กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

โครงการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเพื่อส่งเสริมสุขภาพและป้องกันการเกิดภาวะแทรกซ้อนผู้ป่วยรับยาต่อเนื่องในหน่วยปฐมภูมิบ้านต้นไทร ปีงบประมาณ 2568

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลนาโหนด

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเพื่อส่งเสริมสุขภาพและป้องกันการเกิดภาวะแทรกซ้อนผู้ป่วยรับยาต่อเนื่องในหน่วยปฐมภูมิบ้านต้นไทร ปีงบประมาณ 2568

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลนาโหนด

ชมรมคลินิกเติมยาโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพบ้านต้นไทร

นางสุกัญญา ขำยาประธานชมรมคลินิกเติมยาผู้ป่วยเรื้อรังโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านต้นไทร
นายสมศักดิ์ปุรินทราภิบาลรองประธานชมรมคลินิกเติมยาผู้ป่วยเรื้อรังโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านต้นไทร
นางหทัยพร ดำฝ้าย เลขานุการชมรมคลินิกเติมยาผู้ป่วยเรื้อรังโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านต้นไทร
นางจุไรนาคมิตร ประชาสัมพันธ์ชมรมคลินิกเติมยาผู้ป่วยเรื้อรังโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านต้นไทร
นางทัตพิชาหวานสี เหรัญญิกชมรมคลินิกเติมยาผู้ป่วยเรื้อรังโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านต้นไทร

ห้องประชุมโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านต้นไทร

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานโรคเรื้อรัง

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

สถานการณ์โรคไม่ติดต่อเรื้อรังของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านต้นไทร ในปี 2567 จากได้ดำเนินการคัดกรองโรคความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวาน จำนวน 1,372 คน คิดเป็นร้อยละ 100 พบกลุ่มเสี่ยงโรคความดันโลหิตสูงจำนวน 195 คน พบกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวานจำนวน 67 คน ได้รับการตรวจคัดกรองซ้ำ จำนวน 262 คน หน่วยปฐมภูมิบ้านต้นไทร มีผู้ป่วยที่ได้รับการวินิจฉัยโรคและขึ้นทะเบียนเป็นโรคเบาหวานรายใหม่ จำนวน 13 คน โรคความดันโลหิตสูงรายใหม่ จำนวน 50 คน รวมผู้ป่วยมารับยาต่อเนื่องในหน่วยปฐมภูมิโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านต้นไทร โรคเบาหวาน จำนวน 119 คน โรคความดันโลหิตสูง จำนวน 331คน รวมผู้ป่วยเรื้อรังรับยาต่อเนื่องในหน่วยปฐมภูมิโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านต้นไทร จำนวน 450 คน
ในการนี้ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านต้นไทร จึงได้จัดทำโครงการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม เพื่อส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรค การเกิดภาวะแทรกซ้อนผู้ป่วยรับยาต่อเนื่องในหน่วยปฐมภูมิบ้านต้นไทร ปีงบประมาณ 2568ขึ้น โดยสำรวจประชาชนกลุ่มเป้าหมายผู้ป่วยเรื้อรังที่ขึ้นทะเบียนรับยาต่อเนื่องในหน่วยปฐมภูมิบ้านต้นไทร จำนวน 360 คน ซึ่งจัดผู้ป่วยในกลุ่มติดสังคม สามารถเข้าร่วมอบรม ได้รับความรู้ความเข้าใจในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพเพื่อป้องกันภาวะแทรกซ้อน มีการติดตามตรวจสุขภาพเพื่อดูผลการรักษาอย่างต่อเนื่อง และป้องกันผู้ป่วยขาดยาต่อไป

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้ผู้ป่วยเรื้อรังมีความรู้ ความเข้าใจปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเพื่อป้องกันภาวะแทรกซ้อนจำนวน 360 คน

ร้อยละ 80 ของผู้ป่วยเรื้อรังมีความรู้ ความเข้าใจปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเพื่อป้องกันภาวะแทรกซ้อนได้อย่างถูกต้อง

