กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลบุดี

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

อาหารเสริมนักเรียนทุพโภชนาการ

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลบุดี

โรงเรียนบ้านบุดี

ตำบลบุดี

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานอาหารและโภชนาการ

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 นักเรียนโรงเรียนบ้านบุดี ร้อยละ 37.91 มีภาวะทุพโภชนาการ

 

0.00

ปัจจุบัน ภาวะทุพโภชนาการเป็นปัญหาที่พบได้ในหลายพื้นที่ โดยเฉพาะในกลุ่มประชากรที่มีรายได้
น้อยหรือพื้นที่ชนบทที่เข้าถึงแหล่งอาหารคุณภาพสูงได้ยาก ส่งผลให้เกิดปัญหาสุขภาพที่เกี่ยวข้องกับการขาด
สารอาหาร เช่น โรคขาดวิตามินหรือแร่ธาตุต่างๆ ภาวะเตี้ย ผอม และอ้วน เป็นต้น
โรงเรียนบ้านบุดีเป็นหนึ่งในโรงเรียนที่มีเด็กนักเรียนอยู่ในภาวะทุพโภชนาการ โดยเฉพาะในกลุ่มนักเรียนที่มาจากครอบครัวที่มีรายได้ต่ำ เด็กนักเรียน ร้อยละ 37.91 ไม่ทานอาหารเช้าก่อนมาโรงเรียนส่งผลกระทบหลายด้านทั้งในโภชนาการและทางจิตใจ และจากการตรวจสุขภาพนักเรียน ชั้นอนุบาล 2 - ประถมศึกษาปีที่ 6โดยดำเนินการชั่งน้ำหนัก วัดส่วนสูงของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบุดี พบว่า นักเรียนที่มีภาวะผอม 23 คน คิดเป็นร้อยละ 9.58 คนเตี้ย49 คนคิดเป็นร้อยละ 20.42 คนผอมและเตี้ย 18 คน คิดเป็นร้อยละ 7.5 คนอ้วนเตี้ย 1 คน คิดเป็นร้อยละ 0.41 คนจากจำนวนนักเรียนทั้งสิ้น 240 คน (ข้อมูล ณ วันที่ 11 พฤศจิกายน 2567) จากข้อมูลดังกล่าวแสดงให้เห็นว่า โรงเรียนยังพบกับปัญหาภาวะทุพโภชนาการนักเรียน ซึ่งส่งผลต่อพัฒนาการการเรียนรู้ และการเจริญเติบโตของนักเรียนได้
โรงเรียนบ้านบุดีจึงเล็งเห็นความสำคัญในการแก้ปัญหา เด็กผอม เด็กเตี้ยเด็กผอมเตี้ย และ เด็กอ้วนเตี้ย จึงได้จัดโครงการอาหารเสริมแก่นักเรียนทุพโภชนการ เพื่อเสริมสร้างความมั่นคงทางโภชนาการให้กับนักเรียนดังกล่าว โดยการแจกจ่ายอาหารเสริมที่มีคุณค่าทางโภชนาการสูง ช่วยลดภาวะทุพโภชนาการและสามารถปรับปรุงคุณภาพชีวิตของนักเรียนให้มีความสมบูรณ์ทั้งทางรางกายและจิตใจ

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 1. เพื่อให้นักเรียนที่ทุพโภชนาการมีสุขภาพที่ดีและแข็งแรง
  1. นักเรียนมีน้ำหนักตามเกณฑ์และมาภาวะการเรียนทางดี
0.00 1.00
2 ข้อที่ 2.เพื่อให้นักเรียนมีน้ำหนักตามเกณฑ์และมีภาวะทางการเรียนที่ดีขึ้น

นักเรียนมีผลการเรียนที่ดีขึ้น

0.00
3 ข้อที่ 3. เพื่อให้ผู้ปกครองมีความรู้และร่วมมือในการปรับพฤติกรรมการบริโภคที่ถูกต้องตามหลักโภชนาการให้แก่นักเรียน

