แบบเสนอโครงการกองทุนหลักประกันสุขภาพระดับท้องถิ่น
แบบจัดทำแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม
กองทุนสุขภาพตำบล อบต.กำแพง รหัส กปท. L8010
อำเภอละงู จังหวัดสตูล
ตามประกาศคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เรื่อง หลักเกณฑ์เพื่อสนับสนุนให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นดำเนินงานและบริหารจัดการระบบหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ พ.ศ.2567 และที่แก้ไขเพิ่มเติม ข้อ 17 (2) "ให้พิจารณาอนุมัติโครงการ หรือกิจกรรม ให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ของกองทุนตามข้อ 10"
อาศัยอำนาจของประกาศ ฯ ข้อ 10 "เงินกองทุนหลักประกันสุขภาพตามข้อ 7 วรรคหนึ่ง ให้ใช้จ่ายเพื่อสนับสนุนและส่งเสริมเป็นค่าใช้จ่ายตามแผนงาน โครงการ หรือกิจกรรม ที่คณะกรรมการกองทุนอนุมัติ" จึงได้จัดทำแผนงาน โครงการ หรือกิจกรรม ประจำปีงบประมาณ 2568 โดยมีรายละเอียด ดังนี้
1. นางสำลี ลัคนาวงศ์ตำแหน่งนายกองค์การบริหารส่วนตำบลกำแพง
2. ว่าที่ ร.ต.สุกล พรหมรักษ์ตำแหน่ง ปลัดองค์การบริหารส่วนตำบลกำแพง
3. ส.อ.สุทินหมูดเอียด ตำแหน่ง ผู้อำนวยการกองคลังรักษาราชการแทนหัวหน้าสำนักปลัด
4. ส.อ.อนุสรณ์ แก้วดำตำแหน่ง เจ้าพนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย ผู้ประสานงานคนที่ 1 เบอร์โทร 086-9671442
5. นางสาวรุ่งทิวาท์แซ่เตียวตำแหน่ง ผู้ช่วยเจ้าพนักงานธุรการ ผู้ประสานงานคนที่ 2 เบอร์โทร 062-0829197
ผลการดำเนินงานของโครงการป้องกันและแก้ไขปัญหาเด็กจมน้ำ ในปีงบประมาณ 2567 ในส่วนของตัวโครงการแบ่งออกเป็น 3 กิจกรรมหลัก คือ กิจกรรมชั่วโมงการเรียนรู้และชั่วโมงปฏิบัติฝึกอบรมว่ายน้ำและการเอาตัวรอดทางน้ำได้และกิจกรรมรณรงค์การป้องกันเด็กจมน้ำในพื้นที่ตำบลกำแพง
ในส่วนของกิจกรรมที่ 1 อบรมการเรียนรู้การว่ายน้ำและการเอาชีวิตรอดทางน้ำ ให้ความรู้เกี่ยวกับความปลอดภัยทางน้ำ จากเด็กที่เข้ารับการอบรม จำนวน 30 คน เด็กที่เข้ารับการอบรมสามารถเรียนรู้และมีความเข้าใจเพิ่มขึ้นจำนวน 27 คนคิดเป็นร้อยละ 90 ของจำนวนผู้เข้าร่วมอบรม ในส่วนของการให้ความรู้เกี่ยวกับการช่วยเหลือผู้ประสบภัยทางน้ำ จากการทดสอบความรู้ก่อนและหลังจากวิทยากรให้ความรู้เสร็จผู้เข้าร่วมโครงการ จำนวน 27 คน คิดเป็นร้อยละ 90 มีความรู้ความเข้าใจและสามารถช่วยเหลือผู้ประสบภัยทางน้ำได้ โดยการใช้วิธีการโยนอุปกรณ์และการยื่นอุปกรณ์ ในส่วนการให้ความรู้เกี่ยวกับการปฐมพยาบาลคนจมน้ำ และการช่วยฟื้นคืนชีพจากการที่ผู้เข้าอบรม จำนวน 30 คนได้รับความรู้ผู้เข้าอบรมสามารถช่วยเหลือหรือปฐมพยาบาลคนจมน้ำได้ จำนวน 27 คน คิดเป็นร้อยละ 90 ของเด็กและที่เข้าร่วมอบรม และการให้ความรู้เกี่ยวกับ การลอยตัว และการว่ายน้ำเอาชีวิตรอด จำนวนเด็กมีความสนใจเรียนรู้และมีความเข้าใจเป็นอย่างดี จำนวน 27 คน คิดเป็น ร้อยละ 90 ของเด็กร่วมอบรม
