชื่อกิจกรรม
วิธีดำเนินงาน 1. ขั้นเตรียมการ 1.1 คัดกรองกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง และหลอดเลือดสมองในประชาชนอายุ 35 ปี ขึ้นไป 1.2 บันทึกข้อมูลกลุ่มเสี่ยงรายบุคคล และจัดทำทะเบียนกลุ่มเสี่ยง 1.3 ประชาสัมพันธ์โครงการและแจ้งรายละ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

งบประมาณ ได้รับการจัดสรรจากงบประมาณตามโครงการ เป็นเงิน30,000 บาท(สามหมื่นบาทถ้วน)ซึ่งเป็นค่าใช้จ่ายตามรายละเอียดดังต่อไปนี้ 1.ค่าอาหารว่างจำนวน60คนๆละ2มื้อๆ ละ30บาทเป็นเงิน3 600บาท 2.ค่าอาหารกลางวัน จำนวน 60 คน ๆ ละ 1 มื้อ ละ 80บาท เป็นเงิน 4800บาท 3.ค่าจัดจ้างตรวจไขมันในเลือดจำนวน60คนๆละ110 บาท จำนวน 2 ครั้งเป็นเงิน 13,200บาท
4.ค่าอาหารว่างจำนวน60คนๆละ2มื้อๆ ละ30บาท เป็นเงิน3 600บาท 5.ค่าอาหารกลางวัน จำนวน 60 คน ๆ ละ 1 มื้อ ละ 80บาท เป็นเงิน 4800บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
23 เมษายน 2568 ถึง 25 กรกฎาคม 2568
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ผลผลิต     1. กลุ่มเป้าหมายมีความรู้เรื่องโรคเบาหวาน และโรคความดันโลหิตสูง ไม่น้อยกว่า ร้อยละ 80.00
    2. กลุ่มเสี่ยงที่เข้าร่วมโครงการได้รับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ ไม่น้อยกว่า ร้อยละ 60.00 ผลลัพธ์ 1. อัตราการเกิดโรคของประชาชนกลุ่มเสี่ยงรายใหม่ไม่เกินร้อยละ 5 2. ความพึงพอใจของผู้เข้าร่วมโครงการ ไม่น้อยกว่า ร้อยละ 80.00

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
30000.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 30,000.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1.ประชาชนกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง มีความรู้และทักษะในการดูแลตนเองเพื่อป้องกันโรคสามารถประเมินและแก้ไขปัญหาภาวะสุขภาพของตนเองและเพื่อนบ้านได้
2.ประชาชนกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวานความดันโลหิตสูง และหลอดเลือดสมองมีการขยายผลแก่สมาชิกกลุ่มเสี่ยงในชุมชน
3.ประชาชนกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวาน และความดันโลหิตสูง ได้แลกเปลี่ยนประสบการณ์การดูแลตนเอง
4.อัตราป่วยรายใหม่ด้วยโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง ลดลง


>