แบบเสนอโครงการกองทุนหลักประกันสุขภาพระดับท้องถิ่น
แบบจัดทำแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม
กองทุนสุขภาพตำบล อบต.เกาะสะบ้า รหัส กปท. L5188
อำเภอเทพา จังหวัดสงขลา
ตามประกาศคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เรื่อง หลักเกณฑ์เพื่อสนับสนุนให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นดำเนินงานและบริหารจัดการระบบหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ พ.ศ.2567 และที่แก้ไขเพิ่มเติม ข้อ 17 (2) "ให้พิจารณาอนุมัติโครงการ หรือกิจกรรม ให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ของกองทุนตามข้อ 10"
อาศัยอำนาจของประกาศ ฯ ข้อ 10 "เงินกองทุนหลักประกันสุขภาพตามข้อ 7 วรรคหนึ่ง ให้ใช้จ่ายเพื่อสนับสนุนและส่งเสริมเป็นค่าใช้จ่ายตามแผนงาน โครงการ หรือกิจกรรม ที่คณะกรรมการกองทุนอนุมัติ" จึงได้จัดทำแผนงาน โครงการ หรือกิจกรรม ประจำปีงบประมาณ 2568 โดยมีรายละเอียด ดังนี้
-
1. เพื่อแก้ปัญหาประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากภาวะไข้เลือดออกระบาดตัวชี้วัด : การแก้ปัญหาประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากไข้เลือดออกระบาด(ร้อยละ)ขนาดปัญหา 415.62 เป้าหมาย 50.00
-
2. อัตราการป่วยตายของประชากรในเขตตำบลเกาะสะบ้า ด้วยโรคไข้เลือดออกตัวชี้วัด : 0.00ขนาดปัญหา 0.00 เป้าหมาย 0.00
-
3. ร้อยละหลังคาเรื่อนที่พบลูกน้ำยุงลายตัวชี้วัด :ขนาดปัญหา 11.96 เป้าหมาย 10.00
- 1. จัดทำและเสนอโครงการแก่ กองทุน สปสช.ตำบลเกาะสะบ้า พร้อมชี้แจงโครงการแก่ผู้นำชุมชนและภาคีเครือข่ายรายละเอียด
จัดทำโครงการเพื่อขออนุมัติโครงการจาก กองทุน สปสช.อบต.เกาะสะบ้า -ชี้แจงรายละเอียดโครงการที่ได้รับอนุมัติ แก่ผู้นำชุมชน ประชาชนในพื้นที่
งบประมาณ 0.00 บาท - 2. จัดเตรียม วัสดุ อุปกรณ์ ที่ใช้ในโครงการรายละเอียด
จัดซื้อวัสดุอุปกรณ์ จัดซื้อวัสดุ อุปกรณ์สำหรับใช้ในการควบคุมยุงลาย
ประเภทวัสดุ • ทรายอะเบส จำนวน 3 ถัง × 4,800 บาท เป็นเงิน 14,400 บาท • น้ำยาพ่นยุงขนาดบรรจุ 1 ลิตร จำนวน 5 ขวด × 1,700 บาท เป็นเงิน 8,500บาท • เสปรย์ฉีดยุง ขนาดบรรจุ 300 มล.จำนวน 120 ขวด × 96 บาท เป็นเงิน11,520 บาท • โลชั่นทากันยุง แบบซองจำนวน1,200 ซอง × 6 บาทเป็นเงิน7,200 บาท • ค่าวัสดุ หน้ากากอนามัยแบบใช้แล้วทิ้ง(50 ชิ้น/กล่อง)จำนวน20 กล่อง × 95 บาทเป็นเงิน 1,900บาท • ถุงมือ ยาง เบอร์ M จำนวน 10 กล่อง × 200 บาทเป็นเงิน 2,000บาท • ถุงมือ ยาง เบอร์ L จำนวน 10 กล่อง × 200 บาท เป็นเงิน 2,000บาท • ถุงดำ ขนาด 2836 นิ้ว (14 ใบ/แพ็ค)จำนวน 30 แพ็ค × 121 บาทเป็นเงิน 3,630บาท • น้ำมันเครื่องยนต์ 2 จังหวะ จำนวน 1 ลิตร × 140 บาท เป็นเงิน140บาท •น้ำมันเบนซิล 95 จำนวน 90ลิตร ×36.10 บาท (ราคา ณ วันที่ 23 ม.ค.68)เป็นเงิน 3,249 บาท • น้ำมันดีเซล จำนวน 100ลิตร × 33.31 บาท (ราคา ณ วันที่ 23 ม.ค.68) เป็นเงิน 3,331บาท • แผ่นป้ายไวนิลให้ความรู้โรคไข้เลือดออก ขนาด 1.22.4 เมตร จำนวน 9 ผืน × 576 บาท เป็นเงิน5,184 บาท หมายเหตุ ค่าใช้จ่ายทุกรายการสามารถถัวเฉลี่ยกันได้งบประมาณ 63,054.00 บาท - 3. จัดอบรมให้ความรู้ เชิงปฏิบัติการ อสม.แกนนำ และเจ้าหน้าที่ ควบคุมโรคไข้เลือดออกรายละเอียด