กิจกรรมที่ 2 ชั่วโมงการฝึกปฏิบัติทักษะการลอยตัว การดำน้ำ การหายใจในน้ำ การใช้อุปกรณ์ช่วยเหลือผู้ประสบภัยทางน้ำจากที่ผู้เข้าร่วมโครงการ จำนวน 30 คน มีความสนใจความเข้าใจและได้รับความรู้ทุกคนที่เข้ารับการอบรมสามารถ ว่ายน้ำได้ ดำน้ำได้ หายใจในน้ำได้ ลอยตัวในน้ำได้แล้วใช้อุปกรณ์เพื่อช่วยเหลือผู้ประสบภัยทางน้ำได้ คิดเป็นร้อยละ 100 ของจำนวนเด็กที่เข้ารับการอบรมเด็กที่เข้าร่วมโครงการ จำนวน 28 คนสามารถอ่านสัญลักษณ์ในป้ายแจ้งเตือน/ป้ายห้ามต่างๆได้ เพื่อลดอัตราเด็กจมน้ำได้คิดเป็นร้อยละ 93.33 ของผู้เข้าร่วมโครงการ
จากสถานการณ์ที่ผ่านมาในเขตพื้นที่อำเภอละงู มีเด็กได้รับอุบัติเหตุจากการเล่นน้ำและจมน้ำเสียชีวิตจำนวน 5 ราย/ปี เนื่องจากในพื้นที่ดังกล่าวมีแหล่งน้ำที่เด็กสามารถเล่นน้ำได้ โดยผู้ปกครองอาจจะไม่ทราบและไม่ตระหนักถึงสาเหตุการเสียชีวิตของบุตรหลาน จากการจมน้ำ หากเด็กตระหนักรู้ถึงอันตรายของการเล่นน้ำ และการช่วยเหลือตนเองหรือช่วยเหลือเพื่อนเมื่อเกิดเหตุการณ์ที่คาดไม่ถึง นอกจากนี้ควรมีผู้ปกครองที่สามารถช่วยเหลือเด็กที่เกิดอุบัติเหตุจากการเล่นน้ำ และนำส่งโรงพยาบาลได้อย่างถูกต้อง เหมาะสม ทันถ่วงที ซึ่งจะทำให้ลดอัตราการตายจากการจมน้ำได้
ดังนั้นสำนักงานปลัดองค์การบริหารส่วนตำบลกำแพง โดยงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย ได้เล็งเห็นถึงความสำคัญเกี่ยวกับเรื่องความปลอดภัยทางน้ำ ทักษะการว่ายน้ำและเอาชีวิตรอดในน้ำ ทักษะการช่วยผู้ประสบภัยทางน้ำ จึงได้จัดทำโครงการป้องกันและแก้ไขปัญหาเด็กจมน้ำ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2568 เพื่อให้เด็กและเยาวชนในพื้นที่มีองค์ความรู้ความปลอดภัยทางน้ำ และมีพื้นฐานในการว่ายน้ำเอาชีวิตรอด ผู้ปกครองและชุมชนมีความรู้เรื่องความปลอดภัยทางน้ำ มีความรู้พื้นฐานในการช่วยเหลือคนจมน้ำ สามารถให้การช่วยเหลื้อปฐมพยาบาลเบื้องตันได้ และมีส่วนร่วมในการป้องกันเหตุการณ์จมน้ำในเขตพื้นที่ของตนเองได้
-
1. เพื่อให้เด็กในพื้นที่มีความรู้ความปลอดภัยทางน้ำ และมีพื้นฐานในการว่ายน้ำเอาชีวิตรอดตัวชี้วัด : - ร้อยละ 90 เด็กและเยาวชนมีความรู้และทักษะการฝึกหัดว่ายน้ำ การเอาชีวิตรอดจากการตกน้ำเพิ่มขึ้น - ร้อยละ 90 ของเด็กและเยาวชนที่เข้าร่วมโครงการที่ได้ทำกิจกรรมที่อบรมการว่ายน้ำและการเอาชีวิตรอดทางน้ำ ได้มีความรู้เกี่ยวกับความปลอดภัยทางน้ำได้ดี - ร้อยละ 90 ของเด็กและเยาวชนที่เข้าร่วมโครงการอบรมการปฐมพยาบาลคนจมน้ำ และการช่วยฟื้นคืนชีพ เด็กสามารถทำการการปฐมพยาบาลคนจมน้ำและการฟื้นคืนชีพได้ - ร้อยละ 90 ของเด็กและเยาวชนที่เข้าร่วมโครงการได้รับความรู้เกี่ยวกับ การลอยตัวและการว่ายน้ำเอาชีวิตรอดโดยการหายใจในการว่ายน้ำ ควบคุมลมหายใจและการเก็บลมหายใจได้ - ร้อยละ 90 ของเด็กและเยาวชนที่เข้าร่วมโครงการสามารถลอยตัวในน้ำ ว่ายน้ำเอาชีวิตรอด มีทักษะการใช้อุปกรณ์ช่วยในการเอาชีวิตรอดอย่างถูกวิธีและดำน้ำการกลั้นหายใจใต้น้ำได้ขนาดปัญหา 0.00 เป้าหมาย 0.00
- 1. กิจกรรมที่ 1 แต่งตั้งคณะทำงาน ประชุม ชี้แจง คณะทำงานโครงการรายละเอียด
1.1 แต่งตั้งคณะทำงานโครงการ