ผู้ปกครองให้ความร่วมมือดูแลบุตรหลานไม่ให้ภาวะทุพโภชนาการ

0.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 91
กลุ่มวัยทำงาน 93
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/02/2025

กำหนดเสร็จ 31/08/2025

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 กิจกรรมอบรมผู้ปกครองและนักเรียนที่มีภาวะทุพโภชนาการ

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมอบรมผู้ปกครองและนักเรียนที่มีภาวะทุพโภชนาการ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  1. จัดอบรมผู้ปกครองที่นักเรียนมีภาวะทุพโภชนา

- ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่มผู้ปกครอง
จำนวน 91 ชุดๆ ละ 20 บาท เป็นเงิน 1,820 บาท - อาหารกลางวันผู้ปกครอง 91 กล่องๆละ 50
เป็นเงิน 4,550 บาท - ค่าอาหารว่างเครื่องดื่มนักเรียน 91 ชุดๆละ 20 บาท เป็นเงิน 1,820 บาท - ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่มครูอนามัยโรงเรียน
จำนวน 2 ชุดๆ ละ 20 บาท เป็นเงิน 40 บาท - อาหารกลางวันครูอนามัยโรงเรียน 2 กล่องๆละ 50
เป็นเงิน 100 บาท 2. ค่าวิทยากร 2 คนๆ ละ 600 บาท - เป็นเงิน 1,200 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
2 กุมภาพันธ์ 2568 ถึง 31 สิงหาคม 2568
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
  1. นักเรียนทุกคนมีน้ำหนักส่วนสูงตามเกณฑ์มาตรฐาน 2. นักเรียนมีร่างกายแข็งแรงสมบูรณ์และมีผลการเรียนที่ดีขึ้น 3. นักเรียนโรงเรียนบ้านบุดีมีสุขภาพแข็งแรงไม่มีภาวะทุพโภชนาการ 4. ผู้ปกครองมีความรู้และให้ความร่วมมือในการดูลูกหลานไม่ให้ภาวะทุพโภชนาการ
จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
9530.00

กิจกรรมที่ 2 กิจกรรมอาหารเสริมนักเรียนทุพโภชนการ

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมอาหารเสริมนักเรียนทุพโภชนการ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  1. นมอาหารเสริม 91 คนๆ ละ 10 บาท 20 วัน     เป็นเงิน ( 91 × 10 × 20 = 18,200 บาท)
  2. อาหารเสริมเด็ก 22 กระปุกๆละ 160 บาท     เป็นเงิน ( 22 × 160 = 3,520 บาท)
ระยะเวลาดำเนินงาน
1 กุมภาพันธ์ 2568 ถึง 31 สิงหาคม 2568
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

๑.   นักเรียนทุกคนมีน้ำหนักส่วนสูงตามเกณฑ์มาตราฐาน           ๒.  นักเรียนมีร่างกายแข็งแรงสมบูรณ์และมีผลการเรียนที่ดีขึ้น          ๓.  นักเรียนโรงเรียนบ้านบุดีมีสุขภาพแข็งแรง ไม่มีภาวะทุพโภชนการ          ๔. ผู้ปกครองมีความรู้และให้ความร่วมมือในการดูลูกหลานไม่ให้ภาวะทุพโภชนาการ

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
21720.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 31,250.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

๑. นักเรียนทุกคนมีน้ำหนักส่วนสูงตามเกณฑ์มาตราฐาน
๒.นักเรียนมีร่างกายแข็งแรงสมบูรณ์และมีผลการเรียนที่ดีขึ้น
๓.นักเรียนโรงเรียนบ้านบุดีมีสุขภาพแข็งแรง ไม่มีภาวะทุพโภชนการ
๔. ผู้ปกครองมีความรู้และให้ความร่วมมือในการดูลูกหลานไม่ให้ภาวะทุพโภชนาการ


>