- ค่าอาหารว่าง 25 บาท x 1 มื้อ x 120 คน เป็นเงิน 3,000 บาท
- ค่าป้ายไวนิลโครงการ ขนาด ๑ เมตร X ๒ เมตร จำนวน ๑ ป้าย เป็นเงิน 400 บาท
- ค่าตอบแทนวิทยากรในการให้ความรู้ จำนวน 1 คน X 3 ชม. X ๖๐๐ บาท รวมเป็นเงิน 1,800 บาท(วิทยากรจากหน่วยงานอื่น)
งบประมาณ 5,200.00 บาท - 4. ทำกิจกรรมบิกคลีนนิ่ง พร้อมทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลายในสถานที่สาธารณะ เช่น โรงเรียน,วัด,มัสยิด,ศูนย์เด็กเล็กและศูนย์ตาดีกาประจำมัสยิดรายละเอียด
รพ.สต.เกาะสะบ้า ร่วมกับ อสม.,หมู่บ้าน,วัด,มัสยิด โรงเรียนและศูนย์เด็กเล็กทุกโรง ในพื้นที่ทุกแห่งร่วมกันจัดกิจกรรมวันรณรงค์ไข้เลือดออก(Big Cleaning Day) •ในโรงเรียน ครูและนักเรียนจัดกิจกรรมกำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ฯ มุ่งเน้นวิธีทางกายภาพโดย -ตรวจอาคารเรียน,ห้องน้ำและบริเวณอาคารเรียนไม่ให้มีแหล่งน้ำที่ยุงลายจะวางไข่หรือเกาะพักได้และกำจัดลูกน้ำทิ้งทุกแห่งที่พบด้วยวิธีการ 1.ขัดล้าง ระบายน้ำทิ้ง จากภาชนะเก็บน้ำในห้องน้ำนักเรียนและครู 2.ล้างและเปลี่ยนน้ำในแจกันดอกไม้ของห้องเรียน 3.ปิดฝาตุ่มน้ำให้มิดชิด 4.คว่ำ ฝัง เผา เศษภาชนะต่างๆ ที่ไม่ได้ใช้ประโยชน์เพื่อมิให้เป็นที่รองรับน้ำเช่น กระป๋อง ยางรถ ยนต์กะลามะพร้าว เป็นต้น 5.จัดห้องเรียนให้มีแสงสว่างพอเพียง มีการระบายอากาศที่ดี โดยเฉพาะห้องเรียนเด็กเล็ก 6.ให้สุขศึกษานักเรียน ระวังอย่าให้ยุงกัด โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเวลากลางวัน 7.การใช้มาตรการ 5 ป. 1 ข. มาใช้ปราบยุงลาย คือ ป.ที่ 1 ปิด ฝาโอ่งหรือภาชนะขังน้ำให้มิดชิด ป.ที่ 2 เปลี่ยนน้ำทุก 7 วัน เช่นน้ำในแจกัน โอ่งน้ำใช้ จานรองขาตู้กับข้าว ป.ที่ 3 ปล่อยปลากินลูกน้ำในภาชนะด้วยปลาหางนกยูงที่กินลูกน้ำยุง ป.ที่ 4 ปรับปรุงสิ่งแวดล้อมทั้งภายในบ้านและนอกบ้าน และ ป.ที่ 5 ขอให้เจ้าของบ้านเรือนลงมือปฏิบัติเองจนเป็นนิสัยไม่ต้องรอเจ้าหน้าที่ และมาตรการ 1 ข. คือการขัด ล้างภาชนะก่อนเปลี่ยนน้ำใหม่ทุกสัปดาห์ เพื่อกำจัดไข่ยุงที่เกาะอยู่ภายในภาชนะ 8.พ่นหมอกควันในโรงเรียนโรงเรียน,ศูนย์ตาดีกาประจำมัสยิด และศูนย์พัฒนาเด็กเล็กก่อนเปิดเทอมหรือหลังเปิดเทอม
•ในชุมชน หมู่บ้าน รวมวัด,มัสยิดและค่ายทหาร เจ้าหน้าที่สาธารณสุขร่วมกับ อสม.,ทหาร,ผู้นำชุมชนและประชาชนทั่วไปร่วมรณรงค์กำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลายทุกหลังคาเรือนเน้นวิธีทางกายภาพโดยการตรวจอาคาร ห้องน้ำรอบๆบริเวณบ้านไม่ให้มีแหล่งน้ำที่ยุงลายจะวางไข่ได้ วิธีการกำจัดลูกน้ำโดยการ