1.2 ประชุมคณะทำงาน วางแผนการดำเนินงาน แบ่งหน้าที่รับผิดชอบ
กลุ่มเป้าหมาย
- คณะทำงาน ผู้รับผิดชอบโครงการ จำนวน 28 คน
งบประมาณ
- ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่มเข้าร่วมประชุม 28 คน 1 มื้อ ๆ 35 บาท เป็นเงิน 980บาท
งบประมาณ 980.00 บาท - 2. กิจกรรมที่ 2 รับสมัครเด็กที่สนใจเข้าร่วมโครงการรายละเอียด
- เปิดรับสมัครเด็กและเยาวชนในชุมชน ในหมู่บ้าน อายุ ระหว่าง 8 - 15 ปี ที่อาศัยอยู่ในเขตพื้นที่ องค์การบริหารส่วนตำบลกำแพง จำนวน 80 คน
คุณสมบัติผู้สมัตรเข้าร่วมโครงการ
เด็กในพื้นที่เขตองค์การบริหารส่วนตำบลกำแพง ที่มีอายุ 8 - 15 ปี
คำยินยอมการสมัครเข้าร่วมโครงการและฝึกปฎิบัติจากผู้ปกครอง
ประชาสัมพันธ์เสียงตามสายในหมู่บ้าน พร้อมบอกคุณสมบัติผู้เข้าร่วมโครงการ
ประชาสัมพันธ์ผ่านโซเชียลออนไลน์
จัดทำอัตสปอร์รณรงค์การป้องกันเด็กจมน้ำในพื้นที่ตำบลกำแพง จำนวน 1 งานเป็นเงิน 3,000 บาท
เป้าหมาย
- เด็กและเยาวชนในเขตพื้นที่ องค์การบริหารส่วนตำบลกำแพง จำนวน 80 คน
งบประมาณ 3,000.00 บาท - 3. กิจกรรมที่ 3 อบรมการว่ายน้ำและการเอาชีวิตรอดทางน้ำรายละเอียด
รายละเอียดกิจกรรม อบรมหลักสูตรการว่ายน้ำ
กิจกรรมที่ 3.1 ให้ความรู้เกี่ยวกับความปลอดภัยทางน้ำ ชั่วโมงเรียนรู้ (จำนวน 2 ชั่วโมง)
การเรียนรุ้กับแหล่งน้ำเสี่ยง
การเรียนรู้เกี่ยวกับสภาพแหล่งน้ำ
การเรียนรู้เกี่ยวกับทักษะความปลอดภัยในกิจกรรมทางน้ำ
กิจกรรมที่ 3.2 การให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัยทางน้ำ ชั่วโมงเรียนรู้ (จำนวน 2 ชั่วโมง) การให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัยทางน้ำ
การร้องขอความช่วยเหลือจากผู้ใหญ่
การช่วยเหลือผู้ประสบภัยทางน้ำโดยการโยนอุปกรณ์
การช่วยเหลือผู้ประสบภัยทางน้ำโดยการยื่นอุปกรณ์
กิจกรรมที่ 3.3 อบรมการปฐมพยาบาลคนจมน้ำ และการช่วยฟื้นคืนชีพ ชั่วโมงเรียนรู้ (จำนวน 1 ชั่วโมง) การปฐมพยาบาลคนจมน้ำการฟื้นคืนชีพ
กิจกรรมที่ 3.4 ให้ความรู้เกี่ยวกับ การลอยตัว และการว่ายน้ำเอาชีวิตรอด ชั่วโมงเรียนรู้ ( จำนวน 1 ชั่วโมง) การหายใจในการว่ายน้ำ การควบคุมลมหายใจ และการเก็บลมหายใจ
เป้าหมาย
เด็กอายุ 8- 15 ปี จำนวน 80 คน
คณะกรรมการดำเนินโครงการ จำนวน 19 คน
งบประมาณ
ค่าวิทยากรชั่วโมงการเรียนรู้ (จำนวน 6 ชั่วโมง) (600 บาท x 2 คน x 6 ชม.) เป็นเงิน 3,600 บาท
ค่าอาหารกลางวัน สำหรับผู้เข้าร่วมรับการฝึกอบรม ตลอดจนคณะกรรมการจำนวน 1 มื้อๆละ 75 บาท จำนวน 99 คน เป็นเงิน 7,425 บาท
ค่าอาหารว่างสำหรับผู้เข้าฝึกอบรม ตลอดจนคณะกรรมการดำเนินโครงการจำนวน 2 มื้อๆละ 35 บาท จำนวน 99 คน จำนวน 6,930 บาท
ค่าป้ายไวนิลโครงการ ขนาด (1.2x2.4) จำนวน 1 ป้าย เป็นเงิน 432 บาท
ค่าวัสดุอุปกรณ์ ชั่วโมงการเรียนรู้ เช่น แฟ้ม ปากกา สมุด ป้ายแขวนคอ จำนวน 80 ชุดๆละ 60 บาท เป็นเงิน 4,800 บาท
เป็นเงิน 23,187 บาท
งบประมาณ 23,187.00 บาท - 4. กิจกรรมที่ 4 ฝึกอบรมการว่ายน้ำและการเอาชีวิตรอดทางน้ำ ภาคปฏิบัติ แบ่งเป็น 2 รุ่นๆละ 40 คน (รุ่นละจำนวน 15 ชม.)รายละเอียด
