2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
3. สถานการณ์
เด็กเป็นทรัพยากรสำคัญที่จะเติบโตเป็นกำลังสำคัญของชาติในอนาคต การจะทำให้เด็กเติบโตอย่างมีคุณภาพมีความสมบูรณ์ทางด้านร่างกาย มีความฉลาดทางด้านสติปัญญาและอารมณ์ ไม่เจ็บป่วยด้วยโรคที่สามารถป้องกันได้ด้วยวัคซีน และสามารถปรับตัวอยู่ในสังคมแห่งการเปลี่ยนแปลงในปัจจุบันได้อย่างมีคุณภาพนั้น จะต้องได้รับการเกื้อหนุน ส่งเสริม จากหลายๆ ปัจจัย ไม่ว่าจะเป็นปัจจัยสภาพแวดล้อม ระบบบริการ และปัจจัยที่สำคัญอย่างยิ่งคือตัวผู้ดูแลเด็กเองจากผลการดำเนินงานในเด็กอายุ 0-5 ปีของโรงพยาบาลเจาะไอร้อง ในปีงบประมาณ 2565 - 2567 ในด้านโภชนาการพบว่าเด็กมีปัญหาอ้วน ร้อยละ 2.17,4.11 และ 3.35 ตามลำดับมีภาวะเตี้ย ร้อยละ 14.97, 16.62 และ 21.63ตามลำดับมีภาวะผอม ร้อยละ 7.6, 5.98 และ 9.93 ตามลำดับ มีภาวะสูงดีสมส่วน ร้อยละ 45.40, 40.54 และ 50.11 ด้านพัฒนาการ พบว่าเด็กที่มีภาวะสงสัยพัฒนาการล่าช้า ร้อยละ 21.13, 27.25 และ 8.33 ตามลำดับ พัฒนาการสมวัย 84.74, 88.06 และ 39.73 ตามลำดับและด้านการสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรคพบว่าเด็กที่ได้รับวัคซีนครบตามเกณฑ์ ร้อยละ 12.70, 12.50 และ 16.13 ตามลำดับ ดังนั้นผู้ดูแลเด็ก ควรมีความรู้เกี่ยวกับเรื่องโภชนาการ การส่งเสริมพัฒนาการ และการสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรคของเด็กเพื่อให้เด็กมีสุขภาวะ ทั้งทางกาย ใจ สังคม และสติปัญญา โดยเริ่มจากวัยต้นของชีวิต คือ เด็กเป็นวัยที่มีความสำคัญ เนื่องจากเป็นวัยที่มีการพัฒนาอย่างรวดเร็วทั้งทางด้านร่างกาย สติปัญญา อารมณ์ สังคม และเป็นวัยที่เริ่มต้นการเรียนรู้และรับรู้เพื่อเป็นพื้นฐานของช่วงวัยต่อไป ปัญหาในการดำเนินงานส่งเสริมสุขภาพเด็ก พบว่า เด็กยังประสบปัญหาภาวะทุพโภชนาการ พัฒนาการที่สงสัยล่าช้า และเด็กได้รับการสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรคไม่ครบตามเกณฑ์ ซึ่งอาจส่งผลต่อภาวะโภชนาการ พัฒนาการ และเกิดโรคที่สามารถป้องกันโรคได้ด้วยวัคซีน จึงจำเป็นต้องมีการแก้ไขปัญหาโดยการส่งเสริมโภชนาการ พัฒนาการและการสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรคในเด็ก ซึ่งเจ้าหน้าที่เพียงฝ่ายเดียวไม่สามารถแก้ปัญหาให้ลดน้อยลงหรือหมดไปได้ สิ่งสำคัญจะต้องมีการให้ความรู้แก่พ่อแม่ ผู้เลี้ยงดูเด็ก และส่งเสริมให้ครอบครัวและชุมชนเข้ามามีส่วนร่วมในการส่งเสริมป้องกันโรค
จากสภาพปัญหาดังกล่าวโรงพยาบาลเจาะไอร้อง จึงจัดทำโครงการหนูน้อยสุขภาพดีตามวิถี SIHAT ขึ้นเพื่อสร้างความตระหนักให้ครอบครัวและชุมชนได้มีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหาและพัฒนางานด้านสาธารณสุขอย่างต่อเนื่อง
4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด
- บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
- ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
5. กลุ่มเป้าหมาย
6. ระยะเวลาดำเนินงาน
วันเริ่มต้น 01/02/2025
กำหนดเสร็จ 30/09/2025
7. วิธีการดำเนินงาน
- กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
- งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด
หมายเหตุ :
8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง
ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?1.เด็กอายุ 0-5 ปี ได้รับการเฝ้าระวังภาวะโภชนาการ มีรูปร่างดีสมส่วน
2.เด็กอายุ 0-5 ปี ได้รับการคัดกรองพัฒนาการ 5 ด้าน ตามกลุ่มอายุ
3.เด็กอายุ 0-5 ปี ได้รับวัคซีนครบตามเกณฑ์