1.ปิดฝาตุ่มให้มิดชิด และเมื่อเติมน้ำหรือตักน้ำแล้วต้องปิดฝาให้มิดชิดทุกครั้งเลย
2.ล้างและเปลี่ยนน้ำในแจกันดอกไม้ 3ขัดล้างระบายน้ำทิ้ง จากภาชนะเก็บน้ำในห้องน้ำคว่ำ ฝัง เผา เศษภาชนะต่างๆ ที่ไม่ได้ใช้ประโยชน์เพื่อมิให้เป็นที่รองรับน้ำเช่น กระป๋อง ยางรถยนต์กะลามะพร้าว เป็นต้น 4. ใส่เกลือแกงหรือน้ำส้มสายชู,ผงซักฟอกในจานรองขาตู้กัมด
5. ให้สุขศึกษาประชาชน ระวังอย่าให้โดนยุงกัด โดยเฉพาะในเวลากลางวัน 6.ให้ อสม.สำรวจลูกน้ำยุงลาย หาค่า HI,CI ในเขตรับผิดชอบโดยหมู่บ้านใดที่พบผู้ป่วย จะสำรวจทุกสัปดาห์ และหมู่บ้านที่ไม่มีผู้ป่วย สำรวจทุก 4สัปดาห์งบประมาณ 0.00 บาท - 5. ควบคุมและกำจัดโรคไข้เลือดออก กรณีเกิดเคสผู้ป่วยในชุมชนรายละเอียด
กรณีมีเคสผู้ป่วยด้วยไข้เลือดออกในชุมชน แจกยาทากันยุงแก่ผู้ป่วย,สเปรย์พ่นยุงและผู้อาศัยในบ้านเดียวกันร่วมทั้งพ่นหมอกควัน ทุกหลังคาเรือนในรัศมี 100 เมตรจากบ้านผู้ป่วย สำรวจและทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลาย จนค่า HI/CI มีค่าเท่ากับ 0
งบประมาณ 0.00 บาท - 6. สรุปผลการดำเนินโครงการรายละเอียด
สรุปผลการดำเนินโครงการ รายละเอียดการใช้จ่ายงบประมาณ -ทำเอกสาร ส่งให้กองทุน สปสช.ตำบลเกาะสะบ้า
งบประมาณ 0.00 บาท
ตั้งแต่ วันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2568 ถึง 30 กันยายน 2568
ต.เกาะสะบ้า อ.เทพาจ.สงขลา
รวมงบประมาณโครงการ 68,254.00 บาท
- อัตราป่วยด้วยโรคไข้เลือดออกในปี 2568 ลดลง
- อัตราป่วยตายด้วยโรคไข้เลือดออกในปี 2568 เป็นศูนย์
- องค์กรชุมชนมีส่วนร่วมรับผิดชอบในการควบคุมและป้องกันโรคไข้เลือดออกอย่างต่อเนื่องมีการดำเนินการทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลายในพื้นที่อย่างต่อเนื่องและมีประสิทธิภาพทุกหลังคาเรือน
- ดัชนีลูกน้ำยุงลายในหมู่บ้านลดลงตามเกณฑ์ที่กำหนดไว้ 5.อสม.แกนนำ และเจ้าหน้าที่ มีความรู้เรื่องโรคไข้เลือดออกเพิ่่มขึ้น
ข้าพเจ้า ................................................................ ตำแหน่ง.................................................... หน่วยงาน................................................................................ หมายเลขโทรศัพท์......................................................... ในฐานะของผู้เสนอแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม
ขอรับรองว่า แผนงาน/โครงการ/กิจกรรม ที่เสนอขอรับการสนับสนุนงบประมาณจากกองทุนหลักประกันสุขภาพ ในครั้งนี้
- check_box_outline_blank ไม่ได้ซ้ำซ้อนกับงบประมาณที่ได้รับจากแหล่งอื่น
- check_box_outline_blank สอดคล้องกับแผนสุขภาพชุมชน ของ กปท.