รายละเอียดกิจกรรม อบรมหลักสูตรการว่ายน้ำ (ปฎิบัติ)
กิจกรรมที่ 4 ให้ความรู้เกี่ยวกับ การลอยตัว และการว่ายน้ำเอาชีวิตรอด
การลอยตัว การว่ายน้ำเอาชีวิตรอดและ การใช้อุปกรณ์ช่วยในการเอาชีวิตรอด ชั่วโมงฝึกปฏิบัติ (จำนวน 30 ชั่วโมง) แบ่งเด็กเป็น 2 กลุ่มๆละ 40 คน ใช้เวลา 3 ชม./วัน จำนวน 5 วัน โดยแบ่งเด็กเป็นกลุ่มภาคเช้า - กลุ่มภาคบ่าย
ชั่วโมงฝึกปฏิบัติที่ 1 เรื่อง การสร้างความคุ้นเคยในน้ำ การทรงตัวในน้ำ ฝึกการดำน้ำ (ดำน้ำ เป่าลม) การกลั้นหายใจใต้น้ำ การลืมตาใต้น้ำ ฝึกการหายใจ การลอยตัว แบบนอนคว่ำ (ใช้อุปกรณ์ คือแว่นตาดำน้ำ)
ชั่วโมงฝึกปฏิบัติที่ 2 เรื่อง ฝึกการดำน้ำ การกลั้นหายใจใต้น้ำ ฝึกการหายใจ ฝึกการลอยตัวท่าต่างๆ รวมถึงการลอยตัวแบบนอนหงาย และการใช้อุปกรณ์ช่วยในการ ลอยตัว รวมถึงรู้วิธีเรียกให้ผู้อื่นมาช่วยผู้ประสบภัย (ใช้อุปกรณ์ คือ แว่นตาดำน้ำ เสื้อชูชีพ)
ชั่วโมงฝึกปฏิบัติที่ 3 เรื่องฝึกเตะเท้าคว่ำ ฝึกเตะเท้าหงาย ฝึกการลอยตัว ฝึกการกระโดดน้ำจากขอบสระด้านน้ำลึก และฝึกปฏิบัติซ้ำหัวข้ออื่นๆ (ใช้อุปกรณ์คือ เสื้อชูชีพ )
ชั่วโมงฝึกปฏิบัติที่ 4 เรื่องฝึกเตะเท้าคว่ำ ฝึกเตะเท้าหงาย ฝึกการลอยตัว ฝึกการยืน ทรงตัวจากท่าเตะเท้าคว่ำและเตะเท้าหงาย และฝึกปฏิบัติซ้ำหัวข้ออื่นๆ
ชั่วโมงฝึกปฏิบัติที่ 5 เรื่อง ฝึกการเตะเท้าให้ได้ระยะทาง 5 เมตรแล้วพลิกตัว ฝึกการ กระโดดจากขอบสระด้านน้ำลึกแล้ว ฝึกการลอยตัวให้ได้นาน 10 วินาที และฝึกปฏิบัติซ้ำหัวข้ออื่นๆ
ชั่วโมงฝึกปฏิบัติที่ 6 เรื่อง ฝึกการเตะเท้าเท้าคว่ำแล้วพลิกตัวหงาย ฝึกการเตะเท้าหงาย ใช้แขนผลักน้ำข้าง ๆ ลำตัวแล้วพลิกตัวโดยเคลื่อนที่ให้ได้ระยะทางอย่างละ 10 เมตร ฝึกการลอยตัวท่าต่างๆให้ได้นาน 20 วินาที และฝึก ปฏิบัติซ้ำหัวข้ออื่นต่อจาก ชั่วโมงที่ผ่านมา (ใช้อุปกรณ์ ทุ่นช่วยชีวิตและ เสื้อชูชีพ)
ชั่วโมงฝึกปฏิบัติที่ 7 เรื่อง ชั่วโมงแรกของการฝึกลอยตัวแบบนอนคว่ำแล้วเงยหน้าหายใจ การลอยตัวในท่าต่างๆ ปฏิบัติให้ได้ 30 วินาที และเป็นชั่วโมงแรกของการฝึกช่วย ผู้ประสบภัยทางน้ำด้วยการโยนอุปกรณ์ที่มีเชือกผูก และฝึกปฏิบัติซ้ำหัวข้ออื่นต่อจากชั่วโมงที่ผ่านมา (ใช้อุปกรณ์คือ เชือกกู้ภัยทางน้ำ )
ชั่วโมงฝึกปฏิบัติที่ 8 เรื่อง การฝึกการหายใจเข้าและออกทางปาก เพิ่มการปฏิบัติเป็น 15 ครั้งพร้อมเคลื่อนที่ การลอยตัวในท่าต่างๆให้ปฏิบัติ 30 วินาทีเช่นเดียวกับชั่วโมงที่แล้ว การฝึกเตะเท้าคว่ำ การฝึกเตะเท้าหงาย เพิ่มการปฏิบัติเป็น 15 เมตร โดยการฝึก เตะเท้าหงายให้เคลื่อนที่ระยะทาง 15 เมตร แล้วพลิกตัวเตะเท้าคว่ำ ชั่วโมงแรกของ การฝึกช่วยผู้ประสบภัยทางน้ำด้วยการนอนราบลงกับพื้นยื่นแผ่นโฟม (Kickboard) และฝึกปฏิบัติซ้ำหัวข้ออื่นต่อจากชั่วโมงที่ผ่านมา
