กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนหลักประกันสุขภาพองค์การบริหารส่วนตำบลนาหว้า

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการรณรงค์ตรวจคัดกรอง โรคความดันโลหิตสูง เบาหวาน หมู่ที่ 6

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนหลักประกันสุขภาพองค์การบริหารส่วนตำบลนาหว้า

อาสาสมัครสาธารณสุข หมู่ที่ 6 บ้านประจ่าใต้ ตำบลนาหว้า

1.นางปราณีใหม่แก้ว โทร.0834299965
2.นางจิราพรหนูสอนโทร.0850791974
3.นางบุญเพ็ญพรุเพ็ชรแก้ว โทร.0862844056
4.นางเกศริน แก้วสุข โทร.0872999916
5.นางสาวสุนัยทองแก้ว โทร.0872987734

หมู่ที่ 6 บ้านประจ่าใต้ ตำบลนาหว้า อำเภอจะนะ จังหวัดสงขลา

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานโรคเรื้อรัง , แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ร้อยละของประชาชนได้รับการคัดกรองโรคความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวาน

 

23.96

ประเทศไทยมีผู้ป่วยโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง สาเหตุที่ทำให้เกิดโรคไม่ติดเชื้อเนื่องมาจากแบบแผนชีวิตมนุษย์ที่มีความเครียดมากขึ้น มีนิสัยการบริโภคที่ไม่ถูกต้อง สูบบุหรี่ ดื่มสุรา ขาดการออกกำลังกาย สิ่งต่างๆเหล่านี้ ส่งผลให้เกิดโรคจากพฤติกรรมและสิ่งแวดล้อม ซึ่งเป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญ เป็นโรคเรื้อรังรักษาไม่หาย ความรุนแรงของโรคเกิดได้ทั้งตายอย่างฉับพลัน และมีภาวะแทรกซ้อนเกิดความพิการก่อนวัยอันควร อย่างไรก็ตามโรคความดันโลหิตสูงและเบาหวานเป็นโรคที่สามารถป้องกันและลดความรุนแรงของโรคลงได้ ถ้าหากตรวจพบในระยะเริ่มแรก โดยการควบคุมอาหาร หลีกเลี่ยงปัจจัยเสี่ยงต่างๆ มีการส่งเสริมสุขภาพกาย สุขภาพจิตให้สมบูรณ์แข็งแรงอยู่เสมอ ตามนโยบายของกระทรวงสาธารณสุขกำหนดให้ ประชากรที่มีอายุ 35 ปีขึ้นไป ต้องได้รับบริการคัดกรองความดันโลหิตและเบาหวานตามมาตรฐานโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลนาหว้า มีกลุ่มเป้าหมาย ประชาชนอายุ 35 ปี หมู่ที่ 6 บ้านประจ่าใต้ จำนวน 651 คน จึงต้องอาศัยการมีส่วนร่วมของชุมชนโดยเฉพาะอาสาสมัครสาธารณสุขและแกนนำชุมชน ในการปฏิบัติงานทั้งคัดกรอง ค้นหากลุ่มเป้าหมายส่งต่อรักษาและให้คำแนะนำการส่งเสริมสุขภาพป้องกันโรคจากความสำคัญดังกล่าว แต่ชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขหมู่ที่ 6 ยังขาดเครื่องมือ และอุปกรณ์ที่ใช้ในการลงคัดกรองสุขภาพเขิงรุก ทำให้เกิดความล้าช้า และคัดกรองได้ไม่ครบถ้วนดังนั้นชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลนาหว้าหมู่ที่ 6 บ้านประจ่าใต้ จึงได้จัดทำโครงการรณรงค์ตรวจคัดกรอง โรคความดันโลหิตสูง เบาหวาน หมู่ที่ 6 เพื่อเป็นการตรวจคัดกรองสุขภาพประชาชน และการค้นหา ป้องกันโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง ในประชาชนอายุ 35 ปีขึ้นไปตามเกณฑ์มาตรฐานของกระทรวงสาธารณสุข ทำให้สามารถป้องกันโรคแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้นได้

