2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
3. สถานการณ์
เมื่อเข้าสู่วัยผู้สูงอายุมักจะพบปัจจัยด้านความเสื่อมของร่างกายเป็นสิ่งที่ไม่สามารถแก้ไขได้ เช่น การเกิดภาวะหลงลืม การมีโรคประจำตัวต่าง ๆ ซึ่งเป็นปัญหาทางร่างกายที่เกิดขึ้นตามกาลเวลา แต่การจัด สภาพแวดล้อมภายในบ้านเพื่อป้องกันอุบัติเหตุเป็นสิ่งที่สามารถทำได้ เนื่องจากผู้สูงอายุจะอาศัยอยู่บ้าน ที่พักเป็นส่วนใหญ่ โดยมีครอบครัว ผู้ดูแล หรือ ผู้ที่เกี่ยวข้องคอยดูแลให้ความช่วยเหลือ ซึ่งควรที่จะมีความรู้ ความเข้าใจในการจัดสภาพแวดล้อมทั้งบริเวณภายในและภายนอกของที่พักอาศัยให้เหมาะสมเพื่อให้ผู้สูงอายุ สามารถใช้ชีวิตประจำวันได้อย่างสะดวกและปลอดภัย จากการสำรวจประชากรผู้สูงอายุในพื้นที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลหูแร่ ปีงบประมาณ 2568 มีผู้สูงอายุทั้งหมด 883 คนจากกิจกรรมโครงการผู้สูงอายุหูแร่ สุขภาพดี ชีวีมีสุข “แก่อย่างมีคุณค่า ชราอย่างมีคุณภาพ” ปี 2567
( ปีงบประมาณ 2567 ที่ผ่านมา ) ทางโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลหูแร่ เข้าร่วมคัดกรองสุขภาพเบื้องต้นกลุ่มผู้สูงอายุ 60 ปีขึ้นไป ทั้ง 10 ด้าน และให้สุขศึกษาเบื้องต้นรายบุคคลตามชุมชนหมู่ละ 3 ครั้ง มีผู้สูงอายุบ้านหูแร่ จำนวน 166 คน บ้านนายสีจำนวน 87 คน และบ้านนาแสนจำนวน 87 คนรวมทั้งหมด362 คน (เป้าหมายผู้สูงอายุ 470 คน) คิดเป็นร้อยละ77.02พบปัญหาสุขภาพด้านข้อเข่า จำนวน 216 คน คิดเป็นร้อยละ 45.96 ด้านการหกล้ม จำนวน 27 คน คิดเป็นร้อยละ 5.74ด้านช่องปาก จำนวน 54 คน คิดเป็นร้อยละ 11.49 ด้านความจำ จำนวน 21คน คิดเป็นร้อยละ 4.47ด้านการมองเห็น จำนวน 10 คน คิดเป็นร้อยละ 2.13ด้านการกลั้นปัสสาวะจำนวน 6 คน คิดเป็นร้อยละ 1.28 และด้านกิจวัตรประจำวัน จำนวน 27 คนคิดเป็นร้อยละ 5.74และพบว่ามีปัญหาการเดิน การจัดการสภาพแวดล้อมไม่ถูกต้องส่งผลต่อการเกิดพลัดตกหกล้มตามมา เมื่อได้กลุ่มเสี่ยงทีมีปัญหาดำเนินการอบรมให้ความรู้การออกกำลังกาย การดูแลสุขภาพฟัน แนะนำการจัดสภาพแวดล้อมให้เหมาะสมแก่ผู้สูงวัยเพื่อป้องกันอุบัติเหตุภายบ้านและผู้สูงอายุมีความรู้และสามารถดูแลตัวเองได้อย่างเหมาะสม จากการดำเนินกิจกรรมโครงการจะพบว่ามี ผู้สูงอายุที่มีภาวะเสี่ยง ณ รพ.สต หูแร่ (เพื่อลดขั้นตอนและความยุ่งยากในกลุ่มผู้อายุ) มีการส่งต่อ จำนวน 22 คน จำนวนผู้สูงอายุที่เข้ารับการรักษาต่อ มีผู้รับกายอุปกรณ์ไม้เท้า 3 ราย อุปกรณ์ช่วยฟังและบัตรผู้พิการ 1 ราย
ดังนั้นผู้สูงอายุ จึงจำเป็นต้องได้รับการดูแลเอาใจใส่จากบุคคลรอบข้างและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ก่อนปัญหาด้านสุขภาพจะมีมากกว่านี้ ถ้าครอบครัวให้ความสำคัญและเล็งเห็นความสำคัญของผู้สูงอายุด้วยแล้วครอบครัวและสังคมไทยจะมีความสุข และทุกคนมีสุขภาพจิตที่ดีส่งผลให้ร่างกายดีตามมาเพื่อเป็นการส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุและส่งเสริมสถาบันครอบครัว ให้การดูแลสุขภาพผู้สูงอายุมาอย่างต่อเนื่อง ซึ่งเน้นการดำเนินการด้านสาธารณสุขเชิงรุกให้ทั่วถึงและครอบคลุมทั้งการส่งเสริมสุขภาพ การป้องกันโรค การรักษาพยาบาล การฟื้นฟูสภาพ และการพัฒนาการบริการสาธารณสุข จึงได้จัดทำโครงการนี้ขึ้นมา
4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด
- บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
- ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
5. กลุ่มเป้าหมาย
6. ระยะเวลาดำเนินงาน
วันเริ่มต้น 01/02/2025
กำหนดเสร็จ 31/08/2025
7. วิธีการดำเนินงาน
- กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
- งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด
หมายเหตุ :
8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง
ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?1.ผู้สูงอายุมีความรู้ ทักษะในการปฏิบัติตนเกี่ยวกับการดูแลตนเองได้ถูกต้อง
2. ผู้สูงอายุที่เป็นกลุ่มเสี่ยงและกลุ่มที่มีความปัญหาสุขภาพได้การการส่งต่อดูแลอย่างถูกต้อง
3. ลดภาวะซึมเศร้าในกลุ่มผู้สูงอายุ