ชั่วโมงฝึกปฏิบัติที่ 9 เรื่อง การฝึกการหายใจเข้าและออกทางปากให้เพิ่มการปฏิบัติเป็น 20 ครั้ง แล้วเคลื่อนที่ด้วยการลอยตัวในท่าต่างๆ ให้เพิ่มการปฏิบัติเป็น 40 วินาที การเกาะขวดน้ำดื่มลอยตัวให้เพิ่มการปฏิบัติเป็น 1 นาที การฝึกเตะเท้าคว่ำให้เคลื่อนที่ระยะทาง 15 เมตร แล้วพลิกตัวเตะเท้าหงาย และการเตะเท้าหงายให้เคลื่อนที่ระยะทาง 15 เมตร แล้วพลิกตัวเตะเท้าคว่ำ การฝึกช่วยผู้ประสบภัยทางน้ำด้วยการนอน ราบลงกับพื้น ยื่นแผ่นโฟม (Kickboard) ในชั่วโมงนี้ให้ปฏิบัติโดยให้ยื่นแผ่นโฟมห่าง จากขอบสระ 1 ช่วงแขน และฝึกปฏิบัติซ้ำหัวข้ออื่นต่อจากชั่วโมงที่ผ่านมา
ชั่วโมงฝึกปฏิบัติที่ 10 เรื่องการฝึกการดำน้ำ การกลั้นหายใจใต้น้ำ แล้วเคลื่อนที่ไปด้านข้างซ้าย ขวา การฝึกการหายใจเข้าและออกทางปาก ปฏิบัติ 20 ครั้ง แล้วเคลื่อนที่ไปด้วยในน้ำลึก การลอยตัวในท่าต่างๆให้ปฏิบัติ 40 วินาที การเกาะขวดน้ำดื่ม ลอยตัวปฏิบัติ 1 นาที การลอยตัวแบบนอนคว่ำ เงยหน้าหายใจ 5 ครั้ง การฝึกเตะเท้าคว่ำให้เคลื่อนที่ระยะทาง 15 เมตร แล้วพลิกตัวเตะเท้าหงาย และการเตะเท้าหงายให้เคลื่อนที่ระยะทาง 15 เมตร แล้วพลิกตัวเตะเท้าคว่ำ และเป็นชั่วโมงแรก ของการฝึกช่วยผู้ประสบภัยทางน้ำด้วยการยื่นท่อ PVC และฝึกปฏิบัติซ้ำหัวข้ออื่นต่อจากชั่วโมงที่ผ่านมา
ชั่วโมงฝึกปฏิบัติที่ 11 เรื่อง การฝึกการดำน้ำการกลั้นหายใจใต้น้า แล้วเคลื่อนที่ไปด้านข้างซ้าย ขวา การฝึกการหายใจเข้า และออกทางปาก ปฏิบัติ 20 ครั้งแล้วเคลื่อนที่ไปด้วยในน้ำลึก การลอยตัวในท่าต่างๆให้เพิ่มการปฏิบัติเป็น 50 วินาที การเกาะขวดน้ำดื่มลอยตัวเพิ่มการปฏิบัติเป็น 2 นาที การเคลื่อนที่ในน้ำฝึกทักษะใหม่คือ การเตะเท้าคว่ำ (หงาย) แล้วพลิกตัวเตะเท้าหงาย(คว่ำ)แล้วพลิกตัวเตะเท้าคว่ำ(หงาย) โดยให้พลิกตัวทุกระยะ 5 เมตร ในชั่วโมงนี้ให้ฝึกช่วยผู้ประสบภัยทางน้ำด้วยการย่อ ตัวให้ต่ำ ยื่นท่อ PVC ห่างจากขอบสระ 2 เมตร และฝึกปฏิบัติซ้ำหัวข้ออื่นต่อจาก ชั่วโมงที่ผ่านมาจุดประสงค์การเรียนรู้
ชั่วโมงฝึกปฏิบัติที่ 12 เรื่องการฝึกการดำน้ำ การกลั้นหายใจใต้น้ำ แล้วเคลื่อนที่ไปด้านข้างซ้าย ขวา เพิ่มระยะทางเป็น 2 เมตร การลอยตัวท่านอนหงาย การกระโดดจากขอบสระด้านน้ำลึกแล้วลอยตัวท่าลูกหมาตกน้ำ เพิ่มการปฏิบัติเป็น 1 นาที การเกาะขวดน้ำดื่มลอยตัวเพิ่มการปฏิบัติเป็น 3 นาที การเตะเท้าคว่ำ (หงาย) แล้วพลิกตัวเตะเท้าหงาย (คว่ำ)แล้วพลิกตัวเตะเท้าคว่ำ (หงาย) โดยให้พลิกตัวทุกระยะ 5 เมตร การฝึกทักษะใหม่ในชั่วโมงนี้คือ การลอยตัวท่าลูกหมาตกน้ำ เตะเท้าคว่ำ (หงาย) กลับ ปฏิบัติ 5 เมตร การฝึกเตะเท้าคว่ำและใช้แขนฟรีสไตล์ การกระโดดน้ำท่าพุ่งหลาวจากท่านั่งที่ขอบสระ และการเคลื่อนที่ไปจับอุปกรณ์ในน้ำตื้น ฝึกปฏิบัติซ้ำหัวข้ออื่นต่อจากชั่วโมงที่ผ่านมา
ชั่วโมงฝึกปฏิบัติที่ 13 เรื่อง การฝึกการดำน้ำ การกลั้นหายใจใต้น้ำ แล้วเคลื่อนที่ไปด้านข้างซ้าย ขวา ปฏิบัติ 2 เมตร การลอยตัวท่านอนหงายเพิ่มการปฏิบัติเป็น 2 นาที การเกาะขวดน้ำดื่มลอยตัว ปฏิบัติ 3 นาที การเตะเท้าคว่ำ (หงาย) แล้วพลิกตัวเตะเท้าหงาย (คว่ำ) แล้วพลิกตัวเตะเท้าคว่ำ (หงาย) โดยให้พลิกตัวทุกระยะ 5 เมตร การลอยตัวท่าลูกหมาตกน้ำ เตะเท้าคว่ำ (หงาย) กลับ ปฏิบัติ 5 เมตร การฝึกเตะเท้าคว่ำและใช้แขนฟรีสไตล์ เพิ่มการปฏิบัติเป็น 5 เมตร การฝึกทักษะใหม่ในชั่วโมงนี้คือ การว่ายท่าวัดวา โดยการเตะเท้าคว่ำ หมุนแขนลงน้ำสลับกัน เงยหน้าหายใจ ปฏิบัติ 5 เมตร การกระโดดน้ำท่าพุ่งหลาวจากท่านั่งยองๆที่ขอบสระ และการเคลื่อนที่ไปจับอุปกรณ์ในน้ำลึก ฝึกปฏิบัติซ้ำหัวข้ออื่นต่อจากชั่วโมงที่ผ่านมา