- check_box_outline_blank รับทราบถึงกฎ ระเบียบ ข้อบังคับ และวิธีการดำเนินงานตามประกาศคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เรื่อง หลักเกณฑ์เพื่อสนับสนุนให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นดำเนินงานและบริหารจัดการระบบหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ พ.ศ.2567 และที่แก้ไขเพิ่มเติม แล้ว
(............................................................)
ตำแหน่ง ............................................................
วันที่-เดือน-พ.ศ. ..................................................
- ให้เสนอขอรับการสนับสนุนงบประมาณจากกองทุนหลักประกันสุขภาพ
(............................................................)
ตำแหน่ง ............................................................
วันที่-เดือน-พ.ศ. ..................................................
แบบเสนอแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม
กองทุนสุขภาพตำบล อบต.เกาะสะบ้า รหัส กปท. L5188
อำเภอเทพา จังหวัดสงขลา
ตามประกาศคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เรื่อง หลักเกณฑ์เพื่อสนับสนุนให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นดำเนินงานและบริหารจัดการกองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ พ.ศ.2567 และที่แก้ไขเพิ่มเติม ข้อ 10 “เงินกองทุนหลักประกันสุขภาพตามข้อ 7 วรรคหนึ่ง ให้ใช้จ่ายเพื่อสนับสนุนและส่งเสริมเป็นค่าใช้จ่ายตามแผนงาน โครงการ หรือกิจกรรม ที่คณะกรรมการกองทุนอนุมัติ” นั้น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มประชาชน ได้ดำเนินการจัดทำแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม มาเพื่อขอรับการสนับสนุนงบประมาณ กปท. ตามเอกสารแนบ
จึงเรียนมาเพื่อโปรดพิจารณาอนุมัติ
(...........................................................)
ตำแหน่ง ...............................................
วันที่-เดือน-พ.ศ. ......................................
แบบอนุมัติแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม
กองทุนสุขภาพตำบล อบต.เกาะสะบ้า รหัส กปท. L5188
อำเภอเทพา จังหวัดสงขลา
ตามมติการประชุมคณะกรรมการกองทุนหลักประกันสุขภาพ ครั้งที่ ....................... เมื่อวันที่ .................................................... สรุปผลการพิจารณาแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม ดังนี้
(....................................................................)
ตำแหน่ง เจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบการประชุม
วันที่-เดือน-พ.ศ. ....................................................
ตำแหน่ง ....................................................................
วันที่-เดือน-พ.ศ. ..................................................