360.00 288.00
2 เพื่อให้ผู้ป่วยเรื้อรังมีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมและรับยาต่อเนื่อง จำนวน 360 คน

ร้อยละ 90 ของผู้ป่วยเรื้อรังมีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมและรับยาต่อเนื่อง

360.00 324.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง 360
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 21/02/2025

กำหนดเสร็จ 30/06/2025

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 กิจกรรมที่ 1 อบรมให้ความรู้ ความเข้าใจในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพป้องกันภาวะแทรกซ้อน

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมที่ 1 อบรมให้ความรู้ ความเข้าใจในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพป้องกันภาวะแทรกซ้อน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  1. ประชุมวางแผน กำหนดเป้าหมาย วัตถุประสงค์จำนวนกลุ่มเป้าหมายเนื้อหา และรูปแบบวิธีการดำเนินงาน
  2. ติดต่อประสานงานหน่วยงาน / ผู้ที่เกี่ยวข้องเพื่อร่วมกันดำเนินงาน
  3. จัดทำโ ครงการเพื่อขออนุมัติต่อคณะกรรมการบริหารกองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลตำบลนาโหนด
  4. อบรมให้ความรู้ ความเข้าใจ เกี่ยวกับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมป้องกันภาวะแทรกซ้อน จำนวนทั้งหมด 360 คน โดยแบ่งเป็น 3 รุ่นๆละ120 คน
    รุ่นที่ 1 วันที่ 27 พฤษภาคม 2568 ผู้ป่วยเรื้อรัง จำนวน 120คน
    รุ่นที่ 2 วันที่ 28 พฤษภาคม 2568 ผู้ป่วยเรื้อรัง จำนวน 120คน รุ่นที่ 3 วันที่ 29 พฤษภาคม 2568 ผู้ป่วยเรื้อรัง จำนวน 120คน
    โดยมีค่าใช้จ่าย ดังนี้

- ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 360 คนๆละ 1 มื้อๆละ 25 บาท เป็นเงิน9,000 บาท
- ค่าสมนาคุณวิทยากรจำนวน 1 คนๆละ 3 รุ่นๆละ 2 ชั่วโมงๆละ 600 บาท เป็นเงิน 3,600 บาท
- ค่าวัสดุอุปกรณ์สำหรับตรวจติดตามสุขภาพ แถบตรวจน้ำตาลในเลือด(1กล่อง /50 แถบ)จำนวน30 กล่องๆละ 800 บาท เป็นเงิน 24,000 บาท เข็มเจาะเลือด (1 กล่อง/100ชิ้น) จำนวน 15 กล่องๆละ 500 บาท เป็นเงิน 7,500 บาท งบประมาณ 44,100 บาท
6. มีการตรวจติดตามผลการรักษาอย่างต่อเนื่อง
7. สรุปผลการดำเนินงานและรายงานให้คณะกรรมการกองทุนฯ ทราบเมื่อสิ้นสุดโครงการการ

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 พฤษภาคม 2568 ถึง 30 มิถุนายน 2568
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

1.ผู้ป่วยเรื้อรังเห็นความสำคัญ สามารถปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพป้องกันภาวะแทรกซ้อนมากขึ้น
2.ผู้ป่วยเรื้อรังมีความรู้ ความเข้าใจปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพป้องกันภาวะแทรกซ้อนได้อย่างถูกต้อง
3.ไม่พบภาวะแทรกซ้อนในผู้ป่วยเรื้อรัง

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
44100.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 44,100.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1.ผู้ป่วยโรคเบาหวาน/โรคความดันโลหิตสูง มีความรู้สามารถปรับเปลี่ยนพฤติกรรมตนเองได้ถูกต้องและเหมาะสม
2.ผู้ป่วยโรคเบาหวาน/โรคความดันโลหิตสูง ไม่เกิดภาวะแทรกซ้อนทาตา ไต เท้า
3.ผู้ป่วยโรคเบาหวานสามารถควบคุมระดับเบาหวานได้ดีเพิ่มขึ้น
4.ผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงสามารถควบคุมระดับความดันโลหิตได้ดีเพิ่มขึ้น


>