ชั่วโมงฝึกปฏิบัติที่ 14 เรื่องการฝึกการดำน้ำ การกลั้นหายใจใต้น้ำ การหายใจเข้า ออกทางปาก พร้อมการเคลื่อนที่ยังคงฝึกปฏิบัติต่อเนื่อง การลอยตัวท่านอนหงายเพิ่มการปฏิบัติเป็น 3 นาที การเกาะขวดน้ำดื่มลอยตัว ปฏิบัติ 3 นาที การเตะเท้าคว่ำ(หงาย) ปฏิบัติ 25 เมตร แล้วพลิกตัวเตะเท้าหงาย (คว่ำ) ปฏิบัติ 25 เมตรโดยให้หายใจด้วยท่าลูกหมาตกน้ำระหว่างเตะเท้าคว่ำ การเตะเท้าคว่ำ (หงาย) ปฏิบัติ 5 เมตรแล้วเลี้ยวกลับ ระยะทาง 5 เมตร การเตะเท้าคว่ำและใช้แขนฟรีสไตล์ ปฏิบัติ 5 เมตร แล้วพลิกตัวเตะเท้าหงายระยะทาง 5 เมตร การฝึกทักษะใหม่ในชั่วโมงนี้คือ การายท่าวัดวา โดยการเตะเท้าคว่ำ หมุนแขนลงน้ำสลับกัน เงยหน้าหายใจ ปฏิบัติ 10 เมตร การกระโดดน้ำท่าพุ่งหลาวจากท่านั่งคุกเข่าที่ขอบสระ การเคลื่อนที่ในน้ำลึกไปจับอุปกรณ์ลอยน้ำ ระยะทาง 3 เมตร ฝึกปฏิบัติซ้ำหัวข้ออื่นต่อจากชั่วโมงที่ผ่านมา
ชั่วโมงฝึกปฏิบัติที่ 15 เรื่อง การฝึกการดำน้ำ การกลั้นหายใจใต้น้ำ การหายใจเข้า ออกทางปาก พร้อมการเคลื่อนที่ยังคงฝึกปฏิบัติต่อเนื่อง การลอยตัวท่านอนหงายปฏิบัติ และการเกาะขวดน้ำดื่มลอยตัว ปฏิบัติท่าละ 3 นาที การเตะเท้าคว่ำ (หงาย) ปฏิบัติ 25เมตร แล้วพลิกตัวเตะเท้าหงาย (คว่ำ) ปฏิบัติ 25 เมตรโดยให้หายใจด้วยท่าลูกหมาตกน้ำระหว่างเตะเท้าคว่ำ การเตะเท้าคว่ำ (หงาย) ปฏิบัติ 5 เมตรแล้วเลี้ยวกลับ ระยะทาง 5 เมตร การเตะเท้าคว่ำและใช้แขนฟรีสไตล์ ปฏิบัติ 5 เมตร แล้วพลิกตัวเตะเท้าหงาย ระยะทาง 5 เมตร การว่ายท่าวัดวา พร้อมหายใจขณะว่ายน้ำ ให้ปฏิบัติ 15 เมตร การฝึกทักษะใหม่ในชั่วโมงนี้คือ การกระโดดน้ำท่าพุ่งหลาวจากท่ายืนที่ขอบสระ กระโดดน้ำด้านน้ำลึก ลอยตัว 1 นาที แล้วว่ายไปเกาะอุปกรณ์ลอยน้ำพยุงตัว เตะเท้าระยะทาง 3 เมตรแล้วเคลื่อนที่เข้าฝั่ง การโยนอุปกรณ์ช่วยผู้ประสบภัยทางน้ำห่างจากขอบสระ 3 เมตร และฝึกปฏิบัติซ้ำหัวข้ออื่นต่อจากชั่วโมงที่ผ่านมา
หมายเหตุการใช้อุปกรณ์ในการฝึกเพื่อให้เด็กรู้จักการใช้อุปกรณ์เช่น แว่นตาดำน้ำ เสื้อชูชีพ ทุ่นช่วยชีวิต และเชือกกู้ภัยทางน้ำ
เป้าหมาย
เด็กอายุ 8- 15 ปี จำนวน 80 คน แบ่งออกเป็น 2 รุ่นๆละ 40 คน
ทีมวิทยกร จำนวน 6 คน
คณะกรรมการดำเนินโครงการ จำนวน 19 คน
งบประมาณ
ค่าวิทยากรชั่วโมงปฎิบัติ (จำนวน 30 ชั่วโมง)(400 บาท x 6 คน x 30 ชม.) เป็นเงิน 72,000 บาท
ค่าอาหารว่างสำหรับผู้เข้าฝึกอบรม 80 คน แบ่งเป็น เช้า 40 คน - บ่าย 40 คน มื้อละ 35 บาท จำนวน 5 วัน เป็นเงิน14,000 บาท
ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่มเจ้าหน้าที่โครงการ จำนวน 19 คนๆละ 2 มื้อๆละ 35 บาท จำนวน 5 วัน เป็นเงิน 6,650 บาท
ค่าเช่าสระน้ำจำนวน 5 วันๆ เป็นเงิน 8,000 บาท
