2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
3. สถานการณ์
ปัจจุบันโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง (Non-Communicable Diseases: NCDs) เช่น โรคเบาหวาน ความดัน โลหิตสูง โรคหัวใจ และหลอดเลือด เป็นปัญหาสุขภาพที่สำคัญในชุมชนจือนือแร โดยเกิดจากพฤติกรรมเสี่ยง เช่น การรับประทานอาหารที่ไม่เหมาะสม ขาดการออกกำลังกาย และสูบบุหรี่ เพื่อป้องกันและลดผลกระทบจากโรคเหล่านี้จึงจำเป็นต้องจัดกิจกรรมส่งเสริมสุขภาพและสร้างความตระหนักให้ประชาชนในชุมชน
จากการสำรวจในพื้นที่ม.3 บ้านจือนือแร ตำบลบุดี อำเภอเมืองยะลา จังหวัดยะลา พบว่าประชาชนอายุ 35 ปี ขึ้นไป 315 คน มีผู้ป่วย ความดันโลหิตสูง 50 คน ผู้ป่วยเบาหวาน 20 คน ดังนั้น เพื่อเป็นการเฝ้าระวัง และส่งเสริมการมีสุขภาพที่ดีของ ทางชมรม อสม.พื้นที่ม.3 บ้านจือนือแร ตำบลบุดี อำเภอเมืองยะลา จังหวัดยะลา จึงได้จัดทำโครงการชาวจือนือแรร่วมใจ ป้องกัน ควบคุมโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง โดยมี อสม.และเจ้าหน้าที่สาธารณสุข (รพ.สตบุดี)ร่วมกันดำเนินการตรวจคัดกรองสุขภาพ อบรมให้ความรู้เรื่องการดูแลสุขภาพกายและจิตใจ ดำเนินกิจกรรมลดปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง เพื่อให้คุณภาพชีวิตที่ดีของประชาชนและชุมชนพัฒนาเป็นชุมชนสร้างสุขภาพ ลดเสี่ยง ลดโรคได้อย่างยั่งยืนสืบไป
4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด
- บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
- ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
5. กลุ่มเป้าหมาย
6. ระยะเวลาดำเนินงาน
วันเริ่มต้น 01/02/2025
กำหนดเสร็จ 31/08/2025
7. วิธีการดำเนินงาน
- กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
- งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด
หมายเหตุ :
8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง
ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?1. ประชาชนในชุมชนจือนือแรมีความรู้และตระหนักถึงความสำคัญของการป้องกันโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง
2. ลดอัตราความเสี่ยงในการเกิดโรคไม่ติดต่อเรื้อรังในชุมชน
3. ชุมชนมีความเข้มแข็งและประชาชนสุขภาพดีขึ้น