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้ประชาชนอายุ 35 ปี ขึ้นไป ได้รับการคัดกรองโรคความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวาน

ร้อยละของประชาชนได้รับการคัดกรองโรคความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวานมากขึ้น

23.96 90.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 651
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 10/04/2025

กำหนดเสร็จ 30/06/2025

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 ประชุมชี้แจงคณะทำงานและผู้เกี่ยวข้องเพื่อวางแผนการดำเนินงาน

ชื่อกิจกรรม
ประชุมชี้แจงคณะทำงานและผู้เกี่ยวข้องเพื่อวางแผนการดำเนินงาน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ประชุมชี้แจงคณะทำงานและผู้เกี่ยวข้องเพื่อวางแผนการดำเนินงาน

  • ไม่มีค่าใช้จ่าย
ระยะเวลาดำเนินงาน
10 เมษายน 2568 ถึง 10 เมษายน 2568
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ผลการประชุม

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

กิจกรรมที่ 2 การตรวจคัดกรองโรคความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวาน

ชื่อกิจกรรม
การตรวจคัดกรองโรคความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวาน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

1.จัดกิจกรรมรณรงค์ตรวจคัดกรองโรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง

2.อาสาสมัครสาธารณสุขประจําหมู่บ้าน (อสม.) ลงพื้นที่ตรวจคัดกรองโรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูงเชิงรุก และส่งต่อกลุ่มเสี่ยงเข้ารับการรักษาต่อเนื่อง

ค่าใช้จ่าย

  1. ค่าเครื่องเจาะน้ำตาลในเลือด จำนวน 1 เครื่องๆ ละ 2,500 บาท รวมเป็นเงิน 2,500 บาท

  2. เครื่องชั่งน้ำหนัก จำนวน 1 เครื่องๆ ละ 1,500 บาท รวมเป็นเงิน 1,500 บาท

  3. ค่าแถบ เจาะน้ำตาลในเลือด จำนวน 2 กล่องๆ ละ 1,500 บาท รวมเป็นเงิน 3,000 บาท

  4. ค่าเข็ม เจาะปลายนิ้ว จำนวน 2 กล่องๆ ละ 750 บาท รวมเป็นเงิน 1,500 บาท

  5. ค่าแอลกอฮอล์ จำนวน 2 ขวดๆ ละ 180 บาท รวมเป็นเงิน 360 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
20 เมษายน 2568 ถึง 23 พฤษภาคม 2568
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

อสม. สามารถลงพื้นที่ตรวจคัดกรองโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูงแบบเชิงรุก

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
8860.00

กิจกรรมที่ 3 ดำเนินการติดตามและเฝ้าระวังหลังจากการตรวจคัดกรอง

ชื่อกิจกรรม
ดำเนินการติดตามและเฝ้าระวังหลังจากการตรวจคัดกรอง
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

กลุ่มปกติ ให้สุขศึกษาในการดูแลสุขภาพ

กลุ่มเสี่ยง ให้สุขศึกษาในการดูแลสุขภาพและปรับเปลี่ยนพฤติกรรม นัดติดตามทุก 1 เดือน 3 เดือน และ 6 เดือน

กลุ่มสงสัยป่วยส่งต่อ รพ.สต.นาหว้า เพื่อส่งพบแพทย์

  • ไม่มีค่าใช้จ่าย
ระยะเวลาดำเนินงาน
2 มิถุนายน 2568 ถึง 30 มิถุนายน 2568
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ผลการตรวจคัดกรอง

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 8,860.00 บาท

หมายเหตุ :
ทั้งนี้ขอถัวเฉลี่ยจ่ายทุกรายการ

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. ประชาชนอายุ 35 ปีขึ้นหมู่ที่ 6 บ้านประจ่าใต้ ได้รับการคัดกรอง โรคเบาหวานและความดันโลหิตสูงอย่างน้อย ร้อยละ 90
2. ประชาชนกลุ่มเสี่ยงโรคความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวานได้รับการส่งต่อปรับเปลี่ยนพฤติกรรมและรักษาที่ถูกต้อง


>