เชือกกู้ภัยทางน้ำแบบลอยตัวในน้ำ ขนาด 10 มม.ยาว 20 เมตร มีห่วงพลาสติกและตะขอเหล็ก พร้อมกระเป๋าสำหรับใส่เชือกลอยน้ำ มีแถบสะท้อนแสง พกพาแบบสะพายได้และคาดเอวได้ จำนวน 5 ชุดๆละ 1,400 บาท เป็นเงิน 7,000 บาท
ทุ่นช่วยชีวิตกู้ภัยทางน้ำ พร้อมเชือกลากจูงและเข็มขัดคาดเอว แบบปรับได้ รูปทรงตอร์ปิโด วัสดุ โพลีเอทิลีน มีสี เหลือง เขียวมะนาว ส้ม แดง จำนวน 10 ลูกๆละ 1,500 บาท เป็นเงิน 15,000 บาท
เสื้อชูชีพสำหรับเด็ก อายุ 8 - 15 ปี จำนวน 40 ตัว
เสื้อชูชีพมาตรฐานสีส้ม ใช้โฟมหนา 25 มม เนื้อผ้า 420 D เคลือบ PU กันน้ำด้านใน พร้อมสกรีน size M 20 ตัว ราคาตัวละ 360 เป็นเงิน 7,200 บาท
เสื้อชูชีพมาตรฐานสีส้ม ใช้โฟมหนา 25 มม เนื้อผ้า 450 D เคลือบ PU กันน้ำด้านใน พร้อมสกรีน size L 20 ตัว ราคาตัวละ 380 เป็นเงิน 7,600 บาท
แว่นตาดำน้ำสำหรับเด็ก อายุ 8 - 15 ปี อันละ100 บาท จำนวน 80 อัน เป็นเงิน 8,000 บาท
รวมเป็นเงินจำนวน 145,450 บาท
งบประมาณ 145,450.00 บาท - 5. กิจกรรมถอดบทเรียนรายละเอียด
กิจกรรมถอดบทเรียน จากการดำเนินโครงการดังกล่าว
- ประชุมระดมความคิด จากกิจกรรม ร่วมกันระหว่างผู้เข้าร่วมกิจกรรมและผู้จัด
กลุ่มเป้าหมาย
เด็กและเยาวชน จำนวน 80 คน
คณะกรรมการฝ่ายติดตามและประเมินผล จำนวน 6 คน
เจ้าหน้าที่โครงการ จำนวน 19 คน
คณะวิทยากรสถานีเรือ จำนวน 2 คน
งบประมาณ
ค่าอาหารว่างสำหรับผู้เข้าร่วม จำนวน 1 มื้อๆละ 35 บาท จำนวน 107 คน เป็นเงินจำนวน 3,745 บาท
ค่าวัสดุ/อุปกรณ์ในกิจกรรมถอดบทเรียน เป็นเงินจำนวน 2,000 บาท
งบประมาณ 5,745.00 บาท - 6. สรุปผลการดำเนินงานกิจกรรมโครงการรายละเอียด
รายละเอียดกิจกรรม
รายงานผลและนำเสนอโครงการ แลกเปลี่ยนเรียนรู้ จำนวน 2 ครั้ง
จัดทำรายงานผลโครงการเสนอกองทุนหลักประกันสุขภาพ อบต.กำแพง
งบประมาณ
- ค่าจัดทำรูปเล่มเมื่องานเสร็จสิ้นจำนวน 4 เล่มๆละ 250 เป็นเงิน 1,000 บาท รวมเป็นเงิน 1,000 บาท
งบประมาณ 1,000.00 บาท
ตั้งแต่ วันที่ 3 มีนาคม 2568 ถึง 30 กันยายน 2568
องค์การบริหารส่วนตำบลกำแพง สระว่ายน้ำเอกชนในพื้นที่อำเภอละงู
รวมงบประมาณโครงการ 179,362.00 บาท
หมายเหตุ : สามารถถัวเฉลี่ยจ่ายได้ทุกรายการ
- เพื่อไห้เด็กและเยาวชนในพื้นที่มีความรู้เรื่องความปลอดภัยทางน้ำ
- เด็กและเยาวชน มีความรู้และทักษะ การว่ายน้ำ เด็กสามารถเอาชีวิตรอดจากจมได้
- ไม่มีเด็กเสียชีวิต จากการตกน้ำ จมน้ำ
ข้าพเจ้า ................................................................ ตำแหน่ง.................................................... หน่วยงาน................................................................................ หมายเลขโทรศัพท์......................................................... ในฐานะของผู้เสนอแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม
ขอรับรองว่า แผนงาน/โครงการ/กิจกรรม ที่เสนอขอรับการสนับสนุนงบประมาณจากกองทุนหลักประกันสุขภาพ ในครั้งนี้
- check_box_outline_blank ไม่ได้ซ้ำซ้อนกับงบประมาณที่ได้รับจากแหล่งอื่น
- check_box_outline_blank สอดคล้องกับแผนสุขภาพชุมชน ของ กปท.
- check_box_outline_blank รับทราบถึงกฎ ระเบียบ ข้อบังคับ และวิธีการดำเนินงานตามประกาศคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เรื่อง หลักเกณฑ์เพื่อสนับสนุนให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นดำเนินงานและบริหารจัดการระบบหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ พ.ศ.2567 และที่แก้ไขเพิ่มเติม แล้ว
(............................................................)
ตำแหน่ง ............................................................
วันที่-เดือน-พ.ศ. ..................................................
- ให้เสนอขอรับการสนับสนุนงบประมาณจากกองทุนหลักประกันสุขภาพ
(............................................................)
ตำแหน่ง ............................................................
วันที่-เดือน-พ.ศ. ..................................................
แบบเสนอแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม
กองทุนสุขภาพตำบล อบต.กำแพง รหัส กปท. L8010
อำเภอละงู จังหวัดสตูล
ตามประกาศคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เรื่อง หลักเกณฑ์เพื่อสนับสนุนให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นดำเนินงานและบริหารจัดการกองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ พ.ศ.2567 และที่แก้ไขเพิ่มเติม ข้อ 10 “เงินกองทุนหลักประกันสุขภาพตามข้อ 7 วรรคหนึ่ง ให้ใช้จ่ายเพื่อสนับสนุนและส่งเสริมเป็นค่าใช้จ่ายตามแผนงาน โครงการ หรือกิจกรรม ที่คณะกรรมการกองทุนอนุมัติ” นั้น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มประชาชน ได้ดำเนินการจัดทำแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม มาเพื่อขอรับการสนับสนุนงบประมาณ กปท. ตามเอกสารแนบ
จึงเรียนมาเพื่อโปรดพิจารณาอนุมัติ
(...........................................................)
ตำแหน่ง ...............................................
วันที่-เดือน-พ.ศ. ......................................
แบบอนุมัติแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม
กองทุนสุขภาพตำบล อบต.กำแพง รหัส กปท. L8010
อำเภอละงู จังหวัดสตูล
ตามมติการประชุมคณะกรรมการกองทุนหลักประกันสุขภาพ ครั้งที่ ....................... เมื่อวันที่ .................................................... สรุปผลการพิจารณาแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม ดังนี้
(....................................................................)
ตำแหน่ง เจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบการประชุม
วันที่-เดือน-พ.ศ. ....................................................
ตำแหน่ง ....................................................................
วันที่-เดือน-พ.ศ. ..................................................